ก๊อดยานีหรือไม่!?

นายอิบรอฮีม กุเรชี่ เกี่ยวข้องกับก๊อดยานียฺหรือไม่
พิสูจน์ข้อขัดแย้งเรื่องก๊อดยานียฺ

เขียนโดย คนทันคน ไม่ทนให้ใครหลอก [ 17 มกราคม 2552 ]

นายริฎอ สะมะดี กล่าวไว้ว่า

“ประเด็นที่อันตรายมากและยังไม่มีใครสามารถให้เหตุผลได้คือ นักวิชาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิก๊อดยานียฺและยืนยันในการประณามลัทธิก๊อดยานียฺประกาศอยู่เสมอว่าลัทธิก๊อดยานียฺเป็นขบวนการนอกกรอบอิสลาม และมีแผนจะทำให้โลกมุสลิมแตกแยก กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นก๊อดยานียฺ” (เมื่อความจริงปรากฏ หน้า 9 โดยนายริฎอ สะมะดี)
“บุคคลที่รู้จักเขาสามารถยืนยันได้ว่าอิบรอฮีม กุเรชีไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิก๊อดยานียฺด้วยประการทั้งปวง” (เมื่อความจริงปรากฏ หน้า 49 โดยนายริฎอ สะมะดี)

สรุปประเด็นขัดแย้ง

นายริฎอ สะมะดี ลูกศิษย์ และพลพรรค ไม่เชื่อว่านายอิบรอฮีม กุเรชี เกี่ยวข้องกับก๊อยานียฺ และไม่เชื่อว่าเขานำลัทธิก๊อดยานียฺมาเผยแพร่ในเมืองไทย แต่นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน เชื่อว่านายอิบรอฮีม กุเรชี มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ อีกทั้งนำแนวคิดความเชื่อดังกล่าวมาเผยแพร่ บางท่านตัดสินว่าเขาคือก๊อดยานียฺ

ดังนั้นจึงเกิดการถกเถียงโต้แย้งกันระหว่างสองกลุ่มข้างต้น ส่วนว่าฝ่ายใดจะถูกหรือผิดนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของแต่ละฝ่ายและไม่ได้ขึ้นอยู่วิธีการนำเสนอที่น่าตื่นตาตื่นใจหรือเร้าใจ และมิได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละฝ่ายว่าน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร แต่ความถูกผิดนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่สามารถอ้างอิงและพิสูจน์ได้

ต่อไปนี้เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าข้ออ้างของกลุ่มแรกนั้นมิได้ยืนอยู่บนหลักฐาน หลักการ และเหตุผลสนับสนุน หากแต่เป็นเพียงการแก้ต่างอย่างอำพรางเท่านั้น ส่วนข้อกล่าวหาของฝ่ายที่สองนั้นมีทั้งหลักฐาน หลักการ และเหตุผลสนับสนุน น่าเชื่อถือมากกว่าหลายเท่า

ส่วนใครจะเชื่อฝ่ายใดก็ขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญา ความบริสุทธิใจ และศรัทธาของผู้นั้น เราไม่อาจบังคับหรือขืนใจใครให้เชื่อได้ ดังนั้นผู้อ่านจะเชื่อฝ่ายใดย่อมเป็นสิทธิของท่านโดยแท้ แต่ทั้งนี้ให้สังวรณ์สิ่งสามประการที่กล่าวแล้วข้างต้นคือ สติปัญญา ความบริสุทธิใจ และศรัทธาของผู้นั้น หากขาดอันหนึ่งอันใด ผลของการตัดสินใจก็จะบิดเบี้ยวไปตามเงื่อนไขดังกล่าว

ประเด็นวิเคราะห์

– นายอิบรอฮีม กุเรชี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทางใดทางหนึ่งกับก๊อดยานียฺหรือไม่ ?

– เขาได้นำลัทธิก๊อดยานียฺมาเผยแพร่หรือไม่ ?

– เขาเป็นก๊อดยานียฺหรือไม่?

