เสริมความรู้ด้านมันฮัจญ์ ผ่านชีวประวัติของอิหม่ามอะหมัด อิบนุฮัมบัล, อิหม่ามเเห่งอะลุสสุนนะฮ์ (ปีฮ.ศ.161-241)ตอนที่ 3/10
จากอรรธถาธิบาย หนังสืออูศู้ลลุสสุนนะฮ์ ของอิหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮัมบัล
โดยอบูคอดียะฮ์ อับดุลวาฮีด จากมักตะบะฮ์สะละฟียะฮ์
แปลโดย อบูจัสมิน
[20 กุมภาพันธ์ 2565]
ตอนที่ 3
ในตอนนี้, เราจะพูดถึงความจำ ความรู้ ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และความเเม่นยำของท่าน. ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อิหม่ามอะหมัด ได้ยกคำพูดของท่านอบู ซูรอ่ะฮ์ อัรรอซีย์(เสียชีวิตในปีฮ.ศ.264) ท่านเคยกล่าววถึงอิหม่ามอะหมัดว่า “อะหมัด อิบนุฮัมบัล จดจำหนึ่งล้านหะดีษ” มีคนถามว่า “ท่านทราบได้อย่างไร?” ท่านตอบว่า “เมื่อฉันระบุหัวข้อต่างๆ เเก่เขา ,ในเเต่ละหัวข้อนั้น เขาสามารถบอกได้ว่ามีหะดีษใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันเเล้ว มันจะได้หนึ่งล้านหะดีษ” เจตนาตรงนี้เพื่อจะบอกว่า สายรายงาน อาจมีซ้ำกันในหนึ่งหะดีษ หากหะดีษหนึ่งมีหนึ่งร้อยสายรายงาน ก็สามารถนับได้เป็นหนึ่งร้อยหะดีษ
ดังนั้น หนึ่งมะตัน สามารถรวบรวมได้เป็นหกสิบหรือเจ็ดสิบบท ซึ่งประกอบด้วยสายรายงานนับร้อยสาย, ท่านอัลบ้ารฏออีย์ -ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์- พูดกับท่านอบู ซุรอ่ะฮ์ (เสียชีวิตในปีฮ.ศ.264) ว่า “, เเล้วระหว่างท่านกับอิหม่ามอะหมัด ใครมีความจำดีเลิศมากกว่า” ท่านตอบว่า “อะหมัด อิบนุฮัมบัล” เขาจึงถามว่า “ท่านทราบได้อย่างไร?” ท่านอบูซูรอ่ะฮ์ตอบว่า “ทราบจากหนังสือของอะหมัด อิบนุฮัมบัล มันจะไม่ถูกกล่าวในตอนเริ่มต้นของเเต่ละส่วน(อัจซะฮ์)ว่า “นี่เป็นหะดีษรายงานจากคนนั้น คนนี้ หรือจะไม่กล่าวในช่วงเริ่มต้นว่า คนนั้น คนนี้้ รายงานมายังเรา”
หมายถึง: ท่านจะเเบ่งส่วนใว้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ส่วนนี้จากอิบนุ ชามุกฮ์,ส่วนนี้จากมุตัยยัด,ส่วนนี้จากท่านอบู นาอีม ฟาฏิ้ล อิบนุ ดุกัยร์ (ทั้งหมดคือผู้รายงานหะดีษ) – ดังนั้น มันจะไม่ปรากฏในตอนต้นของเเต่ละหะดีษว่า “หะดีษนี้รายงานจากคนนั้น คนนี้” อีกทั้งในเเต่ละส่วน จะไม่มีการระบุสถานะของผู้รายงาน ว่ารายงานจากคนนั้น คนนี้, ฮัดดะซะนา หมายถึง คำที่ใช้อ้างถึงผู้รายงานหะดีษเเต่ละท่านย้อนกลับไปถึงท่านนบี-ศ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม-
ท่านอบูซูรอะฮ์ กล่าวว่า “อะหมัดจดจำสิ่งนี้ทั้งหมดเเละฉันไม่มีความสามารถทำสิ่งนั้นได้” จึงจำเป็นต้องเขียนในช่วงเริ่มต้นเเต่ละบทว่าหะดีษนี้รายงานจาก…” ซึ่งมีโอกาสเกิดความสับสน เเละปะปน กันได้ เเต่อะหมัดรู้สิ่งนี้เเละรู้ว่าผู้รายงานคือใคร เเละอยู่ในส่วนใหน ท่านจะไม่เขียนว่า “ฮัดดะซะนา..อักรอบาต…” – ท่านรู้เเละจำได้ว่าหะดีษเหล่านี้ มาจากเชคของท่าน ท่านใหน ดังนั้น ท่านสามารถบันทึกจากเชคของท่านได้ ท่านอบูซู้รอะฮ์-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์-กล่าวว่า “ฉันไม่สามารถทำแบบนั้นได้” หมายถึง หากผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งฉันอาจจะลืมว่าฉันรับหะดีษนั้นมาจากใคร” แต่สำหรับอะหมัด-ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์- เขาสามารถจดจำมันได้ทั้งหมด ท่านอบู ซู้รอ่ะฮ์ ยังได้เล่าอีกว่า “หนังสือเเละงานเขียนต่างๆ ของอิหม่ามอะหมัด หากนำมาประเมินค่า ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว พวกเขาจะพบว่ามันสามารถบรรจุเต็มอานหลังม้าได้ถึงสิบสองตัว เเละอะหมัดสามารถจดจำมันได้ทั้งหมด” นี่คือความประเสริฐของท่านในด้านความจำเเละความเเม่นยำ ที่ควบคู่ไปกับด้านฟิกฮและความเข้าใจของท่าน
ที่มา: https://abukhadeejah.com/benefits-in-the-manhaj-by-studying-the-life-and-legacy-of-the-imam-of-ahlus-sunnah-ahmad-ibn-hanbal-161ah-241ah/
[อ่านต่อตอนที่ 4/10]