คำสั่งเสีย 10 ประการ แด่มุสลิมในประเทศไทย | เชคเฟาวาส อัลมัดคอลีย์

คำสั่งเสีย 10 ประการ แด่มุสลิมในประเทศไทย
โดย เชคเฟาวาส อัลมัดคอลีย์ เเปลโดย อ.คอลิด ปานตระกูล
ประสานงานโดย ทีมงานมัรกัซอิบนุตัยมียะฮ์
ถอดความโดย Ummu Jasmine

คำสั่งเสียข้อที่ 1 : จงตักวาต่ออัลลอฮ์

وَلَقَدْ وَصَّيْنَا الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِن قَبْلِكُمْ وَإِيَّاكُمْ أَنِ اتَّقُوا اللَّهَ

“พระองค์ได้ทรงสั่งเสียผู้ที่มีอีม่านและผู้ที่มาก่อนหน้านั้นให้มีความตักวา ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ซุบฮานาฮูวาตาอาลา (อันนีซาอฺ-131)

คำว่า ตักวา ก็คือ การที่ท่านได้ทำให้มีเกราะป้องกันระหว่างตัวท่านกับการโกรธของอัลลอฮตะอาลา และก็การลงโทษของพระองค์ ด้วยกับการปฎิบัติในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสั่งใช้ นี่คือเป็นสิ่งที่จะป้องกันอย่างดีที่สุด

1

การตักวานั้นจะไม่เกิดขึ้น เว้นแต่จะต้องมีความรู้ ในเรื่องของนิติบัญญัติอิสลาม เรียนรู้แล้วก็ปฎิบัติในความรู้ทางนิติบัญญัติอิสลาม ฉะนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งผู้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษานั้น จะต้องมีความขยันหมั่นเพียร สละทุ่มเทเวลาทั้งหมด หรือส่วนใหญ่นั้นในการศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาซึ้งการปฎิบัติได้อย่างถูกต้อง ถ้ามีความรู้แต่ไม่ปฎิบัติ ความรู้นั้นก็จะสูญหายไป ชาวสะลัฟของเรา เอาใจใส่ในเรื่องของสุนนะฮ์ ปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนนะฮ์เหมือนกับฟัรฎู จนกระทั่งท่านอิม่ามอะฮ์หมัด อิบนุฮับบัล รอฮีมาฮุลล้อฮ์นั้น รังเกียจ กับนักเรียน นักศึกษาที่ไม่ตื่นขึ้นละหมาด กียามุลลัยล์

คำสั่งเสียข้อที่ 2 : จงเอาใจใส่ในความรู้ที่มีประโยชน์

ให้นักเรียนนักศึกษา สนใจ เอาใจใส่ในความรู้ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเอาใจใส่ในเรื่องของสุนนะฮ์ มีการเอาจริงเอาจัง เสพติด ชอบนิยม ในการที่จะอ่านคำพูดของชาวสะลัฟ ก็คือแนวทางของบรรดาศอฮาบะห์ และผู้ที่ปฎิบัติตามแนวทางของพวกท่านเหล่านั้น และผู้ที่ดำเนินวิธีตามแนวทางของบรรดาศอฮาบะห์ จนกระทั่งถึงวันกียามะฮ์

นักเรียนนักศึกษานั้น ถ้าหากมีความสามารถ ให้เดินทางไปหาความรู้จากบรรดาอุลามาอ์ ที่ดำเนินวิธีอยู่บนแนวทางของมันฮัจญ์สะลัฟ บนแนวทางของอัสสะละฟุศศอเเละห์ ไม่ว่าอุลามาอ์ท่านนั้นจะอยู่ในที่ใดก็ตามบนโลกใบนี้ หากว่าเขามีความสามารถ

ที่ต้องเดินทางไปนั้นก็เพื่อจะไปเอาความรู้จากบรรดานักปราชญ์เหล่านั้น และเอาการสายสืบสายรายงาน(สะนัด) ตลอดจนกิริยามารยาท(อะด้าบ) และการได้พบเจอบรรดาอุลามาอ์เหล่านั้น ก็เพื่อที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ จากบรรดานักปราชญ์เหล่านั้นด้วย

