เสริมความรู้ด้านมันฮัจญ์ ผ่านชีวประวัติของอิหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮัมบัล, อิหม่ามเเห่งอะลุสสุนนะฮ์ (ปีฮ.ศ.161-241 ) ตอนที่ 2/10
จากอรรธถาธิบาย หนังสืออูศู้ลลุสสุนนะฮ์ ของอิหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮัมบัล
โดยอบูคอดียะฮ์ อับดุลวาฮีด จากมักตะบะฮ์สะละฟียะฮ์
แปลโดย อบูจัสมิน [8 กุมภาพันธ์ 2565]
ตอนที่ 2
ในตอนที่สองนี้เราจะพูดถึงอิหม่ามอะหมัด -ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-ในช่วงชีวิตของท่านที่ออกเเสวงหาความรู้ จากที่เราได้กล่าวไปเเล้วในตอนที่ 1 ว่าท่านเกิดที่เมืองเเบกเเดดเเละโตที่นั่น ในช่วงเริ่มต้นออกเเสวงหาความรู้ โดยเฉพาะในศาสตร์หะดีษ ท่านเริ่มศึกษากับปราชญ์ในเมืองเเบกเเดด เเละเดินทางไปยังเมืองอื่นๆ ท่านได้เดินทางไปยังเมืองกุฟะฮ์,บัสเราะฮ์,มักกะฮ์,มะดีะฮ,ชาม,และเยเมน โดยที่ท่านจะไม่เข้าไปยังเมืองใดนอกจากจะต้องตามหาปราชญ์ที่ดีที่สุดในเมืองนั้น ท่านพูดถึงตัวท่านเองว่า “ฉันเริ่มออกค้นหาหะดีษ ตอนอายุสิบหกปี เมื่อท่านฮุชัยอิมเสียชีวิต(ท่านอิบนุ บาชีร อิบนุซะดัน อัล-วาซิตี) ฉันอายุได้ยี่สิบปี เเละฉันได้ฟัง(ความรู้)จากท่านฮุชัยอิมในปี 179 ฮิจเราะฮ์”
ฮัมบัล อิบนุอิสหาก อิบนุมุฮัมหมัด อิบนุฮัมบัล(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.273) ซึ่งเป็นพี่ลูกน้องของอิหม่ามอะหมัด ได้กล่าวว่า “อะหมัด กล่าวว่า:”ฉันออกค้นหาหะดีษในปีฮ.ศ.179 ซึ่งขณะนั้นฉันอายุสิบหกปี เเละเป็นปีเเรกที่ฉันเริ่มออกค้นหาหะดีษ มีชายคนหนึ่งมาหาฉัน เเละกล่าวว่า “ท่านฮัมม้าด อิบยุชัยดฺเสียชีวิตเเล้ว” เเละท่านมาลิกก็ได้เสียชีวิตในปีนั้นเช่นกัน” ดังนั้น ปีที่ฉันเริ่มออกค้นหาหะดีษ เป็นปีเดียวกับที่ท่านมาลิกเเละท่านฮัมม้าดเสียชีวิต-รอฮิมะฮุมุ้ลลอฮ์- อะหมัดกล่าวต่อไปว่า “ตอนที่เราอยู่กับท่านอับดุรรอซซ้าก อัสซานาอี(เกิดปีฮ.ศ.126 -เสียชีวิตปีฮ.ศ.211)[ในเยเมน] เราได้ทราบข่าวคราวการเสียชีวิตของท่าน(ซุฟยาน)อิบนุยัยนะฮ์(เสียชีวิตปีฮ.ศ.198) , ท่าน(อับดุ้รรอฮ์มาน)อิบนุ มะฮ์ดี และท่านยะฮ์ยา อิบนุ ซาอี้ด “ ดังนั้น จากคำพูดเหล่านี้ ทำให้เรารู้ว่าอิหม่ามอะหมัดไปที่ใหน เเละได้พบกับใครบ้าง
เเล้วท่านกล่าวต่อไปว่า ท่านมีโอกาสเดินทางไปยังเมืองบัสเราะฮ์ห้าครั้ง ท่านได้นับครั้ง เเล้วกล่าวว่า “ฉันไม่มีโอกาสได้พบกับท่านมาลิก เเต่อัลลอฮ์ทรงทดเเทนโดยให้ฉันได้พบกับซุฟยาน อิบนุอุยัยนะฮ์” และท่านอิบนุอุยัยนะฮ์ได้เเบ่งปันสายงานที่ท่านมาลิกรับมาจากท่านอัซซุฮ์รีย์(เสียชีวิตปีฮ.ศ.124) ท่านซุฟยาน อิบนุอุยัยนะฮ์ ท่านเป็นปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงเเละเป็นฮาฟิซ อิหม่ามอะหมัด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-ยังได้กล่าวว่า: “ฉันไม่มีโอกาสได้พบกับท่านฮัมม้าด อิบนุซัยดฺ(เสียชีวิตปีฮ.ศ.179) อัลลอฮ์ทรงทดเเทนโดยให้ฉันได้พบท่านอิสมาอีล อิบนุอุลัยละฮ์(เสียชีวิตปีฮ.ศ.193)” ดังนั้น เเม้ผู้คนจะเสียชีวิตไปเเล้ว เเต่สัจธรรม,สุนนะฮ์ และผู้ยึดถือมันยังคงอยู่
