สองเเก่นเเนวคิดแห่งการทำลายล้างของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน  มีที่มาจากใหน?


สองเเก่นเเนวคิดแห่งการทำลายล้างของกลุ่มอิควานอั้ลมุสลิมูน
มีที่มาจากใหน?

โดยเชคอบูอิย้าด อัมจ้าด รอฟิก
แปลโดย อบูจัสมิน [20 มกราคม 2555]

หนึ่ง – แนวความคิดของหะซัน อัล-บันนา ผู้นำอิควาน:

แนวความคิด มารวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่สำคัญว่า ใครจะมีหลักความเชื่ออย่างไร

สอง – แนวความคิดของ สัยยิด กุฏบ์

“แนวความคิดปฏิวัติล้มล้างสถาบันการปกครอง เพื่อสถาปนาสังคมในอุดมคติ ที่ปกครองด้วยความยุติธรรม”

ทั้งสองเเนวคิดนี้มีต้นตอมาจากเเนวคิดของพวก “ฟรีเมสัน” ในศตวรรษที่ 19


ที่เคยใช้ล้มล้างระบอบกษัตริย์ และชนชั้นปกครองของชาวคริสเตียนในยุโรป บทความนี้จะนำเสนอคำพูดของอุลามะอ์ที่ยืนหยัดบนเเนวทางสะลัฟ ได้แก่ เชคร่อเบียะอฺ บิน ฮาดียฺ,และเชค อุบัยดฺ อัล-ญาบีรีย์ โดยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 จะกล่าวถึง “กฎทอง” ของหะซัน อัล-บันนา และอัล-อิควาน อัล-มุสลิมูน ซึ่งในความจริงแล้วมันเป็นเพียงแค่การถอดแบบมาจากแนวความคิดของสมาคม “ฟรีเมสัน” ทั้งหลักการและสโลแเกน
ความเป็นพี่น้อง ความสามัคคี ความเป็นเอกภาพ บนหลักความเชื่อที่เเตกต่าง”

ส่วนที่ 2 ในบทความนี้เกี่ยวข้องกับกลยุทย์ “มาเกียเวลลีและฟรีเมสัน” ที่พบในคู่มือและงานเขียนต้นฉบับของขบวนการอิควานที่เคยนำมาใช้ปลุกระดมต่อต้านผู้ปกครองในประเทศมุสลิม

ส่วนที่ 3 ตอนสุดท้ายนี้ได้นำเอาข้อความเพิ่มเติมจาก เชค อุบัยดฺ อัล-ญาบิรียฺ มาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความหลงผิดของคนกลุ่มนี้

– ในบทความนี้ (ผู้แปล) ขอยกมาเฉพาะ ส่วนที่ 1 –

จากกฏแห่งการทำลายล้างของกลุ่มฟรีเมสัน จนมาถึงหะซัน อัล-บันนา และขบวนการอัล-อิควาน อัล-มุสลิมูน

เชครอเบียอฺ  อิบนุฮาดีย์ อัลมัดคอลีย์ กล่าวใว้ในหนังสือ “มัจมูอฺ คุตุบ วา รอซาอฺอีล” (14/205-206) ความว่า