หากไม่สามารถจะเดินทางไปได้ จะด้วยเหตุอุปสรรคส่วนตัวใดก็แล้วแต่ ก็ให้เขานั้นพยายามรับฟัง เสียงหรือการอรรถาธิบายจากสื่อต่างๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือไม่ก็อ่านหนังสือตำราต่างๆ ที่บรรดาอุลามาอ์เหล่านั้นได้ประพันธ์หรือเขียนเอาไว้ ด้วยวิธีทางจากแนวทางนี้ก็คือถ้าไม่ได้ไปเรียนหรือศึกษากับอุลามาอ์ ก็ฟัง หรืออ่านหรือเสียงตำราในสื่อต่างๆ ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ถือว่าคนๆ นั้นเป็นนักเรียนนักศึกษาอย่างแท้จริง ถือเป็นบุคคลที่อัลลอฮ์ตะอาลาได้ชมเชยให้กับพวกเขา และท่านร่อซู้ล ได้ชมเชยเอาไว้ และถือว่าได้ว่าเขาคนนั้นเป็นผู้ที่ดำเนินวิธีทางอยู่บนเส้นทางของชาวสวรรค์

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮ์ฮูอาลัยฮีวะซัลลัม ได้บอกว่า “ผู้ใดที่ดำเนินวิธีทาง เส้นทางเพื่อที่จะไปแสวงหาความรู้ อัลลอฮ์ตะอาลาก็จะให้ความง่ายได้แก่เขาสำหรับเส้นทางที่ไปสู่สวนสวรรค์”

คำสั่งเสียข้อที่ 3 : จงมีความบริสุทธิ์ใจในการทำงานเพื่ออัลลอฮ์

ขอให้นักเรียน นักศึกษานั้นมีความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาส) ในการทำงานเพื่ออัลลอฮ์ ตะอาลา อย่างแท้จริง มีความบริสุทธิ์ใจในเจตนา และผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษานั้นถือได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคำสั่งเสียนี้

แท้จริงอัลลอฮ์ตะลาได้กล่าวไว้ :

وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ
“พวกเขาไม่ถูกใช้เว้นแต่ทำการอีบาดะห์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ตะอาลา ด้วยความบริสุทธิ์ใจ”

และดั่งอัลลอฮ์ตะอาลา ได้กล่าวว่า

فَمَن كَانَ يَرْجُوا۟ لِقَآءَ رَبِّهِۦ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًۭا صَـٰلِحًۭا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِۦٓ أَحَدًۢا
“และผู้ใดที่หวังที่จะพบกับอัลลอฮ์ตะอาลา ก็ให้เขาปฎิบัติคุณงามความดีและก็อย่าได้ตั้งภาคี
สิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อพระองค์โดยเด็ดขาด”

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในฮาดีษบทหนึ่งซึ่งเป็นฮาดีษที่ทราบกันดี(มัชฮู้ร) ก็คือ

إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى

“”นับเป็นงานที่อัลลอฮ์ทรงรับนั้น อยู่ที่การเจตนา และแท้จริงทุกๆคนจะได้รับ (การตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้

หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ทราบกันดี เป็นที่รู้กันโดยทั่ว(มะอ์รูฟ) จนกระทั่งได้เขียนหรือได้บันทึกในตำรับตำราของพวกเขา เพื่อที่จะให้ สร้างความสนใจหรือให้กับนักเรียนนักศึกษา เมื่ออ่านเจอจะได้ระมัดระวัง ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จำเป็นจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ตะอาลา เพียงผู้เดียวในทุกสิ่งที่เขาได้ทำ ได้พูด ไม่ว่าจะคำพูดของเขา หรือการกระทำของเขา จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจ เพราะฉะนั้น จำเป็นสำหรับนักเรียน นักศึกษานั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการแสวงหาความรู้เพื่ออัลลอฮ์ตะอาลา แต่เพียงผู้เดียว

อย่าได้มีเจตนาหรือความตั้งใจในการโอ้อวด(ริยาอ์) เพื่อรับคำชื่นชมโดยเด็ดขาด ไม่ใช่เรียนไปศึกษาไป เพื่อที่คนจะได้กล่าวว่าคนๆนี้เป็นนักศึกษาศาสนา เป็นคนรู้ หรือเพื่อโต้เถียงกับคนโง่ หรือไปโต้เแย้งกับบรรดาอุลามาอ์

