ความเป็นมาของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน โดยสรุป
ทำไมหลายประเทศจึงขี้นบัญชีเป็นพวกก่อการร้าย
โดยดร.อบูอิยาด อัมจ้าด รอฟิก
[https://www.abuiyaad.com]
แปลโดย อบูจัสมิน [ 20 มีนาคม 2564 ]
หะซัน อัลบันนา ได้ก่อตั้งกลุ่มอิควานอัลมุสลิมูนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1928 ในเมืองอิสมาอิลียะฮ์ หลังจากเขาเรียนจบจากด้ารอั้ลอุลูม เมืองไคโร ประเทศอิยิปต์ เขาได้ใช้เวลาหนึ่งปีก่อนนั้นไปกับการพบปะผู้คนตามร้านกาเเฟ เพื่อโน้มน้าวผู้คน เผยเเพร่อุดมการณ์ของเขา จากนั้นมีกรรมกรหกคน มาพบเขา และเรียกร้องให้เขาจัดตั้งองค์กร, โดยที่อัลบันนาบอกให้พวกเขากล่าวคำสัตยาบรรณ ต้องเชื่อฟังเขาทุกอย่าง ครั้นเวลาผ่านไป 7 ปี กระทั่งในปี ค.ศ.1935 เขายังคงใช้ภาพลักษณ์ของนักทำงานศาสนาเพื่อเป็นปลุกระดมผู้คน , โดยมีผู้ร่วมอุดมการณ์จำนวนไม่มากนัก เขาจึงเริ่มใช้วิธีการออกปราศรัยตามท้องถนน.
ในปี ค.ศ.1935 นี้ เป็นปีที่อัลบันนาเริ่มจัดตั้งองค์กรลับและกองทหารอาสา รวมทั้งหน่วยสอดเเนม(อัล-ญิฮ้าซ อัลซี้รรีย์) ที่พร้อมรับฟังคำสั่งของเขา และยังได้ก่อตั้งกลุ่มเยาวชนเเนวหน้า เพื่อออกเคลื่อนไหว โดยมีหน่วยสอดเเนม เเละกองกำลังอาสา อำพรางอยู่เบื้องหลัง. นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งหน่วยลับ เพื่ออำพรางไปกับผู้คนทั่วไป โดยทุกหน่วย พร้อมรับทุกคำสั่งเเละยอมทำงานให้แบบถวายหัว จากหะซัน อัลบันนา ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่จัดตั้งโดยหะซัน อัลบันนานี้ ล้วนมีรูปแบบมาจากคอมมิวนิสต์ และสมาคมลับฟรีเมสัน
เมื่อกลุ่มของเขาเริ่มมีความเข้มเเข็ง อัลบันนา เริ่มเชื้อเชิญบรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ มาเข้าร่วม โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบตำแหน่งผู้นำให้ แต่หากพวกเขาปฏิเสธเข้าร่วม ก็จะต้องได้รับความอัปยศ เเละตกต่ำ จะต้องถูกบอยคอต จากนั้นเพียงไม่นาน เจ้าหน้าที่ทางการเริ่มมองว่าเขาเป็นภัยคุกคามต่อรัฐ
เมื่อสิ่งที่เขาต้องการกลับไม่ได้รับการตอบสนอง เขาจึงเริ่มให้สัญญานเเก่ทุกหน่วยของเขาทั้งหมดว่า ถึงเวลาเเล้วที่ต้องเริ่มดำเนินการตามเเผนที่วางไว้ (เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ) จำเป็นที่จะต้องตระเตรียม เเละบังคับใช้กฏเกณฑ์ต่างๆ ของกลุ่ม ใครที่ต้องการถอนตัวออกจากญะมาอะฮ์ก็ต้องถูกคุกคาม และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ส่วนใครก็ตามที่ให้ความร่วมมือ ก็จะถือว่าเป็นผู้ศรัทธา, เเละมีอิหม่านที่สมบูรณ์
ในปี ค.ศ.1942 อัล-บันนา เริ่มลงสมัครเลือกตั้งในสภาผู้เเทนราษฏร เเต่ถูกร้องขอโดยนายกรัฐมนตรี,มุสฏอฟา เอล นาฮาส ให้ถอนตัวออกจากการลงสมัครเลือกตั้ง เพื่อเเลกเปลี่ยนกับข้อเสนอของเขาให้ดำเนินกิจกรรมในนามการดะวะฮ์ อัลบันนา ตอบตกลง เเละได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมของเขาต่อไป.
ในปี ค.ศ. 1944 เขาลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้ง ในฐานะผู้สมัครสภาผู้เเทนราษฏร, แต่ได้รับการร้องขอให้ถอนตัวอีกครั้ง โดยนายกรัฐมนตรีของอิยิปต์คนถัดมา, อาหมัด มาเฮอร์, ที่ตอนนั้นเป็นพันธมิตรกับอังกฤษต่อต้านพรรคนาซีของเยอรมัน สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มอิควานเป็นอย่างยิ่ง แต่ครั้งนี้อัลบันนาไม่ยอมถอนตัว
แต่กลุ่มอัลอิควานก็พ่ายเเพ้ต่อการเลือกตั้งจากการลงสมัครทั้งหมดสิบเจ็ดเขตพื้นที่ ในการเเย่งชิงตำแหน่งที่นั่งในสภา. จากนั้นเขาก็วางเเผนลอบสังหารอาหมัด มาเฮอร์(ประธานาธิปดี) และทำสำเร็จ
ในปี ค.ศ.1945. มะฮ์มูด ฟะฮ์มี อัลนัฆรอชี ขึ้นมายึดอำนาจเเทน, และเริ่มทำการกวาดล้างพวกอิควาน ,หะซันอัลบันนา สมาชิกกลุ่มอิควานทั้งหมดถูกจำคุก. ต่อมาได้รับการปล่อยตัวโดยอัยการสูงสูด.