“ตอนนี้พวกเขากำลังนำเราไปสู่ความเป็นเอกภาพทางศาสนา เริ่มต้นจากสิ่งที่เลวร้ายด้วยการสร้างสโลแกนที่ว่า “เรามาร่วมมือกันในสิ่งที่พวกเราเห็นพ้อง และประณีประนอมในสิ่งที่เราเห็นต่าง” นี่คือหลักการอันเป็นมลทินจากองค์กรฟรีเมสัน หลักการนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยพวกฟรีเมสัน เพื่อที่จะรวบรวมทุกสังคม ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา และทุกๆ ความเชื่อเข้าด้วยกัน ภายใต้ร่มธงแห่งฟรีเมสัน (ร่มธงแห่งอำนาจของฟรีเมสัน) ดังนั้น หลักการนี้ (ดังที่กลุ่มอิควานนำมาใช้) ในช่วงเริ่มต้น พวกเขาจะเรียกร้องมุสลิมทั้งหมดให้มารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก่อน โดยไม่สนใจว่าคนที่มารวมมือกันภายใต้สโลเเกน “อุมมะฮ์วาฮีดะฮ์-ประชาชาติหนึ่งเดียว”  จะมาจากพวกชีอะห์รอฟีเฏาะฮ์ พวกบาฏีนียะฮ์ และพวกซูฟียะฮ์ก็ตาม แล้วจากนั้นพวกเขาก็ขยายวงกว่างออกไป โดยป่าวประกาศเรียกร้องไปสู่ความเป็นเอกภาพกับชาวคริสเตียน ภายใต้สโลเเกน “มารวมกันเถิดวงศ์วานแห่งอับราฮัม” (the Abrahamic faction) จนนำไปสู่ความเป็นเอกภาพกับศาสนาอื่น และพวกเขาเริ่มจัดเสวนาระหว่างศาสนาขึ้น จนกระทั่งผู้คนเคลิบเคลิ้มมึนเมากับสิ่งเหล่านี้ เป็นการสถาปนากลุ่มชนเเห่งการทำลายล้าง เนื่องจากพวกเขาได้สร้างกลุ่มคนชุดใหม่ขึ้นมาภายใต้สโลเเกน “ประชาชาติเดียวกัน” รวมกันบนหลักศรัทธาที่หลากหลาย และปราศัยมันออกไป เพียงเพื่อต้องการสร้างความเคลิ้มเคลิ้มเเก่ผู้คน ให้หันมาสนใจความคิดของพวกเขา เล่นกับความคิดของผู้คน ชี้นำพวกเขาออกห่างจากแนวทางที่เที่ยงตรงของอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา.

“[มัจมูอฺ คุตุบ วา รอซาอฺอีล” (14/205-206)]

• บันทึกย่อ

ประการที่แรก : ฟรีเมสัน เป็นสำนักคิดหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมามีเป้าหมายต้องการทำลายความเป็นอธิปไตยของทุกประเทศ แนวปฏิบัติและการดำเนินงานมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อตั้งธนาคารกลางเอกชน (เพื่อปล่อยสกุลเงินในการใช้หนี้) ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ควบคุมเบ็ดเสร็จทั้ง ระบบเศรฐกิจ และระบอบการปกครองของทุกประเทศ (รวมทั้งครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติของพวกเขาด้วย) ทุกสงครามที่เกิดขึ้น และการปฏิวัติ ตลอดช่วงเวลาระยะเวลา 200 ปีที่ผ่านมา พวกเขาล้วนมีความเกี่ยวข้องกับในต่อสู้ และวางแบบระบอบเศรษกิจใหม่ ในแต่ละประเทศก่อนที่จะครอบคลุมไปทั่วทั้งโลก จุดมุ่งหมายนี้ คือการสร้างความกลมกลืน ความก้าวหน้าทางสังคม ชาติ ศาสนา และหลักความเชื่อภายใต้อำนาจหนึ่งเดียว ซึ่งจะบังคับใช้ระบอบคอมมิวนิสต์กับประชาชน ในขณะที่เงินทั้งหมดถือครองโดยผู้ที่อยู่ระดับสูงขึ้นไป

ส่วนแนวความคิดคอมมิวนิสต์ของ “มาร์คซ์และอีเกิล” ซึ่งเคยเป็นแบบพิมพ์เขียวทางอุดมการณ์ในช่วงกลางของศรรตวรรษที่ 19 ปูทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงศรรตวรรษที่ 20 ด้วยการระดมมวลชนเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนี้ (ด้วยการสร้างอุดมการณ์ สร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้น กระทั่งนำไปสู่การก่อปฏิวัติในทางกายภาพ) ด้วยสโลแกนที่แฝงด้วยการหลอกลวง โป้ปด และการหักหลัง ที่ประกาศก้องไปทั่วโลก นั้นคือ สโลเเกนของการเรียกร้อง 3 ประการ ด้วยกันคือ  “เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ”