พิสูจน์ว่า นายอิบรอฮีม กุเรชี่ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับก๊อดยานียฺ

ประการที่หนึ่ง

เขายอมรับเองว่าเป็นสมาชิกวารสารน์ อิสลามิกรีวิว ของก๊อดยานียฺสำหนักละโฮรฺ ผู้ปกป้องและสนับสนุนเขาก็ยอมรับเช่นกัน

พิสูจน์

1- นายอิบรอฮีมเขียนลงในวารสารน์ อัลฮุดาฉบับที่ 1 ปีที่ 1 ปกหลังด้านในไว้ดังนี้ “ผู้ที่ประสงค์จะบอกรับเป็นสมาชิกหนังสือรายเดือน อิสลามิกรีวิว (Islamic Review) ซึ่งพิมพ์จากประเทศอังกฤษ โปรดติดต่อสำนักพิมพ์นี้”(หมายถึงสำนักพิมพ์วารสารน์ อัลฮุดา”
2- ผู้ปกป้องและสนับสนุนเขาไม่เคยปฏิเสธว่านายอิบรอฮีมเป็นตัวแทนเผยแพร่วารสารน์ของก็อดยานียฺสำนักละโฮรฺ

ประการที่สอง

เขาเดินทางไปเยือนมุฮัมมัด อาลี หัวหน้าก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1951

พิสูจน์

1- สามารถหาดูได้จากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ http://www.muslim.org/books/m-kabir/mjk3-8.htm ซึ่งมีข้อความสำคัญปรากฏดังนี้ (The Thai delegate, Mr. Ibrahim Quraishi, visited Maulana Muhammad Ali twice) แปลว่า “ตัวแทนในไทย มิสเตอร์อิบรอฮีม กุเรชี มาเยือนเมาลานา มุฮัมมัด อาลี ถึงสองครั้ง” คือในปี ค.ศ. 1951

ข้อความจากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ https://www.muslim.org/books/m-kabir/mjk3-8.htm

2- ผู้ปกป้องและสนับสนุนเขาไม่ว่าจะชื่ออะไร ไม่เคยปฏิเสธความจริงนี้ และไม่เคยปฏิเสธว่ามุฮัมมัด อาลีเป็นหัวหน้าก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ตรงกันข้ามนายมุรีด ทิมะเสน ได้ประณามนายมุฮัมมัด อาลี ไว้อย่างสาดเสียเทเสียในหนังสือของเขาชื่อว่า “ทำไมโลกมุสลิมจึงประณาม “ลัทธิก๊อดยานียฺ” ? ” ดูหน้า 12 ย่อหน้าสุดท้าย

ประการที่สาม

หนังสืออ้างอิงในการอธิบายอัลกุรอ่าน ส่วนใหญ่ล้วนเป็นของก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ผู้ปกป้องเขาก็ยอมรับเช่นกัน

พิสูจน์

1- เช่นหนังสือ The Religion of Islam ของนายมุฮัมมัด อาลี ผู้เป็นหัวหน้าก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ดู (บญานุ้ลกุรอ่านของนายอิบรอฮีม เล่ม 1 หน้า ญ.)

2- หนังสือ Introduction to the Study of Holy Quran ของนายค่อวาญะฮฺ กะมาลุดดีน ซึ่งเป็นแกนนำก๊อดายานียฺสำนักละโฮรฺ ดู(บญานุ้ลกุรอ่านของนายอิบรอฮีม เล่ม 1 หน้า ญ.)