เรานั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ตะอาลาเพียงองค์เดียว

ท่านร่อซูลลุ้ลลอฮ์ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

หะดีษกุดซีย์ อัลลอฮ์ตะอาลา กล่าวว่า ฉันนั้นเพียงพอ จากบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลายในการตั้งภาคี อัลลอฮ์ตะอาลา ไม่ต้องการสิ่งใดจากพวกเหล่านี้ ใครที่ปฏิบัติงานสิ่งหนึ่งสิ่งใด และก็ตั้งภาคีกับพระองค์นั้น อัลลอฮ์ตะอาลาก็จะทิ้งการงานของเขา และการตั้งภาคีของเขา อัลลอฮ์ตะอาลาจะไม่รับการงานของเขา

ผลเสียของการโอ้อวด ต้องการได้รับคำชม หรือชอบที่จะเด่นดัง ชอบที่จะเป็นคนออกหน้า ทำให้การกระทำเหล่านี้ การโอ้อวด รักในชื่อเสียง อยากดัง สิ่งเหล่านี้ มันก็จะทำลายความรู้ของท่าน เพราะฉะนั้นจำเป็นที่ เรานั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ในการตั้งใจเจตนาต่ออัลลอฮ์ตะอาลาแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นถ้าเราเจตนาตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว อินชาอัลลอฮ์ :-

ประการที่หนึ่ง : ความรู้ การงานของเราอัลลอฮ์ตะอาลาก็จะทรงรับ

ประการที่สอง : ความรู้ อันมีประโยชน์ที่ท่านได้รับมาด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น มันก็จะแผ่กระจายไปสู่พี่น้องมุสลิมของเรา อินชาอัลลอฮ์

คำสั่งเสียข้อที่ 4 : ให้ระมัดระวังเรื่องการทำบาป การฝ่าฝืนทั้งหลาย(อัล-มาอาซี)

เพราะว่าการฝ่าฝืนนี้อันเป็นเหตุให้เกิดความมืดในหัวใจ เป็นความมืดในหลุมฝังศพ ตลอดจนมันก็จะแสดงออกที่ใบหน้าของเรา จะทำให้เรามีชีวิตที่คับแคบในดุนยานี้ และก็เป็นการประกาศสงครามกับอัลลอฮ์ซุบฮานะฮุวะตะอาลา ความผิดบาป เป็นสาเหตุแรกเลยที่อัลลอฮ์ตะอาลานั้นได้ทำให้ท่านนบีอาดัมออกจากสรวงสวรรค์ของพระองค์ อันเนื่องมาจากการฝ่าฝืน นี้เอง

ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาได้บอกว่า ให้ท่านนั้นจงเที่ยงตรงอยู่บนอัลกุรอานและสุนนะห์ และปฎิบัติในสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้มา เพื่อที่จะได้รับความจำเริญ จากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ในการงานของท่าน ในคำพูดของท่าน และในชีวิตของท่านด้วย ประการสำคัญที่อยากจะเตือน ก็คือการทำบาป มันทำให้ความรู้ หรือการท่องจำของท่านสูญหาย เวลาทำชั่ว ทำเลว ก็ไม่ค่อยจะท่องจำ

ท่านอิม่าม อัชชาฟีอีย์ รอฮิมาฮุ้ลลอฮ์ เคยร้องทุกข์กับอิหม่ามวาเกี้ยะอ์ ในเรื่องความจำของท่าน (น่าจะอยู่ใน)ในบทกลอนดีวานของ อิม่ามชาฟีอี (ผู้แปล) ท่านอิหม่ามวาเกี้ยะอ์ แนะนำ ให้ท่านอิม่ามชาฟีอี ละทิ้งในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน ท่านอิม่ามวาเกียะอ์ ได้บอกอีกว่า ความรู้นั้นเป็นรัศมีของอัลลอฮ์ตะอาลา และรัศมีของพระองค์นั้นจะไม่มาถึง,จะไม่ได้รับ หรือจะไม่ถูกประทานให้กับคนที่ฝ่าฝืน เหตุนี้ผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาจะต้องทำให้มาก ปฎิบัติให้มากๆ คือการ ขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตาอาลาให้มากๆ หมั่นขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ตะอาลาให้มากๆ และการกลับไปหาอัลลอฮ์ตะอาลา เพื่อที่จะทำให้หัวใจมีความสว่างและความมืดมิดมันหลุดออกไปจากหัวใจ สิ่งที่เป็นบาป(มาอาซีย์)ทั้งหลายจะได้หลุดไป และเขาก็มุ่งไปสู่การศึกษา ในการหาความรู้ เมื่อหัวใจสะอาดจากความมืดมิด จากบาปทั้งปวงแล้ว เขาก็จะมุ่งไปสู่ความรู้ในสภาพที่หัวใจของเขานั้น มีความสะอาดบริสุทธิ์ จากบาปทั้งปวงอย่างเต็มความสามารถ