– ซึ่งความหมายที่แท้จริงมันมีอะไรบางอย่างที่เเฝงอยู่มากกว่าสิ่งที่ผู้คนคิดว่ามันควรจะเป็น (รวมถึง) – “กฎทอง”  ของขบวนการ อัล-อิควาน เรามาให้ความร่วมมือกันในสิ่งที่เราต่างยอมรับ และประณีประนอมในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย” แนวความคิดนี้รับมาจาก มูฮัมมัด อับดูฮ์ (มะตูรีดีย์, อาชาอิเราะฮ์) จาก ญามาลุดดีน อัลอัฟฆอนียฺ (บาตินีย์,ฟรีเมสัน) เเละสืบทอดไปสู่ หะซัน อัลบันนา(ซูฟีย์)

ประการที่สอง : สองมันฮัจญ์หลักของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน ที่หะซัน อัล-บันนา และสัยยิด กุฏบ์ ก่อตั้งขึ้น มีที่มาจาก “สโลแกนของฟรีเมสัน และหลักการร่วมมือเป็นหนึ่งเดียว” การรวบรวมมวลชนเป็นให้เป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ยึดเอาคำโฆษณาชวนเชื่อของพวกเขาเป็นอุดมการณ์ (โดยไม่สนใจว่าใครมีความเชื่ออย่างไร) และอีกเเนวทางคือ การระดมพลที่ได้รับการปลูกฝังเเนวความคิดนี้ใว้ ไปสู่การก่อปฏิวัติ ล้มผู้นำ แม้วิธีการเหล่านี้ถูกสวมในนามอิสลามตามแนวความคิดของอัล-อิควาน ก็ตามที แต่ต้นกำเนิดของมันก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามาจากพวกฟรีเมสัน สะท้อนถึงการเรียกร้อง “สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค  และภราดรภาพ” ออกมา ทำให้ประวัติศาตร์ในช่วงศรรตวรรษที่ 19 และศรรตวรรษที่ 20 ดำเนินไปด้วยหลักการนี้ เเละอีกไม่นานมันก็จะคลืบคลานมาใกล้ตัวคุณมากขึ้น

ความจริงที่ต้องยอมรับว่าสองเเนวทางนี้ ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับชารีอะฮ์และสุนนะฮ์ของท่านเราะซูล ศ้อลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ทั้ง “การรวมเป็นหนึ่งโดยไม่สนใจต่อหลักความเชื่อ การปฏิวัติเพื่อล้มล้างผู้นำเพื่อที่จะสร้างสังคมใหม่ภายใต้ระบอบสังคมที่มีความยุติธรรมตามที่อ้าง” ซึ่งขัดเเย้งกับหลักการอิสลาม ที่ว่า “ชาวสุนนะฮ์จะไม่รวมกับพวกบิดอะฮ์หลงผิดทั้งหมด และจงอดทนต่อการกดขี่ และความอยุติธรรมของผู้นำ”

กฏหมายชารีอะฮ์อิสลามนั้นมาพร้อมกับสิ่งที่รักษาศาสนาให้บริสุทธิ์และสร้างสวัสดิภาพในทางโลกเเก่ผู้ที่ยึดถือ ทั้งสองประการนี้มิได้มาจากความคิดของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้กำหนดมันขึ้นมาเองตามสถานการณ์ที่เขาประสบ ในทางกลับกันความคิดของมนุษย์ย่อมมีแนวโน้มโอนเอียงในทางตรงข้าม เเละมุ่งเข้าหาอารมณ์ฝ่ายต่ำ