3- นายริฎอ สะมะดีก็ยอมรับความจริงนี้เช่นกัน ดูหนังสือเมื่อความจริงปรากฏ หน้า 73 ซึ่งมีข้อความดังนี้ “สุดท้ายนี้ เราไม่ปฏิเสธว่านายอิบรอฮีม กุเรชีเคยใช้ตำราของมุฮัมมัด อาลี ในการแปลอัลกุรอานเป็นภาษาไทย”

ประการที่สี่

เขาได้ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับแกนนำของก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ เช่นนายมุฮัมมัด อาลี ก๊อดยานียฺสำนักดังกล่าวได้เก็บรูปเขาไว้และแสดงอย่างเปิดเผยในเว็ปไซท์ของพวกเขา แม้วินาทีนี้

พิสูจน์

1- ภาพดังกล่าวก็ยังแสดงอยู่ สามารถค้นหาได้จากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ(
http://www.muslim.org/photos/hist.htm)

2- ผู้ปกป้องและแก้ต่างให้แก่เขามิได้ปฏิเสธความจริงนี้ แต่กลับนำภาพที่สมาชิกก๊อดยานียฺบางคนถ่ายภาพร่วมกับบุคคลสำคัญในโลกอหรับมาหักล้าง โดยอ้างว่าผู้ถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกก๊อดยานียฺมิกลายเป็นก๊อดยานียฺหมดหรือ

ประการที่ห้า

ในเว็ปไซท์ของก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ได้เสนอภาพหมู่สมาชิกผู้ก่อตั้งก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ในจำนวนนั้นมีบุคคลผู้หนึ่งชื่อว่านายแพทย์ อับดุลวะฮาบ คาน มีถินพำนักในจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
หน้าสุดท้ายของหนังสือบะญานุ้ลกุรอาน เล่ม 1 นายอิบรอฮีม กุเรชีเขียนข้อความไว้ดังนี้

เราขอขอบคุณต่อ

…นายแพทย์อับดุลวะฮับ คาน ถนนภิรมย์ ปัตตานี…

ที่มีส่วนช่วยในการจัดพิมพ์และสนับสนุนบริการของเรา

ให้หนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้ได้สู่บรรณภพ

พิสูจน์

1- สามารถค้นหาความจริงได้จากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ ภาพที่ 1 (
http://www.muslim.org/photos/hist.htm)


2- สำหรับข้อความที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมข้างต้น สามารถค้นหาความจริงได้จากหนังสือบญานุ้นกุรอ่าน เล่ม 1 หน้าสุดท้าย
3- หนังสือบญานุ้ลกุรอานเล่มแรกสำเร็จลงได้เพราะความช่วยเหลือจากสมาชิกผู้ก่อตั้งลัทธิก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ

นายอิบรอฮีม กุเรชี่ ได้นำลัทธิก๊อดยานียฺมาเผยแพร่จริง

ประการที่หนึ่ง

นายอิบรอฮีมสัญญากับมุฮัมมัด อาลี หัวหน้าก๊อดยานียฺสำหนักละโฮรฺ ว่าจะนำหนังสือของเขามาแปลเป็นไทยซึ่งก็คือหนังสือ “บญานุ้ลกุรอ่านและกุรอ่านมญี๊ด”

พิสูจน์

1- ในระหว่างที่นายอิบรอฮีมเดินทางไปเยือนนายมุฮัมมัด อาลี นายอิบรอฮีมแสดงความจำนงค์จะแปลอัลกุรอ่านโดยใช้คำอธิบายและหมายเหตุของนายมุฮัมมัด อาลี ดูจากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ (
http://www.muslim.org/books/m-kabir/mjk3-8.htm) ซึ่งปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษดังนี้

” He informed that he was translating the Quran into the Thai language using the Maulana’s translations. He was taking the explanation of the meanings of Arabic words from Bayan-ul-Quran and the footnotes and commentary from the English translation.” (เขาแจ้งว่าเขากำลังแปลอัลกุรอานเป็นภาษาไทยโดยใช้คำแปลของเมาลานะ เขากำลังอธิบายความหมายของคำภาษาอาหรับจากคัมภีร์อัลกุรอาน และเชิงอรรถและคำอธิบาย จากเล่มภาคภาษาอังกฤษ)