عَنْ ثَوْبَانَ، قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم إِنَّمَا أَخَافُ عَلَى أُمَّتِي الأَئِمَّةَ الْمُضِلِّينَ قَالَ وَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم – لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي عَلَى الْحَقِّ ظَاهِرِينَ لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ يَخْذُلُهُمْ حَتَّى يَأْتِيَ أَمْرُ اللَّهِ – قَالَ أَبُو عِيسَى وَهَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ – قَالَ سَمِعْتُ مُحَمَّدَ بْنَ إِسْمَاعِيلَ يَقُولُ سَمِعْتُ عَلِيَّ بْنَ الْمَدِينِيِّ يَقُولُ وَذَكَرَ هَذَا الْحَدِيثَ عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم – لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ – فَقَالَ عَلِيٌّ هُمْ أَهْلُ الْحَدِيثِ
ท่านเซาว์บาน(รอฎิยันลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า ท่านรอซู้ลฯ(ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า “เเท้จริงสิ่งที่ฉันกลัวมากที่สุดในประชาชาติของฉันคือ บรรดาอิหม่ามที่หลงผิด” เเละท่านท่านรอซู้ลฯ ได้กล่าวว่า “จะยังมีกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉัน ที่พวกเขายืนหยัดอยู่บนสัจธรรมที่ถูกต้องนี้ ไม่มีใครสามารถทำอันตรายเเก่พวกเขาได้ จนกระทั่งพระบัญชาของอัลลอฮ์มาถึง” ท่านอบูอีซากล่าวว่า: ท่านอะลีย์อัลมาดีนี อธิบายหะดีษนี้ว่า “พวกเขาคืออะฮ์ลุ้ลหะดีษ” (รายงานโดยอัตติรมีซีย์ หะดีษที่ 2229)

ท่านจะเห็นเมืองเเห่งการเรียนรู้หลายเเห่งที่มีชื่อเสียง
จากหะดีษเหล่านี้ เราจะเห็นความมุ่งมั่นของปราชญ์ในยุคต้นที่ต้องการค้นหาปราชญ์ที่มีสายรายงานสั้นที่สุด เเละต้องการพบกับปราชญ์เเห่งยุคที่ดีที่สุด หากพลาดที่จะพบปราชญ์ในเมืองใด เขาก็จะมองหาปราชญ์ผู้ที่มีระดับคุณวุฒิ วัยวุฒิ ที่ใกล้เคียงที่สุด และจะมุ่งหน้าไปหา พวกเขามิได้ปรารถนาสิ่งใด นอกจาก ผู้ที่มีฐานะสูงสุดในด้านความรู้,ความประเสริฐ,ความเป็นปราชญ์ เเละมีสายรายงานสั้นที่สุด อีกนัยนึง การค้นหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาคุณลักษณะที่สูงส่งที่สุด เพราะการออกค้นหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่,ปราชญ์อาวุโส,หรือกี้บ้ารอุลามะอ์ ก็เพี่อจะได้พบกับปราชญ์ผู้มีคุณลักษณะเด่นชัดเเตกต่างจากผู้คนทั่วไป
ดังนั้น อิหม่ามอะหมัด จึงกล่าวว่า “ฉันไม่มีโอกาสได้พบกับท่านมาลิก เเต่อัลลอฮ์ทรงทดเเทนโดยให้ฉันได้พบกับท่านซุฟยาน อิบนุอุยัยนะฮ์(เสียชีวิตปีฮ.ศ.179) ฉันไม่มีโอกาสได้พบกับท่านฮัมม้าด อิบนุซัยดฺ(เสียชีวิตปีฮ.ศ.179) แต่อัลลอฮ์ก็ทรงทดเเทนโดยให้ฉันได้พบท่านอิสมาอีล อิบนุอุลัยละฮ์(เสียชีวิตปีฮ.ศ.193)“ ดังนั้นอิหม่ามอะหมัด ไม่หยุดที่จะกระตือรือร้น และปรารถนาที่จะพบกับปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เเละรับเอาความรู้ศาสนาจากพวกเขา ในทุกเรื่องเท่าที่จะทำได้ ท่านได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการออกไปหาปราชญ์ เเละเดินทางไปพบพวกเขาจนกระทั่งมีคนพูดกับท่านว่า “โอ้อบูอับดิลลาฮ์เอ๋ย! จงทำให้ง่ายกับตัวท่านบ้าง! ท่านออกไปค้นหาความรู้[เอาตัวเองไปลำบาก] แต่ถึงอย่างไรมันย่อมมาหาท่านอยู่ดี อินชาอัลลอฮ์” ท่านตอบกลับไปว่า “ฉันจะเเสวงหาความรู้ต่อไปจนกว่าจะถึงหลุมศพ”