ธรรมชาติของมนุษย์คือ ผู้ไม่รู้, มีความรีบร้อน และขาดวิสัยทัศน์กว้างไกล ขาดความรอบคอบรัดกุม และบ้างก็มีความโง่เขลา ซึ่งแนวทางของอิควาน และผู้เจริญรอยตามพวกเขา ได้ผลิตเเนวคิดที่ขัดเเย้งกับสองรากฐานสำคัญของศาสนาอิสลาม และยังนำสโลเเกน และเเนวคิดของพวกฟรีเมสันมาใช้ เเละยังได้อุตริหลักการ “อัล-ฮากิมียะฮ์” ขึ้นมาอีก ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นการกุความเท็จอันใหญ่หลวง มันเป็นเพียงเเค่วาทะกรรมที่หลอกลวง ราวกับน้ำผึ้งที่ถูกอาบด้วยยาพิษ หลอกลวงผู้คนที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในชารีอะฮ์อิสลาม  และพวกเขาพุ่งเป้าไปที่เยาวชนที่มีความมุ่งมั่นทั้งหลาย

ประการที่สาม : การสร้างภราดรภาพ ที่เริ่มต้นด้วยการสมานฉันท์ กับพวกบิดอะฮ์ และพวกหลงผิด และจบลงด้วยการสมานฉันท์ศาสนาอื่น ตัวอย่างความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นของสัยยิด กุฏบ์เเละชีอะห์ ได้เเก่

• สัยยิด กุฏบ์ และความใกล้ชิดกับรอฟีเฏาะฮ์ อายาตุลลาฮ์ กาชานี ของอิหร่าน
• สัยยิด กุฏบ์ และความใกล้ชิดกับรอฟีเฏาะฮ์ นาวาบ สาฟาวี อัลชีอียฺ
• ฮะซัน อันบันนา กับ มูฮัมมัด อัลกุมมียฺ  และอายาตุลลอฮ์ กาชานียฺ
• หะซัน อันบันนาและการรวมกลุ่มต่างๆ เป็นหนึ่งเดียว
• หะซัน อันบันนา อะลุซซุนนะตฺ และชีอะห์ เป็นหนึ่งเดียวกัน
• มูฮัมมัด มูรซียฺ กับความเชื่อของมุสลิมและคริสเตียน


รายละเอียดทั้งหมดเราจะนำเสนอในภายหลังอินชาอัลลอฮ์

รวมถึงคำกล่าวต่างๆ ของบรรดาหัวหน้ากลุ่มอิควาน ที่ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเเนวคิด(ที่มาจากฟรีเมสัน) คือ เเนวคิด “ประชาชาติเดียวกันบนความเชื่อและศาสนา ที่หลากหลาย” ซึ่งผู้ที่เรียกร้องคนสำคัญของแนวคิดนี้ คือยุซุฟ อัล-กอรฏอวียฺ

เชครอเบียอฺ กล่าวว่า “คนพวกนี้จะเริ่มต้นด้วยการสร้างสัมพันธ์กับรอฟีเฎาะฮ์ บาตีนียะฮ์ และซูฟียะฮ์ และสุดท้ายก็จบลงด้วยการสานสัมพันธ์ศาสนานิกอื่น”

 ประการที่สี่ :  แนวความคิดฟรีเมสันในเรื่อง ความเท่าเทียม และการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ  อันหมายถึงความเป็นอิสระจากการปกครองแบบเผด็จการและผู้มีอำนาจไม่ว่ากษัตริย์หรือผู้ปกครอง (แนวความคิดนี้) จะนำมาซึ่งการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ รวมทั้งการกระจายความมั่งคั่งแบบคอมมิวนิสต์ โดยยึดหลักสังคมนิยมเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกคน”