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง, กลุ่มอิควานก็หันมาใช้วิธีการที่รุนเเรงต่อกรกับภาครัฐอย่างเปิดเผย หะซัน อันบันนา เริ่มปลุกระดมผู้ร่วมอุดมการณ์ของเขาด้วยคำปราศรัยที่แข็งกร้าว เพื่อให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลอิยิปต์.
ในปีค.ศ 1946. พวกเขาก็เริ่มวางระเบิดหลายเเห่งในเมืองไคโร. อะหมัด อัล คาซินด้าร ผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์ ถูกลอบสังหารในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1948 โดย อับดุรรอฮ์มาน อัสซินดี ซึ่งเป็นหน่วยลับของกลุ่มอิควาน เพราะเขาทำงานเป็นปฏิปักษ์ต่อกลุ่มอิควาน. อัลบันนาเเสดงท่าทีออกมาประนามการลอบสังหารครั้งนี้อย่างเปิดเผย เนื่องจากการลอบสังหารครั้งนี้เป็นการละเมิดคำสั่งของกลุ่ม และอัลซินดีทำไปโดยพละการ เขาเองคิดว่าได้รับอนุมัติจากหะซัน อัลบันนา เเล้ว แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น. ดังนั้น อัลบันนา จึงออกมาประนามการฆาตรกรรมนี้อย่างเปิดเผย ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หนึ่ง นี่ก็คือหนึ่งในกลยุทธ์การเมืองของมาเกียวิเลี่ยน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของพวกบะตินีย์(องค์กรลับ) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้ต่อประชาชน ให้ไม่เกิดภาพลักษณ์ในทางลบ หรือเกิดมลทินในช่วงที่องค์กรเริ่มเเพร่หลาย.
จากนั้น ในปี ค.ศ. 1948 เนื่องจากกลุ่มอิควานมีท่าทีการเคลื่อนไหว รุนเเรงมากขึ้น,นายกรัฐมนตรี, มะฮ์หมูด อัล-นัฆรอชีย์, จึงออกคำสั่งให้กวาดล้างองค์กรนี้, โดยสั่งปิดศูนย์บัญชาการ และยึดทรัพย์สินของพวกเขา. รวมทั้งสั่งปิดสาขาลับของพวกอิควาน ที่ยังคงตักฟีร(ให้ข้อหากาฟิร)รัฐบาลอิยิปต์ และวางเเผนลอบสังหารนายก อัล-นัฆรอชีย์ และเขาก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 28 ธันวาคม 1948 ในหกสัปดาห์ถัดมา
กระทั่งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1949 หะซัน อัลบันนา ก็ถูกลอบสังหาร. เมื่อเขาสิ้นชีวิตลง. รัฐบาลสั่งห้ามร่วมฝังศพ และขบวนศพมีผู้เดินตามเพียงสองคนเท่านั้น คือ บิดาของเขา และมุกริม อุบัยดฺ, นักการเมืองชาวคริสเตียน.1 เป็นเวลาสองปีที่ญะมาอะฮ์นี้ ขาดผู้นำ เเต่องค์กรลับนี้ยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบของการก่อการร้าย เช่นเดียวกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ในปัจจุบัน.
ในปี ค.ศ. 1951 สมากชิกฟรีเมสันรายหนึ่ง ชื่อว่า หะซัน อัลฮุดัยบีย์ ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของกลุ่มอิควาน และอีกสองปีถัดมา สมาชิกฟรีเมสันอีกคนชื่อว่า สัยยิด กุฏบ์ ก็ขึ้นเป็นผู้นำของกลุ่มอิควาน เเล้วเขาก็เริ่มผลักดันเเนวคิดตักฟีรและฮะกีมียะฮ์ และสนับสนุนการปฏิวัตต่อต้านญะมาล อับดุล นาซี้ร ที่ขึ้นเป็นผู้นำ ในปี ค.ศ. 1952. เป็นไปไม่ได้ที่อัลฮุดัยบีย์ และสัยยิด กุฏบ์ จะเข้าร่วมกับอัลอิควานเพื่อเเย่งชิงอำนาจ และสร้างความขัดเเย้งกับนาซี้ร เพราะเขาเองก็ส่งเสริมเเนวคิดสังคมนิยมและชาตินิยมอาหรับ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อต่างชาติที่ต้องการเข้ามาเเสวงหาผลประโยชน์2 และเป้าหมายของกลุ่มอิควาน ก็ยังเหมือนเดิมคือการมีอำนาจปกครอง
(1 ) จากคำพูดของสมาชิกอิควานคนหนึ่ง ชื่อญาบิ้ร ริซกฺ ในหนังสือของเขา “หะซัน อัลบันนา บิ อักลิม ตะลามิดิฮี”
(2) อังกฤษต้องการกำจัดนาซี้ร เนื่องจากเขาได้รวมชาติอาหรับให้มีอำนาจ และต้องการสร้างความเป็นปึกเเผ่นให้กับชาติต่างๆ ในเเถบครองสุเอซ ซึ่งจะส่งผลด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงสนับสนุนการก่อกบฏ ต้องการให้เขาถูกกำจัด หรือลอบสังหาร