คำสั่งเสียข้อที่ 5 : จงระวังการเย่อหยิ่งผยองตน(ตะกับโบ้ร)

การเย่อหยิ่ง การอวดดี การหยิ่งผยอง ชัยฎอนถ้ามันไม่สามารถล่อลวง ในเรื่องของการที่จะศึกษาหาความรู้แล้ว มันไม่สามารถล่อลวงเราในประเด็นนี้ มันก็จะมาหลอกลวงเราในส่วนอื่น ชัยฎอนก็จะมาในเรื่องของให้คำชม ว่าท่านนั้นเป็นผู้รู้ เป็นคนดี ท่านนั้นเป็นคนเคร่งครัด ท่านนั้นอ่านอัลกุรอ่านดี เป็นนักเรียน นักศึกษา ท่านลองดูสิว่าเพื่อนๆ ของท่านไปอยู่ไหนตอนนี้ ท่านนั้นอยู่ในมันฮัจญ์ มีความรู้มากไปกว่าพวกเขา อันนี้ก็เป็นการหลอกลวงของไชฎอน จนกระทั่งทำให้ท่านพบกับความพินาศ ความวิบัติอันเนื่องมาจาก การตะกับโบร การเย่อหยิ่งผยอง ยกเว้นผู้ที่อัลลอฮ์ตะอาลาประสงค์ที่จะให้เขานั้นได้อยู่ในพระเมตตาของพระองค์ คนๆนั้นก็จะรอดพ้น

คำสั่งเสียข้อที่ 6 : ให้ระมัดระวังเรื่องของดุนยา

ก็คือการแสวงหาความเพริดแพร้ว ความรุ่งเรืองของดุนยานี้ คนที่เป็นนักเรียนนักศึกษานั้น เป้าหมายสูงสุดของเขานั้นก็คือ การศึกษาหาความรู้ และอย่าให้ชัยฎอนนั้นมาหลอกลวงเขา โดยเฉพาะในเรื่องของดุนยานี้ เพราะว่าดุนยาเป็นสิ่งที่สูญสลาย ไม่ยั่งยืนอะไร แต่ว่าชัยฎอนพยายามมาล่อลวง ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษาเรียน มีหัวใจที่มีความคิดที่ผูกติดกับดุนยา ทำให้เขาผินออกจากการศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเสริฐที่สุด ดังนั้นเราต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการแสวงหาให้ได้มาซึ่งดุนยานี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษานั้น

เชคได้บอกว่า เราเคยได้รู้ว่า มีนักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก ที่พวกเขานั้นเป็นคนที่ท่องจำอัลกุรอ่าน ท่องจำหะดีษของท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮ์ฮุอาลัยฮิวาซัลลัม และก็มีความรู้มากมายทีเดียว แต่ว่าในขณะเดียวกัน ชัยฎอนก็ล่อลวงพวกเขาให้พวกเขามีหัวใจที่ผูกติดอยู่กับดุนยา ก็คืออยากจะได้สิ่งต่างๆในดุนยา ก็เลยทำให้ความรู้ที่พวกเขามีนั้นสูญหายไป เพราะฉะนั้นเวลาชัยฎอน มันมาล่อลวง เราก็ต้องรำลึกอยู่เสมอว่าอันเนี่ยโดนชัยฎอนล่อลวงไปสะแล้ว

หะดิษของท่านรอซูลลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล้ลลอฮฮูอาลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าวว่า “ฉันนี่ไม่ได้กลัวหรอกความจนของพวกท่านทั้งหลาย แต่กลัวว่าพวกท่านทั้งหลายนั้นมุ่งไปสู่ การแสวงหาสิ่งที่มีอยู่ในดุนยา”