“ประการต่อมา : นี่คือการตีความบทบัญญัติศาสนาที่สัยยิด กุฏบ์ แอบสอดแทรกความคิดของตัวเองเข้าไปยังหลักการอิสลาม โดยยึดแนวความคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก  ที่เกี่ยวข้องกับการริบทรัพย์จากชนชั้นสูง เพื่อกระจายยังหมู่คนจน ตามที่สัยยิด กุฏบ์ ต้องการให้เป็น เขาได้หยิบยืมแนวความคิดนี้มาจากคอมมิวนิส และหลักการของตะวันตกรวมไปจนถึงทฤษฏีบทของมัน ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงเขายังมีชีวิต ซึ่งตัวเขาเองก็ซึมซับหลักการและทฤษฎีบทเหล่านั้น และเข้าไปฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของแม้ในยามที่เขาเขียนตำราขึ้นภายใต้ชื่อของอิสลามก็ตาม ยิ่งตอนที่เขาได้ขึ้นไปอยู่ ณ จุดสูงสุดของการปฏิวัติ “the Nasserite Taaghootee revolution (ปี 1952)” ได้นำทฤษฏีรวมศูนย์อำนาจแบบสังคมนิยมมาปรับใช้ เกิดจากการที่เขาได้วางรากฐาน จากทฤษฏีที่เขียนเอาใว้ ทั้งเขาเเละผู้ติดตามทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างระบอบสังคมนิยมแบบมาร์กขึ้นโดยหลอมรวมเข้ากับอาภรณ์แห่งอิสลาม เกิดมาจากสิ่งที่อิสลาม และมุสลิมถูกกดขี่ข่มเหงมาตลอด”

ดู เชคร่อเบียะอฺ ใน “อัล อะวาอะซิม ฟี กีตาบ สัยยิด กุตุบ มิน อัล กอวาอะซิม” หน้า 38 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1995

เชครอเบียอฺ ยังกล่าวอีกว่า มันฮัจญ์ของคนเหล่านี้ได้มาจากพวกคอมมิวนิสต์ ก่อนหน้านั้นก็รับอิทธิพลจากพวกเคาะวาริจที่ยุคแรก คำกล่าวของท่านปรากฏในหนังสือ กัชฟฺ อัลซิตตารฺ หน้า 32 ความว่า :

“นี่คือแนวความคิดการก่อปฏิวัติ เราจะไม่กล่าวว่ามันได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของพวกเคาะวาริจ แต่เรากล่าวว่ามันได้รับอิทธิพลมาจากพวกคอมมิวนิสต์ พวกชาตินิยม และการปฏิวัติของพวกเซคิวลาร์ ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากพวกเคาะวาริจ เพราะพวกที่เริ่มปลุกระดมเเรกๆ นั้นมาจากพวกที่เป็นศัตรูของอัลลอฮ์ (ซบ.) จากพวกยิว คริสเตียน คอมมิวนิสต์ รวมทั้งพวกปัญญาชนที่ได้รับสั่งการให้เป็นปฏิปักษ์กับอัลลอฮ์จากพวกยิวและคริสเตียน พวกเขาคือผู้ที่สร้างความเสียหายเเก่ดินแดนมุสลิมมาโดยตลอด ทั้งยังคิดค้นวิธีการการทำลายในรูปแบบต่างๆ เช่น การปลุกระดมผู้คนจนนำไปสู่การก่อปฏิวัติ และพวกเขาก็ส่งเสริมมัน เเละส่งเสริมกันเรื่อยมา”

ดู อธิบายหนังสือ กัชฟฺ อัลซิตตารฺ หน้า 32 โดยเชคร่อเบียะอฺ อิบนุฮาดีย์​

บทสัมภาษณ์จากมุมมองของนักเขียนต่างศาสนิกที่มีต่องานเขียนของสัยยิด กุฏบ์

  • Ladan and Roya Boroumand ได้เขียนในบทความที่มีชื่อว่า “ความหวาดกลัว อิสลาม และประชาธิปไตย”(Terror, Islam and Democracy)