เราได้เรียนรู้ถึงบางสิ่งที่สำคัญ บรรดาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ พวกเขาไม่ปล่อยให้ชื่อเสียงของตนมาปิดกั้นความถ่อมตนเเละความบริสุทธิ์ใจในการเเสวงหาความรู้ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือที่เคยผ่านมาบ้างเเล้ว เเม้กระทั่งการรับความรู้จากผู้ที่ความรู้น้อยกว่าก็ตาม ซึ่งปรากฏกับอิหม่ามอะหมัด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-ท่านได้จดบันทึกความรู้จากปราชญ์ร่วมสมัยของท่าน รวมทั้งลูกศิทย์บางคนของท่าน ดังที่ท่านบันทึกหะดีษหนึ่งจากอิหม่ามอบูดาวูด(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.275) ทำให้อิหม่ามอบูดาวูด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-รู้สึกปราบปลื้มใจ เมื่อท่านทราบว่าอิหม่ามอะหมัดรับรายงานหะดีษจากท่าน เเม้ตัวท่านเองจะเป็นปราชญ์และอิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ เเต่ท่านไม่รับรายงานหะดีษนี้จากใครนอกจากท่าน(อิหม่ามอบูดาวูด)
ท่านอับดุลลอฮ์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.290) ลูกชายของอิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า “บิดาของฉันเดินทางไปยังเมืองตาร์ซัส(เมืองหนึ่งของตุรกี) ด้วยการเดินเท้า..” เป็นการเดินทางที่ยากลำบาก ทว่าท่านยังได้เดินทางไกลกว่านั้นอีก ท่านเดินทางไปยังซานาในเยเมนด้วยการเดินเท้า ท่านเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จำนวนห้าครั้ง สามครั้งในนั้นด้วยการเดินเท้า ท่านเดินทางครั้งเเล้วครั้งเล่า จนกระทั่งเท้าท่านมีรอยเเตก ท่านต้องเจอกับสภาวะอากาศที่เเย่ เเละภูมิประเทศที่เปลี่ยนเเปลงตลอด รอบๆ ตัวท่าน ในขณะที่ท่านเดินทางจากเมืองหนึ่ง ไปยังอีกเมืองหนึ่ง ท่านพยายามออกไปเเสวงหาความรู้ทั้งๆ ที่มันยากลำบาก เพื่อเเสวงหาสุนนะฮ์ฺของท่านนบี-ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม-ผ่านสายรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ท่านฮาฟิซ อะหมัด อิบนุ อิบรอฮิม อัดเดารอฆี(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.246) พูดกับอิหม่ามอะหมัดว่า “โอ้ อบูอับดิลละฮ์เอ๋ย ท่านได้พาตัวเองไปตรากตรำ ในการเดินทางไปพบอับดุรรอซซ้ากครั้งนี้” อิหม่ามอะหมัด ตอบเขาไปว่า “ความลำบากมันน้อยมาก เมื่อเทียบสิ่งที่ฉันได้รับจากอับดุรรอซซ้าก(อัซซานาอี)” ความทุกข์ยากดูเหมือนจะทุเลาลงหากท่านได้ในสิ่งที่ต้องการ เเละไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใว้ เเละท่านก็บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใว้ ท่านได้สายรายงานที่สั้นที่สุดถึงท่านนบี ท่านกล่าวว่า “ฉันได้บันทึกจากท่านอับดุรรอซซ้าก(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.211) หะดีษของท่านรับจากท่านอัซซูฮ์รี(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.124) จากท่านซาลิม อิบนุ อับดิลลาหฺ(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.106)จากบิดาของท่าน(ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมั้ร) และฉันได้รับจากท่านอีกหะดีษหนึ่งเป็นหะดีษของท่านอัซซูฮ์รีจากท่านซาอี้ด อิบนุ อัลมุซัยยิบ(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.94)จากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์(รอฎิยันลอฮุันฮุ)