2- ผู้ปกป้องเขาเช่น นายริฎอ สะมะดี ก็ยอมรับความจริงนี้ โดยกล่าวว่า “สุดท้ายนี้ เราไม่ปฏิเสธว่านายอิบรอฮีม กุเรชีเคยใช้ตำราของมุฮัมมัด อาลี ในการแปลอัลกุรอานเป็นภาษาไทย” จากหนังสือ “เมื่อความจริงปรากฏ” หน้า 73 เขียนโดยนายริฎอ สะมะดี
3- นายมุฮัมมัด อาลีเป็นหัวหน้าก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺ เขามีหนังสือแปลและอธิบายอัลกุรอ่านเป็นภาษาอังกฤษอยู่สองเล่มคือ “บญานุ้นกุรอ่าน” และ “กุรอ่านมญี๊ด” ซึ่งตรงกับหนังสือแปลและอธิบายอัลกุรอ่านภาคภาษาไทยของนายอิบรอฮีม กุเรชี ซึ่งก็คือ “บญานุ้ลกุรอ่าน” และ “กุรอ่านมญี๊ด”
4- ท่านสามรถพิสูจน์ความเหมือนและต่างของหนังสือสองเล่มดังกล่าวได้จากเว็ปไซท์ก๊อดยานียฺสำหนักละโฮรฺ ดังนี้ (
http://www.aaiil.org/text/hq/hqmain.shtml)

ประการที่สอง

ในเว็ปไซท์ของก๊อดยานียฺสำหนักละโฮรฺ ยืนยันว่านายอิบรอฮีม กุเรชีได้นำข้อเขียนของนายมุฮัมมัด อาลีมาแปลเป็นไทยและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มที่สวยงามพร้อมกับนำผลงานดังกล่าวไปเสนอแก่นายมุฮัมมัด อาลี

พิสูจน์

1- ในเว็ปไซท์ของก๊อดยานียฺระบุไว้ว่า “…and showed him beautifully printed books in the Thai language which were translations of the Maulana’s writings ” แปลว่า “และเขา(นายอิบรอฮีม กุเรชี) ได้นำสิ่งพิมพ์ภาษาไทยที่สวยงามซึ่งแปลจากข้อเขียนของเมาลานา(มุฮัมมัด อาลี) มาแสดง (แก่มุฮัมมัด อาลี)” คัดจากเว็ปไซท์ (
http://www.muslim.org/books/m-kabir/mjk3-8.htm) ซึ่งเป็นเว็ปไซท์ของก๊อดยานียฺสำหนักละโฮรฺ ใครๆ ก็สามารถเขาไปดูได้


2- นายอิบรอฮีม กุเรชี กล่าวระลึกบุญคุณของหนังสือ (The Religion of Islam) ซึ่งเขียนโดยนายมุฮัมมัด อาลี

ประการที่สาม

เป็นตัวแทนจำหนายจ่ายแจกวารสารน์รายเดือนของก๊อดยานียฺ ชื่อว่า อิสลามิก รีวิว (Islamic Review) ซึ่งเป็นหนังสือเผยแพร่ลัทธิก๊อดยานียฺในอดีตจวบจนปัจจุบัน

พิสูจน์

1- ในวารสารน์ดังกล่าวระบุตัวแทนจำหน่ายในแต่ละประเทศทั่วโลกไว้ ตัวแทนในประเทศไทยคือนายอิบรอฮีม กุเรชี โดยมีการระบุรายละเอียดการติดต่อไว้ชัดเจนว่าผู้ต้องการสมัครเป็นสมาชิกวารสารน์ดังกล่าวให้ติดต่อนายอิบรอฮีม กุเรชี บ้านเลขที่ 110/1 บ้านครัว, หลังตลาดเจริญผล, ปทุมวัน, กรุงเทพ,ประเทศไทย ดูวารสารน์ อิสลามิกรีวิวฉบับประจำเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1951 หน้า 3