คำสั่งเสียข้อที่ 7 : ให้ความสำคัญเอาใจใส่ในเรื่องของอิบาดะฮ์

เพราะว่า เราสังเกตุว่านักศึกษาจำนวนมากเลย ไม่ว่าหญิงหรือชายก็แล้วแต่ เรียกว่า ไม่ค่อยได้เอาใจใส่ในเรื่องของอีบาดะห์ โดยอ้างว่า ไม่ว่างจะต้องท่องตรงนั้น ไปทบทวนตรงนี้ เลยไม่มีเวลามาทำอีบาดะห์ แล้วก็ทำให้มีการบกพร่องในเรื่องของอีบาดะห์ ทั้งๆความจริงแล้วนั้น อิบาดะฮ์นั้นเป็นผลของความรู้ ความรู้นั้นนำไปสู่การประกอบอีบาดะฮ์ ไปสู่การตักวา การยำเกรงต่ออัลลอฮ์ตะอาลา และไปสู่การอิสตีกอมะฮ์ ความเที่ยงตรง นั้นจำนวนมากเราจะเห็นบางคน บกพร่องในเรื่องของฟัรฏูบางอย่าง ในเรื่องของสุนัต เช่นการละหมาดวิเตร หรือสุนัตรอวาติบต่างๆที่อยู่ในละหมาด ตลอดจนเราจะเห็นว่ามีบางคน ก็ไม่ให้ความสนใจเรื่องของซิเกร อัซกัร ต่างๆ ไม่ให้ความสนใจในเรื่องของการถือศีลอดที่เป็นสุนัต อย่างนี้คือความผิดพลาดที่น่ารังเกียจ เพราะฉะนั้น คนที่เป็นนักเรียนนักศึกษานั้นเขาจะต้องแสดงความรู้ของเขาออกมา ซึ่งความรู้นั้นก็คือการแสดงอิบาดะฮ์ ออกมานั้นเอง

คำสั่งเสียข้อที่ 8 : การรีบเร่ง หรือรีบร้อนในเรื่องของการฟัตวา

เราจะเห็นพวกที่เด็กๆอายุน้อยๆรีบที่จะออกฟัตวา จนกระทั่ง บางคนถึงกับไปสร้างเรื่อง การกล่าวเท็จในที่บรรดาอุลามาอ์ไม่ได้พูด หรือบางครั้งเด็กคนนั้นหรือว่าเด็กคนนี้ ก็พยายามที่จะเชิญชวนหรือ สนับสนุนให้ผู้คนมาถามเขา อยากจะเป็นนักตัดสินปัญหา ก็เลยไปสนับสนุนเชิญชวนให้คนมาถาม หรือเปิดโอกาสให้คนได้ถามเขา อันนี้คือความผิดอันยิ่งใหญ่ เป็นการล่อลวงของชัยฎอน ที่ทำให้ติดกับดักชัยฎอน และการรีบร้อนในการฟัตวานี้ บางครั้งอาจจะนำไปสู่การกระทำที่ล้ำหน้าอุลามาอ์ หรือทำเกินหน้าที่

และเป็นการกล่าวเท็จให้กับพวกท่านทั้งหลายเหล่านั้น ในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด ก็เลยทำให้คนที่กล่าวเท็จให้กับบรรดาอุลามาอ์นั้น เข้าไปสู่ประตูแห่งความอันตรายอีกประตูหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะฟัตวาหรือตัดสิน ในเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องราวใหญ่ๆเรื่องราวสำคัญๆที่เกิดขึ้น ในประชาชาตินี้ เพราะในเหตุการณ์ที่เป็นฟิตนะห์ บางทีคนที่อายุน้อยๆ หรือคนที่ไม่ได้อาวุโส ก็อาจจะขาดความรู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถ้านักเรียน,นักศึกษาคนนั้นเป็นคนที่ ได้รับการศึกษามา และเป็นผู้ที่ได้รับการอนุญาตจากอุลามาอ์ ว่าสามารถที่จะตอบปัญหาได้ นักเรียนคนนั้น ได้รับอนุญาตจากผู้รู้จากปราชญ์มา เขาก็สามารถจะฟัตวาได้ แต่ว่าจะต้องไม่ฟัตวาเกินไปกว่าคำพูดของอุลามาอ์ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ ฟิตนะห์ ในเหตุการณ์ที่สำคัญๆ เขานั้นจะต้องกลับไปหาอุลามาอ์ แล้วก็ถ่ายทอดคำพูดของพวกเขา โดยที่จะต้องไม่เพิ่มหรือไม่ลดไปจากคำอุลามาอ์ แค่ถ่ายทอด ไม่เสริมไม่เติม ไม่ตัดข้อความของอุลามาอ์โดยเด็ดขาด