ท่านอะหมัด อั้ดดาวรอฆี กล่าวว่า “เมื่ออะหมัด อิบนุฮัมบัล กลับมาจากการเดินทางไปหาท่านอับดุรรอซซ้าก ฉันเห็นท่านดูทรุดโทรมลง ตอนที่ท่านอยู่มักกะฮ์ ท่านรู้สึกเหนื่อยล้าเเละอ่อนเเออย่างชัดเจน ฉันได้สนทนากับเขา เเละเขากล่าวว่า “(ความเหนื่อยล้าครั้งนี้) มันเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับคุณประโยชน์ที่เราได้รับจากอับดุรรอซซ้าก”
ท่านเดินทากไปยังเมืองซานาเพื่อบันทึกหะดีษของชายสองคนคือ ท่านซาลิม อิบนุ อับดุลลอฮ์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.106) ที่รายงานจากท่านอิบนุอุมัร และท่านซาอี้ด อิบนุ มุซัยยิบ(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.94)ที่รายงานจากท่านอบูฮูรอยเราะฮ์ สิ่งนี้ทำให้ท่านรู้สึกปราบปลื้มใจ เเละภูมิใจเป็นอย่างมาก เเละยิ่งไปกว่านั้น คือการที่ท่านได้รับรายงานหะดีษจากสองปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่นี้ มันทำให้การเดินทางในครั้งนี้คุ้มค่าที่สุด อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า “ความยากลำบากในการเดินทางจากเเบกเเดดไปยังซานาในเยเมนนั้น เป็นเเค่เรื่องเล็กน้อย” นี่แหล่ะคือความมุ่งมั่นของท่าน
เมื่ออิหม่ามอะหมัด เเละท่านยะฮ์ยาอิบนุมาอีนไปทำฮัจย์ พวกเขาตั้งใจว่าจะไปทำฮัจย์เเล้วเดินทางไปยังเยเมนเพื่อพบท่านอับดุรรอซซ้าก และบันทึกหะดีษจากท่าน เเต่ในปีนั้นท่านอับดุรรอซซ้าก-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-ได้ไปทำฮัจย์เช่นกัน อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า “เราเริ่มออกไปเตาวาฟ เเละเราเห็นท่านอับดุรรอซซ้ากในเตาวาฟ ยะฮ์ยาจำเขาได้ เพราะเขารู้จักท่านมาก่อน” ส่วนฉันไม่รู้ว่าเป็นเขา เพราะฉันไม่เคยเจอเขามาก่อน” ท่านกล่าวต่อไปว่า “เเล้วเราก็เดินเตาวาฟ ส่วนเขาก็เดินเตาวาฟ เเละเมื่อเขาเสร็จสิ้นเเละหยุดตรงที่มะกอม(ของอิบรอฮีม),ละหมาดเเละนั่งลง เมื่อเราทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย เราจึงเดินไปหาท่าน ยะฮ์ยาได้ให้สลามท่านเเละกล่าวว่า “นี่พี่น้องของท่าน อะหมัดอิบนุฮัมบัล” เเล้วท่านก็ทักทายเเละให้สลามกับเขา เเละท่านได้กล่าวว่า “ขออัลลอฮ์ทรงประทานให้ท่านมีอายุยืนยาว ฉันไม่เคยได้ยินสิ่งใดเกี่ยวกับท่าน นอกจากสิ่งที่ทำให้ฉันมีความสุข” เเล้วเขาก็นำทั้งสองมานั่งคุยกันชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นก็ลุกขึ้น ทันใดนั้นท่านยะฮ์ก็พูดกับท่านว่า “
“เราสามารถนัดเจอกับท่านได้อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ อินชาอัลลอฮ์” เมื่อท่านอับดุรรอซซ้ากจากไป อิหม่ามอะหมัด ก็พูดกับท่านยะฮ์ยาว่า “เหตุใดท่านต้องนัดหมายกับเชค” ท่านยะฮ์ยากล่าวว่า “เราสามารถพบกับท่านได้อีกครั้ง เพื่อรับหะดีษเเละจดบันทึกจากท่าน อัลลอฮ์ทรงเมตตาต่อเรา มันลดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการเดินทางไปยังซานาเเละขากลับอีกหนึ่งเดือน ฉะนั้น นี่คือซอดาเกาะฮ์จากอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงประทานเเก่ท่าน” อิหม่ามอะหมัดจึงตอบกลับไปว่า “อัลลอฮ์ไม่ใช่ผู้ที่ต้องการสิ่งนี้ เเท้ที่จริงฉันได้ตั้งเจตนาเพื่อพระองค์เเล้ว ดังนั้นฉันจะไม่เปลี่ยนเเปลงมัน ฉันจะไม่รับสายรายงานจากท่านเว้นเเต่จากเมืองซานาเท่านั้น