      “เช่นเดียวกับอบุลอะลา เมาดูดีย์ และกลุ่มเผด็จการตะวันตก เขา(สัยยิด กุฏบ) ระบุถึง สังคม ในอุดมคติของเขา (การเมืองมุสลิมร่วมสมัย) เป็นการดำรงอยู่อย่างบริสุทธ์ซึ่งรายล้อมด้วยศัตรูของอิสลาม แนวความคิดการสร้างการเกราะคุ้มกันตัวเอง การสร้างกลุ่มแนวหน้าอันบริสุทธิ์ที่สามารถต่อกรกับศัตรูด้วยวิธีการใดๆ แม้กระทั้งการก่อปฏิวัติที่รุนแรง เพื่อที่จะสถาปนาระบบสังคมใหม่ และสร้างสังคมยุติธรรมที่สมบูรณ์แบบให้ปรากฏขึ้น สังคมในอุดมคติของเขาไม่มีการแบ่งชนชั้น บรรดาผู้ที่คนเห็นแก่ตัวแห่งเสรีประชาธิบไตยจะถูกขับไล่ และการแสวงหาประโยชน์จากมนุษย์โดยมนุษย์ จะถูกล้มล้างให้สิ้นซากไป พระเจ้าเท่านั้นคือผู้ควบคุมมัน ด้วยการนำชารีอะฮ์อิสลามกลับมาใช้อีกครั้ง อันที่จริงนี่คือแนวความคิดของเลนินที่สวมด้วยอาภรณ์แห่งอิสลาม

*เลนิน คือผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เป็นผู้เลื่อมใสในระบบสังคมนิยม

  • พอล เบอร์มัน เขียนบทความหนึ่งได้ตีพิมพ์ในนิตยสารนิวยอร์กไทม์ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2003

      “คนจำนวนไม่กี่คนตัวกัน.. ดังที่กุฏบ์กล่าวใว้ใน ไมล์สโตน โดยตั้งชื่อว่า “กลุ่มชนแนวหน้า” – สิ่งดังกล่าวนี้ เขาคัดลอกมาจากเลนิน…”

  • ในบทความชื่อว่า “กุฏบ์ บิดาแห่งอัลกออิดะ” ถูกตีพิมพ์ลงใน “the Independent” ฉบับเดือนสิงหาคม 2006,  เดเนียล มาร์ติน อ้างคำพูดของ ลอร์เรนซ์ ไรท์ ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับหนังสือ “Milestone” (หนทางสู่หลักชัย) ว่า

        “ท่วงทำนองของมัน อาจเปรียบเทียบได้กับ สัญญาประชาคมรุซโซ่ (Rousseau’s Social Contract) และงานเขียน What Is to Be Done ? ของเลนิน – กับบทสรุปที่ไปนำสู่การนองเลือดเหมือนกัน”

แนวความคิดที่สำคัญของรุสโซ

1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่า นั้น ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.การ เป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ แนวความคิดนี้ของรุสโซ แตกต่างกับ โทมัส ฮ๊อบส์ กล่าวว่า สันติภาพ หรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น แต่รุสโซ กล่าวว่าสันติภาพ และความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพจึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก
4.สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง เจตจำนงทั่วไป ของประชาชน
8.การ เลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ เห็นว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวความคิดรุสโซ เป็นแนวความคิดการปกครองแบบตรง ที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมี ประชากรเป็นจำนวนมาก และในลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยโดย ตัวแทน ทั้งหมด

ข้อความที่ว่า มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ นั่นคือการตก ผลึกทางความคิดรุสโซ ก่อนหน้างานเขียนชิ้นสำคัญ ก่อน “ Social Contract “ ก็คือ “ The Second Discourse “ จากเริ่มต้นที่ มนุษย์เกิดมาเสรี มีอิสรเสรีภาพ ภายใต้สภาวะธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึง
เรียบ ง่าย ไม่มีความขัดแย้ง แต่เมื่อมนุษย์ตัดสินใจโดยเสรี ไม่มีใครมาบังคับ และเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่หลายๆ คู่ก็เป็นสังคมจนกลายเป็นรัฐ มีการแบ่งงานกันทำ อันเป็นผลมาจากการที่มี พันธนาการต่อกันและกัน ซึ่งเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ พัฒนาความเป็นอยู่ของตัวเอง มีเวลาสร้างสรรค์คสิ่งต่างๆ นั่นคือก้าวแรกของการ พัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาตินั่นเอง (วิกิพีเดียภาษาไทย)