คำสั่งเสียข้อที่ 9 : การรีบร้อน รีบเร่งในเรื่องของการรับรองบุคคล (ญัรห์วัตตะดี้ล)

การที่จะบอกว่าคนหนึ่งคนใดเชื่อถือไม่ได้ หรือคนหนึ่งคนใดเป็นคนดี เชื่อถือได้ เป็นคนที่เราจะเอาความรู้ได้ บางคนก็เปิดประตู เปิดกว้างเรื่องนี้เลย แท้จริงเรื่องญัรห์วัตตะดีล เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องไปทำ(เป็นฟัรดูกีฟายะห์) แต่ว่าเป็นเรื่องของอุลามาอ์ แต่ถ้าเกิดมีความจำเป็นต้องญัรห์ วัตตะดีล ก็วายิบที่เราต้องกลับไปดู หรือว่าไปถ่ายทอด คำพูดของอุลามาอ์ ว่าคนนี้เชื่อถือไม่ได้ คนนี้เชื่อถือได้.. อัลญัรห์วัตตะดี้ล เป็นเรื่องของการเตือนผู้คนให้ระมัดระวังในเรื่องของความชั่ว หรือของบิดอะฮ์

ญัรห์วัตตะดีล ไม่ได้มีเป้าหมายในการเอาชนะกัน หรือให้เหนือกว่าคนอื่น ดังนั้นในเรื่องของการญัรห์ การที่จะไปกล่าววิพากษ์วิจารณ์คน ในด้านลบ เป็นเรื่องที่อันตราย เป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นเราจะต้องกลับไปหาอุลามาอ์หรือกลับไปหานักเรียน นักศึกษาที่ถ่ายทอดคำพูดของอุลามาอ์ ถ้าเกิดความขัดแย้งในหมู่ของนักเรียนนักศึกษาก็ให้กลับไปหาอุลามาอ์ผู้อาวุโส เป็นผู้ชี้ขาดอีกที

คำสั่งเสียข้อที่ 10 : ระวังการนั่งร่วมกับพวกอารมณ์นิยม(กลุ่มหลงผิดต่างๆ)

ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด คือไม่ไปนั่งร่วมกับอะฮ์ลุลอะฮ์วาอ์ นักเรียนนักศึกษานั้น จะต้องไม่ไปนั่งร่วมกับพวกอารมณ์นิยม เพื่อที่ จะต้องออกห่าง และก็ระมัดระวังอย่างที่สุด อย่างเต็มความสามารถ จะต้องไม่ไปนั่งรวมกับพวกนี้ ไปอยู่ปะปนกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน หรือมีการดะวะฮ์ของเรา พยายามไปประสานจุดร่วม ทำให้ดะอ์วะฮ์สะลัฟของเรามันอ่อนลงไป เพื่อที่จะสามารถไปเข้ากับพวกเขาได้

เพราะฉะนั้นจะต้องไม่ไปร่วมกับศูนย์การเผยแพร่ของกลุ่มเหล่านี้ ไม่ไปนั่งร่วมกับพวกเหล่านี้ ทั้งหมดนี้เป็นการรักษาไว้ซึ่งศาสนาและมันฮัจญ์ แนวทางที่เที่ยงตรง

ดังนั้นจงระมัดระวัง ในเรื่องนี้อย่างที่สุดเลย อย่างที่เราได้เห็นมา มีคนจำนวนมากทีเดียว พวกเหล่านี้ไปอยู่ ไปคบค้าสมาคม กับอะฮ์ลุ้ลบิดอะห์ ในที่สุดพวกนี้ก็กลายไปเป็นพวกบิดอะฮ์ แล้วก็ทำให้ความรู้ก็สูญหายไป วั้ลลอฮุมุสตาอาน ที่พวกท่านทั้งหลายอยู่นั้น ก็มีครูบาอาจารย์ ที่มีความรู้ ความสามารถ อยู่ อัลลอฮุมุสตาอาน