ประการที่ห้า

สิ่งที่ก๊อดยานียฺ เผยแพร่อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะจากสำนักร๊อบวะห์หรือละโฮรฺ ล้วนตรงกันทั้งสิ้น ทั้งสองสำนักมีส่วนต่างกันเล็กน้อยคือ สำนักร๊อบวะห์เชื่อว่ามิรซากุฆาม อะห์มัดผู้ก่อตั้งลัทธิเป็นนะบีแต่สำนักละโฮรฺมิได้เชื่อเช่นนั้น
สำนักร๊อบวะห์เชื่อเรื่องการสืบทอดอำนาจต่อจากมิรซาฆุลาม อะห์มัดในระบบค่อลีฟะห์ แต่สำนักร๊อบวะห์ไม่เชื่อเช่นนั้น
สำนักร๊อบวะห์เชื่อว่ามุสลิมอื่นเป็นกาฟิรแต่สำนักละโฮรฺไม่เชื่อเช่นนั้น สำนักละโฮรฺปฏิเสธว่าตนมิใช่ก๊อดยานียฺ และยืนยันว่าก๊อดยานียฺไม่ถูกต้อง

พิสูจน์

1- ในเว็ปไซท์หนึ่งของสำนักละโฮรฺ มีบทความหนึ่งระบุสาเหตุการแตกออกมาเป็นสำนักละโฮรฺ ซึ่งสรุปได้เป็นสามสาเหตุหลักข้างต้น ผู้อ่านสามารถสืบค้นได้จากเว็ปไซท์นี้ โดยพยายามเขียนให้ถูกต้อง (http://www.muslim.org/qadis/contents.htm )


2- ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺปฏิเสธว่าตนมิใช่ก๊อดยานียฺและถือว่าก๊อดยานียฺมีความเชื่อที่ผิด และได้มีการท้าทายระหว่างสองสำนักเพื่อการโต้แย้งเรื่องนบีคนสุดท้าย สำนักละโฮรฺอ้างว่าสำนักร๊อบวะห์ไม่กล้าเผชิญหน้ากับกลุ่มตนในเรื่องดังกล่าว
3- นายริฎอ สะมะดี มิได้ระบุความแตกต่างระหว่างความเชื่อหลักๆ ของสองสำนักยกเว้นเรื่องนบีคนสุดท้าย เหมือนโจงใจจะให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่านหรือต้องการปิดบังอำพรางอะไรบางอย่าง เขากลับเลือกที่จะยกความเชื่อของสำนักร๊อบวะห์บางข้อที่นักวิชาการมุสลิมวิเคราะห์เอาจากข้อเขียนของมิรซาฆุลามฯ เป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์ว่าใครจะเป็นหรือไม่เป็นก๊อดยานียฺ ซึ่งเขาระบุว่ามี 7 ประการดังนี้

การอ้างตนเป็นนบี ( ก๊อดยานียฺสำนักละโฮรฺปฏิเสธในเรื่องนี้)

ก๊อดยานียฺเชื่อว่านายอิบรอฮีมเขียนไว้ว่า
เราศรัทธาว่าอีซา อะลัยฮิสลามนั้นตายแล้วอย่างปกติ”1“ท่านนบีอีสาตายแล้วในโลกนี้”2
“ไมมีการประหารชีวิตยกเว้นผู้ละทิ้งศาสนาที่ก่อสงคราม”3” ไม่มีข้อแม้ให้ประหารชีวิตคนเช่นนั้น”4
“นรกคือโรงพยาบาล”5“นรกคือโรงพยาบาล”6
“เราศรัทธาว่าไม่มีอายะห์ใดถูกยกเลิกไม่มีอายะห์ถูกยกเว้น”7” เราไม่พบฮะดีษจากนบีของเราในเรื่องเช่นนี้เลย เรื่องนาสิคมันสูคมาจากคนอื่น”8
” ไสยศาสตร์เวทมนต์เป็นเรื่องจินตนาการที่ไร้สาระ”9“สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รากเดิมของมันไม่ประวักษ์ชัด แสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งหลอกลวง”10
“พระพุธและศาสดาในศาสนาอื่นๆ” เป็นนบีของอัลลอฮ์11“…นบีอิบรอฮีมก็ดี…พระพุธเจ้าก็ดี ท่านนบีมุฮัมมัดก็ดี(ขอความสันติจากอัลลอฮฺได้มีแด่ท่านเหล่านี้”12
“ขบวนการวิวัฒนาการในในโลกแห่งการคืนชีพจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง”13“คนเราตายแล้วไปอยู่บัรซัค ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สองในวิวัฒนาการของชีวิต”14