  • รอด ดรีเสอร์ เขียนในหนังสือพิมพ์ the Dallas Morning ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม 2006 ความว่า

       “What is to be done ? ที่เลนินได้ตั้งคำถามอันเลื่องลือนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัสเซีย. ซึ่งคำตอบของสัยยิด กุฏบ์ กับคำถามเดียวกันนี้เกี่ยวกับตะวันตกนั้นก็ปรากฎอยู่ในบางส่วนของหนังสือ “Milestone หนทางสู่หลักชัย” ซึ่งมีรูปแบบเดียวกับเเนวคิดของเลนิน นำไปสู่เเนวคิดก่อปฏิวัติอิสลาม ที่หลายไปทั่วโลก”

Phil Paine นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ได้ตั้งข้อสังเกตของเขา หลังจากที่ได้อ่าน Milestones (หนทางสู่หลักชัย) เป็นครั้งแรกว่า

     ” สิ่งแรกสุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับแนวความคิดของสัยยิด กุฏบ์ มีความเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของคำสอนอิสลามเพียงน้อยนิด เเทบไม่มีข้อมูลที่จำเป็นสำหรับมุสลิมเลย ที่จริงแล้วมันเป็นการได้รับแรงบรรดาลใจจากยุโรปเข้ามาอย่างสุดซึ้ง คัดลอกวิถีปฏิบัติต่างๆ มาจากแนวความคิดของฮิตเลอร์ มาร์ก และเลนิน … และที่มีอิทธิมากที่สุด นั่นคือ แนวความคิดจากเลนิน ข้อความทั้งหมดนั้นดูเหมือนเป็นเพียงการคัดลอกมาจากงานเขียนของเลนิน แล้วจากนั้นก็นำคำศัพท์อิสลามเทียม ๆ (pseudo-Islamic terminology) สวมเข้าไป เช่น การเปลี่ยนแปลงคำว่า “นักปฏิวัติแนวหน้า” – “revolutionary vanguard” –  เป็นคำว่า “กลุ่มแนวหน้าแห่งอิสลาม”– “Islamic vanguard” เป็นต้น … และยังมีแนวความคิดยุติธรรม Marxist mumbo-jumbo รวมไปถึงการเล่าเรื่องเท็จต่างๆ เรื่องราวการถูกหักหลัง ความมุ่งมั่นที่เเฝงด้วยความโหดร้ายภายใต้โชคชะตาที่ไม่ปราณี  มีอยู่เช่นเดียวกันในนั้น  ในไมล์สโตน(หนทางสู่หลักชัย)”

Lenin_book_1902

 ในบทความที่รวบรวมโดยมิชาเอล ทอมสัน ที่มีชื่อว่า “Islam and the West, Critical Perspectives on Modernity”  เขียนโดย  อุมัร คาฮา (ในหน้า 44-45) เป็นการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เป็นบันทึกที่มีความเม่นยำสูง กับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบรรดา “นักคิดอิสลาม”(ฟากิฮ์อิสลามีย์) ในช่วงศรรตวรรษที่ 20 :