หลังจากนั้น ท่านก็ออกเดินทางไปยังเมืองซานา เเละท่านต้องประสบกับความยากลำบากในการเดินทางครั้งนั้น จนได้พบกับท่านอับดุรรอซซ้าก อัสซานาอี อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงบันทึกหะดีษจากท่าน เเละยังมีความเห็นต่างเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทำฮัจญ์ มีรายงานหนึ่งระบุว่า อิหม่ามอะหมัด มุ่งตรงไปยังเมืองซานาทันทีหลังจากทำฮัจญ์ เเละอีกรายงานระบุว่าท่านเดินทางกลับไปยังเมืองเเบกเเดดก่อน เเละพำนึกที่นั่นไม่นาน เเล้วจึงออกเดินทางไปยังเมืองซานา เเละนี่เป็นสำนวนของอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์(้เสียชีวิตในปีฮ.ศ.458) และดูเหมือนว่าจะถูกต้องกว่า ประเด็นนี้คืออิหม่ามอะหมัด ตั้งเจตาออกเดินทางเเสวงหาความรู้ เพื่ออัลลอฮ์ ในการเเสวงหาหะดีษของศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม จากท่านอับดุรรอซซ้ากในเมืองซานา ท่านไม่ต้องการควบเจตนาในการเดินทางครั้งนั้นร่วมกับการทำฮัจย์ เเต่ท่านมีเจตนาเเยกต่างหากเพื่อออกเดินทางเเสวงหาความ ณ เมืองซานา ดังนั้น เจตนาของท่านจึงบริสุทธิ์เเละสมบูรณ์
มีใครบ้างที่จะทำแบบนี้ โอ้พี่น้องทั้งหลาย? อุปนิสัยเช่นนี้ที่เกิดขึ้นในหัวใจ เเละอัลลอฮ์ทรงยกระดับผู้ที่มีหัวใจเช่นนี้ เเละทรงวางเขาใว้ในตำเเหน่งอันสูงส่ง อัลลอฮ์ทรงยกเกียรติเขาด้วยกับอุปนิสัยดังกล่าว เเละในโลกหน้า อินชาอัลลอฮ์ เขาก็จะได้อยู่กับพระองค์-ผู้ทรงสูงส่ง- ในสถานะที่ยิ่งใหญ่กว่า, อิหม่ามได้ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนเเปลงความตั้งใจนี้จากท่านยะฮ์ยา อิบนุมาอีน
ท่านเราะซูลุลลอฮ์-ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า
كَثِيرِ بْنِ قَيْسٍ، قَالَ كُنْتُ جَالِسًا مَعَ أَبِي الدَّرْدَاءِ فِي مَسْجِدِ دِمَشْقَ فَجَاءَهُ رَجُلٌ فَقَالَ يَا أَبَا الدَّرْدَاءِ إِنِّي جِئْتُكَ مِنْ مَدِينَةِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم لِحَدِيثٍ بَلَغَنِي أَنَّكَ تُحَدِّثُهُ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مَا جِئْتُ لِحَاجَةٍ . قَالَ فَإِنِّي سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ
مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَطْلُبُ فِيهِ عِلْمًا سَلَكَ اللَّهُ بِهِ طَرِيقًا مِنْ طُرُقِ الْجَنَّةِ وَإِنَّ الْمَلاَئِكَةَ لَتَضَعُ أَجْنِحَتَهَا رِضًا لِطَالِبِ الْعِلْمِ وَإِنَّ الْعَالِمَ لَيَسْتَغْفِرُ لَهُ مَنْ فِي السَّمَوَاتِ وَمَنْ فِي الأَرْضِ وَالْحِيتَانُ فِي جَوْفِ الْمَاءِ وَإِنَّ فَضْلَ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ لَيْلَةَ الْبَدْرِ عَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ وَإِنَّ الْعُلَمَاءَ وَرَثَةُ الأَنْبِيَاءِ وَإِنَّ الأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوا دِينَارًا وَلاَ دِرْهَمًا وَرَّثُوا الْعِلْمَ فَمَنْ أَخَذَهُ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ
รายงานจากกะษีร บิน ก็อยซฺ กล่าวว่า “ครั้งหนึ่งในขณะที่ฉันนั่งอยู่กับท่านอบูดั้รดาอฺ ณ มัสยิดเเห่งกามัชกัสนั้น มีชายผู้หนึ่งได้เดินมาหาเขาพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้อบูดั้รดาอฺ ฉันมาจากเมืองของท่านเราะซูลุลลอฮ์ เพียงเพราะหะดีษบทหนึ่งที่ถูกเล่ามายังฉันโดยกล่าวกันว่าท่านเป็นผู้รายงายมากจากท่านเราะซูลุลลอฮ์อีกที ฉันไม่มีเจตนาอื่นใดเลยนอกจากเรื่องนี้เท่านั้น” อบูดั้รดาอฺ จึงกล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ อัลลอฮ์จะทรงประทานความง่ายดายแก่เขาซึ่งเส้นทางสู่สวรรค์ และบรรดามลาอิกะฮ์ต่างลดปีกของพวกเขาลงด้วยความพึงพอใจอย่างเเก่ผู้เเสวงหาความรู้ สรรพสิ่งทั้งอยู่ในชั้นฟ้าเเละเเผ่นดิน แม้เเต่ปลาในท้องทะเล ต่างขออภัยโทษให้เเก่ผู้เเสวงหาความรู้ และความประเสริฐของผู้เเสวงหาความรู้นั้นเหนือกว่านักอิบาดะฮ์ เสมือนดวงจันทร์ในค่ำคืนที่ส่องสว่างเหนือหมู่ดาวบนฟากฟ้า เเท้บรรดาผู้รู้(อุลามะอ์) คือผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบี และบรรดานบีมิได้ทิ้งดินารฺและดิรฮัมใว้เป็นมรดก แต่บรรดานบีได้ทิ้งความรู้ใว้เป็นมรดก ดังนั้นผู้ใดที่รับความรู้นั้นเอาใว้ ก็ถือว่าได้ลาภอันมากล้นเเล้ว” (สุนันอบูดาวูด 3641, เชคอัลบานีย์รับรองว่าหะดีษนี้เศาะฮีฮ์)
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ บรรดาปราชญ์เเห่งหะดีษจากดินเเดนต่างๆ ล้วนทราบถึงความดีและสถานะอันสูงส่งของอิหม่ามอะหมัด พวกเขาต่างยกย่องชมเชยเเม้ไม่เคยเจอท่านมาก่อน จึงมีคำพูดมากมายจากบรรดาปราชญ์,ฮุฟฟาซ ในดินเเดนต่างๆ ที่ยกย่องสรรเสริญอิหม่ามอะหมัด เเม้แต่บรรดาสหายใกล้ชิดของท่าน-รอฮิมะฮุมุ้ลลอฮ์-
มีรายงานหนึ่ง รายงานจากชายผู้หนึ่งที่อยู่กับท่านอิสมาอีล อิบนุอุลัยยะฮ์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.193) ในการสอนของท่าน เมื่อมีบางคนได้ออกความเห็นจนทำให้ผู้อื่นในวงล้อมนั้นเกิดหัวเราะ ซึ่งในนั้นมีอิหม่ามอะหมัดร่วมฟังอยู่ด้วย-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-เมื่อท่านอิสมาอีล อิบนุอุลัยละฮ์เห็นเขาอยู่ในวงสนทนานั้น ท่านจึงโมโหเเละกล่าวว่า “ท่านหัวเราะฺในวงล้อม[เเห่งความรู้] ซึ่งในนั้นมีอะหมัดนั่งร่วมอยู่ด้วยกระนั้นหรือ?” หมายถึง มันไม่ถูกต้องที่ท่านเเสดงพฤติกรรมเช่นนี้ต่อหน้าชายผู้นี้ เพราะเหตุใด? เพราะท่านรู้ว่าเขาเป็นคนไม่ชอบการล้อเล่น ,เขาเป็นคนเอาจริงเอาจัง เเละตั้งใจเเน่วเเน่ -เขาคือชายผู้ละทิ้งความเพริดเเพร้วของดุลยา-แม้การหัวเราะจะนำมาซึ่งความรื่นเริงใจ อย่างไม่ต้องสงสัย เเต่บางครั้งการหัวเราะมากไปจะทำให้หัวใจตายด้าน เเละอิหม่ามอะหมัดท่านเป็นคนที่จริงจัง
ดังนั้น ท่านอิสมาเเอล อิบนุุอุลัยละฮ์-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-จึงเริ่มโมโหเเละกล่าว่วา “ท่านหัวเราะฺในวงล้อม[เเห่งความรู้]ที่มีอะหมัดนั่งร่วมอยู่ด้วยกระนั้นหรือ?” ซึ่งท่านก็คือคนที่อิหม่ามอะหมัดเคยพูดว่า “ฉันพลาดที่จะพบกับฮัมม้าด อิบนุซัยด์ และอัลลอฮ์ก็ทดเเทนเขาด้วยอิสมาอีล อิบนุ อุลัยละฮ์” นี่คือการปฏิบัติของปราชญ์ ที่มีต่อลูกศิทย์ของเขา เเต่จะมีใครบ้างที่ได้รับการปฏิบัติเหมือนกับอิหม่ามอะหมัด