รายละเอียดในเรื่องนี้สามรถหาอ่านได้จากหนังสือ “ความเขื่อที่แตกต่าง ฯ” ของ อิสฮาก พงษมณี ในที่นี้มีประสงค์เพียงยกมาพิสูจน์กฏเก็ณฑ์ของนายริฎอ สะมะดี ที่ว่ามีความเชื่อเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ก็สามารถตัดสินผู้นั้นได้ว่าอยู่ในนิกายใด ดังนั้นเพียงแค่ตัวอย่างที่ยกมาก็เท่ากับว่านายริฎอเองที่ตัดสินว่านายอิบรอฮีมเป็นก๊อดยานียฺ

บทสรุป

1. ผู้ใดจะเชื่อฝ่ายใดย่อมเป็นดุลพินิจของผู้นั้น เราไม่อาจบังคับให้ใครเชื่อใครได้

2. การจะเชื่อหรือไม่เชื่อขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการคือ ระดับปัญญา ความบริสุทธิ์ใจ และระดับศรัทธา หากขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใด การตัดสินใจย่อมผิดพลาดได้

3. กฏเกณฑ์ที่นายริฎอตั้งขึ้นทั้งเจ็ดข้อ แม้แต่ก๊อดยานียฺขนานแท้เช่นนายมุฮัมมัด อาลีและพวกก็ไม่อาจถูกเรียกว่าก๊อดยานียฺได้ เพราะไม่เข้าเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งจากเจ็ดข้อเลย

4. เป็นที่ชัดเจนหรือยังว่าผู้ใดคือคนลวงโลก ให้ร้าย และบิดเบือนความจริง

5. นายอิบรอฮีม กุเรชี จะเป็นอะไรไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคือหลักศรัทธาที่ผิดอย่างใหญ่หลวงได้รับการปกป้อง เผยแพร่ และยังคงดำรงอยู่หรือไม่ต่างหาก

เขียนโดย คนทันคน ไม่ทนให้ใครหลอก

17/1/2552

เนื้อหาต้นฉบับจากเว็ปไซต์ : https://thaisalafi.wordpress.com/2012/01/01/%e0%b8%81%e0%b9%8a%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88/

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชิงอรรถ

  1. (www.islamahmadiyya.net) ↩︎
  2. (อะซัลมุศอฟฟา อันดับที่ 11 หน้า 7) ↩︎
  3. http://www.islamahmadiyya.net/show_page.asp?Content key=12&article _id=48) ↩︎
  4. หลักการศรัทธาหน้า 12 ฉบับพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2546 ↩︎
  5. ( http://www.alislam.org /books/my-relig/part2.html) ↩︎
  6. (นรกคือโรงพยาบาล หน้า 4 ฉบับตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2520) และ (อัลฮุดา ปีที 1 ฉบับบที่ 12) ↩︎
  7. (http://www.islamahmadiyya.net/show_page.asp ?content _key=12&article_id=52) ↩︎
  8. (อะซัลมุศอฟฟา อันดับที่ 12 หน้า 6 และ บญานุ้ลกุรอ่าน เล่ม 1 หน้า 24 ↩︎
  9. (http://www.islamahmadiyya.net/qa.asp?cat_id=44) ↩︎
  10. (บญานุ้ลกุรอ่าน เล่ม 1 หน้า 233-234) ↩︎
  11. (www.islamahmadiyya.net/qa.asp?cat_id=18 – 49k) ↩︎
  12. (กุรอานมญี๊ด เล่ม 2 หน้า 1228) ↩︎
  13. (http://www.islamahmadiyya.net/show_page.asp? content_key=6&article_id=14) ↩︎
  14. (วารสารอัลฮุดา ปีที่ 1 ฉบับที่ 12) ↩︎