“ความทะเยอทะยานล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก เหนือดินแดนอิสลามทำให้เกิดปรากฏ ปฏิกิริยาที่แข็งกร้าวจากนักคิดมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ ที่ริเริ่มสร้างแนวความคิดขึ้นมาใหม่โดยมีเเนวคิดของเลนินเป็นต้นเเบบ … สองกุญแจสำคัญในแนวความคิดของคนเหล่านี้ต่างก็ไปหยิบยืมมาจากเเนวคิดของเลนิน ทั้งในประเด็นเกี่ยวกับ “รัฐ” และ “การปฏิวัติ” มุมมองของพวกเขาที่มองว่า รัฐเป็นสัญลักษณ์ของผู้ผดุงความยุติธรรมทางสังคม สังคมเอกภาพ รวมถึงการลุกขึ้นมากต่อต้านชาติตะวันตก โดยรัฐดังกล่าวที่จัดตั้งขึ้นต้องผ่านการปฏิวัติเท่านั้น และจะอยู่ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้งในรุ่นบุกเบิก เหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของสัยยิด กุฏบ์ ปัญญาชนมุสลิมในอิยิปต์ ที่ถูกแขวนคอภายใต้ผู้นำนัซเซอร์ ในปี 1966

เช่น การเน้นบทบาทของกลุ่มนักปฏิวัติ ซึ่งส่วนมาจากเเนวคิดของเลนิน กุฏบ์ มองว่าการก่อตั้งรัฐอิสลามต้องผ่านวิธีการปฏิวัติที่นำโดยกลุ่มที่มีประสบการณ์ช่ำชองในระดับหนึ่ง ความจริงเเนวคิดของกลุ่มดังกล่าวนี้นั้นเป็นการพยายามจะแทนที่จากกลุ่มแนวหน้ากรรมกร จากแนวความคิดของเลนิน เป็น กลุ่มเเนวหน้ามุสลิม ที่มีความคล้ายกัน

แม้ว่า ปัญญาชนมุสลิมส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับระบอบสังคมนิยม เช่น สัยยิด กุฏบ์ ที่สร้างค่านิยมต่างๆ ขึ้นมา ผ่านรูปแบบของเลนิน ทั้งในเรื่องระบบรัฐสังคมนิยม (state socialism) การส้รางความภารดรภาพ, การก่อปฏิวัติล้มผู้นำ, ความเสมอภาค, รัฐรวมศูนย์อำนาจ (Centralized state), การต่อต้านระบบทุนนิยม (anticapitalism), ต่อต้านระบอบอื่นจากประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพวกเขาตระหนักว่าการยึดคำสอนอิสลามตามแบบของศาสนทูตดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตามเเนวคิดที่เขาต้องการ (ตามความคิดของพวกเขา) ทำให้พวกเขาเริ่มที่จะหยิบยืมแนวความคิดและมุมมองจากนักสังคมนิยมรัสเซียมาใช่้ …

ทิ้งทายด้วยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวผู้นำอิควานรายนี้

รู้หรือไม่สัยยิด กุฏบ์เคยเขียนบทความ “เหตุใดฉันจึงเป็นฟรีเมสัน? ” หลักฐานภาพประกอบบทความ เหตุฉไหน ฉันจึงกลายเป็นฟรีเมสัน لماذا صرت “ماسونيًا”؟ ปรากฏในวารสาร التاج المصري เป็นนิตยสารรายปักษ์ขององค์ฟรีเมสันในอิยิปต์ โดยสัยยิด กุฎบ ได้รับโอกาสได้เขียนบทความของนิตรสารฉบับนี้ ซึ่งมีเเต่ฟรีเมสันระดับสูงเท่านั้นที่ได้ลงบทความ นิตยสารนี้ตีพิมพ์ปี 1938-1943 นี้ก็เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่ง ที่ยืนยันถึงความใกล้ชิดของกลุ่มอิควาน และกลุ่มาซูนียะฮ์

557

หากท่านต้องการลงลึกในรายละเอียดเเนะนำให้อ่านชุดนี้
กลุ่มนักเคลื่อนไหวบะตินีย์​,สมาคมลับ,กลุ่มอั้ล-อิควาน, อั้ล-กออิดะฮ์ และไอซิซ : ตอนที่ 1 – ไม่มีความรู้ลึกลับ ไม่มีการอำพรางและองค์กรลับในอิสลาม