ทุกวันนี้ เมื่อท่านนั่งในวงล้อมเเห่งความรู้(ด้าร) ยังมีนักศึกษาบางคนนั่งคุยโทรศัพท์ เเละตอบข้อความ โดยที่เขาไม่รู้ว่าอาจารย์สอนอะไรไปแล้วบ้าง ดังนั้นหากท่านต้องการให้ผู้สอนเห็นคุณค่าเเละความประเสริฐของท่าน ท่านก็ต้องให้คุณค่าต่อความรู้ที่กำลังถูกสอนอยู่ต่อหน้าท่านเช่นกัน นี่คือท่านอิสมาอีล ผู้ที่อิหม่ามอะหมัดให้เกียรติเป็นผู้ทดเเทนของท่านฮัมม้าด อิบนุซัยด์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.179) และท่านก็ให้เกียรติต่ออิหม่ามอะหมัดเช่นกัน เพราะอะไร? ก็เพราะอิหม่ามอะหมัด ให้เกียรติในวงศึกษาความรู้ของท่าน และเห็นคุณค่าของมัน ท่านไม่เคยทำเป็นเรื่องตลก ท่านไม่เคยเห็นพวกเขานอกจากในวงสนทนาที่เอาจริงเอาจัง ยิ่งไปกว่านั้น เชคของท่านไม่ชอบให้การตลกโบกฮาเกิดขึ้นในวงสนทนาของท่าน ถึงเเม้การตลกเฮฮานั้นเป็นที่อนุญาต และไม่ถือเป็นบาปก็ตาม ท่านคอลัฟ อิบนุซาลิม-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์- กล่าวว่า “เราเคยอยู่ในวงล้อมเเห่งความรู้ที่มียาซี้ด อิบนุฮารูน (เสียชีวิตในปีฮ.ศ.206)..” ซึ่งท่านยาซี้ด อิบนุฮารูน เป็นทั้งนักท่องจำ เเละเป็นปราชญ์ผู้เลื่องลือ “เเละยาซี้ดเกิดหัวเราะกับผู้ที่กำลังอ่านหะดีษให้เชคของเขาฟัง เเล้วก็มีเสียงกระแอมของอิหม่ามอะหมัดดังขึ้น เเต่ยาซี้ดก็ไม่สนใจ หรือมองไปยังท่าน เเต่เขากลับกล่าวว่า “เสียงใครเมื่อสักครู่?” ผู้คนในนั้นต่างพูดขึ้นมาว่า “อะหมัดอิบนุฮัมบัล” ดังนั้น ท่านยาซี้ด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์- จึงพูดว่า “ทำไมพวกท่านถึงไม่บอกฉันว่ามีท่านอะหมัดบินฮัมบัลมานั่งเรียนอยู่ด้วย เพื่อที่ฉันจะได้ไม่ทำเล่นแบบนี้? ท่านพูดไปพร้อมกับเอามือตีหน้าฝากตัวเอง” ทำไมนะหรือ? อีกครั้ง ก็เพราะเขาทราบดีถึงเกียรติของอิหม่ามอะหมัดในวงชุมนุมเเห่งความรู้ เเละพวกเขาให้เกียรติ และให้ความเคารพต่อหะดีษของท่านนบี-ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม-
ดังนั้น เราจะไม่เห็นพวกเขาเว้นเเต่ในวงศึกษาความรู้ที่เคร่งเครียด ปราศจากความสนุกสนานเเละตลกเฮฮา เเละเป็นวงสนทนาที่มีแต่ความยำเกรง,ความเคารพ, ความสงบสุขุม เเละให้เกียรติต่อหะดีษของท่านนบี-ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม-อิหม่ามอัชชาฟิอีย์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.204) กล่าวว่า “ฉันไม่เห็นใครที่ฉลาดปราดเปรื่องมากไปกว่าชายสองคนนี้ : สุลัยมาน อิบนุดาวู้ด อัลฮาชิมีย์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.219) เเละอะหมัด อิบนุฮัมบัล” และเมื่อคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ เข้ามาในวงชุมนุม ผู้คนต่างก็ต้องเกรงกลัวพวกเขา – เเละในที่ชุมนุมนั้นก็จะห้อมล้อมไปด้วยความเกรงกลัวเเละความสุขุม นั้นก็เพราะต่างก็รู้ว่าในวงชุมนุมนั้นมีชายสองคนดังกล่าว -รอฮิมะฮุมุ้ลลอฮ์- มีผู้ที่มีความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ต้องให้เกียรติเเละให้ความเคารพ ท่านอะหมัด อิบนุซินาน(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.256) กล่าวว่า “ฉันไม่เห็นท่านยาซี้ด อิบนุฮารูน ให้ความเคารพใครมากไปกว่าอะหมัด อิบนุฮัมบัล,และฉันไม่เคยเห็นท่านให้เกียริตใครมากไปกว่าอะหมัด อิบนุฮัมบัล ฉันจะให้เขานั่งถัดจากท่าน” หมายความว่า เมื่ออะหมัดเข้ามายังวงล้อมเเห่งหะดีษ ท่านก็ได้นั่งถัดจากเขา “เเละฉันไม่เคยเห็นท่านนับถือใครมากกว่าอะหมัด และท่านจะไม่ล้อเล่นกับเขา“
เมื่อท่านนั่งร่วมกับเชคของท่าน อย่าได้ทำเล่นต่อหน้าพวกเขา พวกเขาไม่เคยตลกเฮฮาต่อหน้าอะหมัด เพราะพวกเขาให้เกียรติท่าน เมื่ออะหมัดป่วย ท่านยาซี้ดอิบนุฮารูน ได้ไปเยี่ยมท่าน อะหมัดก็ถูกถามเกี่ยวกับสิ่งนี้ว่า “เหตุใดท่านยาซี้ดถึงต้องมาเยี่ยมท่าน เขาเป็นถึงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่ท่านเป็นเพียงลูกศิทย์ของเขา” อะหมัดจึงตอบว่า “ฉันอยู่กับเขาในเมืองวาสิฏ และฉันจะนั่งใกล้กับเขายามทีเขาอ่านสายรายงานหะดีษ และเขารู้จักฉัน”
หมายถึง เชครู้จักหน้าค่าตาเขา “มีอยู่วันหนึ่งเขาพูดว่า “ยะฮ์ยา อิบนุซาอี้ด รายงานมายังเรา กล่าวว่า “ฉันได้ยิน(ซามิอฺตุ) ซาลิม อิบนุ อับดิลลาหฺ(อิบนุ อุมั้ร)…” เเล้วฉันก็ทักเขาว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องกล่าวว่า “ยะฮ์ยา อิบนุ ซาอี้ด กล่าวว่า (อันนา)ซาลิม รายงานว่า…” เเล้วท่านยาซี้ด อิบนุ ฮารูน กลับไปที่บ้านของเขา เเละเปิดดูหนังสือของตัวเอง เเละในนั้นเขียนว่า “ยะฮ์ยา อิบนุซาอี้ด กล่าวว่า ” (อันนา)ซาลิม รายงานว่า…” ไม่ได้เขียนว่า “ยะฮ์ยา อิบนุซาอี้ด กล่าวว่า ฉันได้ยิน(สะมิอฺตุฮ์)”
ดังนั้น หากสายรายงานนั้นไม่ได้ระบุว่ายะฮ์ยา อิบนุซาอี้ด “ได้ยินจาก” เเต่มันควรจะเป็น “ยะฮ์ยาอิบนุ ซาอี้ด กล่าวว่า ซาลิม รายงานว่า…” ซึ่งอาจให้ความหมายว่ายะฮ์ยา อินบุซาอี้ด ได้ยินจากซาลิม อิบนุ อับดิลลาฮ์ หรืออาจจะหมายถึงเป็นสายรายงานที่ขาดตอน ดังนั้น อิหม่ามอะหมัด ไม่ยอมรับว่ายะฮ์ยา อิบนุ ซาอี้ด รับหะดีษโดยตรงจากท่านซาลิม อิบนุ อับดิลลาฮ์ และนั้นทำให้อิหม่ามอะหมัดทักท้วงไปว่า “มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ” ท่านยะยาฮ์ อิบนุ ฮารูน จึงถามลับไปว่า “ทำไมถึงไม่ใช่อย่างนั้นหละ?” อิหม่ามอะหมัดตอบว่า “ยะฮ์ยา อิบนุ ซาอี้ด กล่าวว่า : อันนา(จาก)ซาลิม รายงานว่า…”
ทำให้ท่านยาซี้ดต้องกลับไปที่บ้านของท่าน เเละนำมาหนังสือออกมาเปิดดู เเละพบว่าเป็นดังที่อะหมัดได้พูดไป เเล้วท่านก็กลับไปยังที่สอนของท่านเเละถามว่า “ใครเป็นผู้ทักท้วงฉัน?” ท่านแค่รู้หน้าตาว่าเป็นใครเเต่ต้องการรู้จักชื่อ พวกเขาก็ตอบว่า “อะหมัด อิบนุฮัมบัล” ท่านจึงกล่าวว่า “เปลี่ยนเเปลงตามที่เขาพูด,เเละบันทึกไปตามที่เขาพูด เขาพูดถูกต้องเเล้ว” ภายหลังจากนั้นทุกครั้งที่มีการพูดถึงสายรายงานหะดีษ ท่านจะดึงอิหม่ามอะหมัดเข้ามานั่งใกล้ๆ เเละกล่าวว่า “บุตรของฮัมบัลเอ๋ย มา,มานั่งใกล้ๆ ฉัน ตรงนี้” กระทั่งท่านให้เขานั่งถัดจากท่าน เนื่องจากความจำอันน่าทึ่งของอิหม่ามอะหมัด และความเม่นยำในการจดจำสายรายงานของท่าน รวมถึงกิริยามารยาทที่สุภาพในการทักท้วงเชคของเขา เเละไม่ทำตลกเฮฮาต่อหน้าท่าน เเละท่านจะไม่ให้เกียรติใครเหมือนที่ให้เกียรติอิหม่ามอะหมัด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีพูดถึงมากกมาย เเม้หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับอิหม่ามอะหมัด ก็ไม่สามารถยกตัวอย่างมาได้หมด หนังสือที่อาจจะสาธยายเกี่ยวกับท่านได้ดีที่สุด ได้เเก่ หนังสือตาริค อิบนุ อะซากิ้ร ,เช่นหนังสือตาริค ดิมัชกฺ ซึ่งเขียนชีวประวัติอันยืดยาวของท่าน รวมทั้งงานเขียนของท่านอิบนุ เญาซีย์
ที่มา: https://abukhadeejah.com/benefits-in-the-manhaj-by-studying-the-life-and-legacy-of-the-imam-of-ahlus-sunnah-ahmad-ibn-hanbal-161ah-241ah/
[อ่านต่อตอนที่ 3/10]