เนาอฺมาน อาลี คาน กับปัญหาการลำดับความสำคัญ

ed

     เนาอฺมาน อาลี คาน กับปัญหาการลำดับความสำคัญ
โดย อบูจัสมิน

เส้นคั่น1

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَذَكِّرْ فَإِنَّ الذِّكْرَىٰ تَنفَعُ الْمُؤْمِنِينَ
“และจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนนั้นจะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา”

(๕๑:๕๕ )

ﻗﺎﻝ ﺷﻴﺦ ﺍﻹﺳﻼﻡ ﺍﺑﻦ ﺗﻴﻤﻴﻪ: “ﻓﺈﻥﺑﻴﺎﻥ ﺣﺎلهم ﻭﺍﻟﺘﺤﺬﻳﺮﻣﻨﻬﻢ ﻭﺍﺟﺐ ﺑﺎﺗﻔﺎﻕ ﺍﻟﻤﺴﻠﻤﻴﻦ وهو من جنس الجهاد في سبيل الله
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนิตัยมียะฮ กล่าวว่า. “แท้จริงการอธิบายถึงสภาพของพวกเขา และตักเตือน(ผู้คน)ให้ออกห่างจากพวกเขา. ถือเป็น “วาญิบ” ด้วยการเห็นพ้องในหมู่ผู้ศรัทธา. และมันยังเป็นหนึ่งในประเภทของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ

         การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ที่ได้ส่งศาสนทูต ﷺ มายังเรา เพื่อเรียกร้องผู้คนให้ดำเนินตามแนวทางของท่าน ขออัลลอฮ์ทรงประทานพรและศาสนติสุขจงประสบแด่ท่านและวงศาคณาญาติ เหล่าอัครสาวก และผู้เจริญรอยตามแบบอย่างของท่านตราบจนวันกิยามะฮ์

عن عبد الله بن عمر رضي الله عنهما أنه قدم رجلان من المشرق فخطبا فعجب الناس لبيانهما فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم إن من البيان لسحرا أو إن بعض البيان لسحر رواه البخاري في صحيحه

         รายงานจากท่าน อับดุลลอฮ บิน อุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ได้มีชายสองคนมาจากทางทิศตะวันออกแล้วเขาทั้งสองก็ได้คุฏบะห์ แล้วผู้คนก็ประทับใจกับการบรรยายของเขาทั้งสอง แล้วท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้กล่าวว่าแท้จริงส่วนหนึ่งจากการบรรยายนั้นย่อมมีไสยศาสตร์อยู่ หรือบางส่วนของการบรรยายนั้นย่อมมีไสยศาสตร์ – คำพูดที่สวยหรูที่พาคนฟังเคลิ้มตาม

  • รายงานโดย อิหม่ามบุคอรีในหะดีษซอเฮี๊ยะของ เลขหะดีษ 4851

หะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ท่านเราะซูล ﷺ ได้ยืนยันว่าจะปรากฏมาซึ่ง ผู้คนหรือกลุ่มคนที่เรียกร้องไปสู่ความหลงผิด และเบี่ยงเบนออกจากแนวทางที่เที่ยงตรง (เเนวทางสะลัฟ) และมีคำพูดแฝงด้วยไสยศาสตร์ และพวกเขาหลบหลีกคำเตือนของอุมมะฮ์ ที่ให้ระวังสิ่งหลงผิดต่างๆ  รวมทั้งการตักเตือนผู้คนให้ออกห่างจากบรรดานักพูดที่มีลักษณะเช่นนี้

       ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮ์ (เสียชีวิตปีฮิจเราะฮ์ 653) – ร่อฮีมะฮุลลอฮ์- ได้กล่าวถึงอะฮ์ลุลบิดอะฮ์ ว่า …ความเสียหายที่พวกเขา(อะฮ์ลุลบิดอะฮ์) ก่อขึ้นกับศาสนา นับว่า เลวร้ายยิ่งกว่าความเสียหายที่พวกมุชริกีนและอะฮ์ลุลกีตาบ ทำกับเราเสียอีก”

  • มัจมัวอฺ ฟะตะวา ๓๕/๑๕๙-๑๖๐

ในยุคของเรา ท่ามกลางนักเรียกร้องเชิญชวนสู่ความหลงผิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือ นุอฺมาน อาลี คาน ซึ่งเป็นนักพูดที่ได้รับความนิยมจากผู้คน มีผู้ติดตามมากมาย ผ่านช่องทางยูทูป ผ่านสื่อสังคมอย่าง เฟสบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ และอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านทั่วไป ที่ขาดความเข้าใจถ่องเเท้ในเรื่องอะกีดะฮ์ (หลักศรัทธา) และมันฮัจญ์ (แนวทาง) ของสะละฟุศศอและฮ์ และพวกเขามองว่าใครก็ตามที่อ้างอิงไปยังอัลกุรอาน และหะดีษ ก็เพียงพอเเล้ว ถือว่าเป็นอุลามะอ์ที่เชื่อถือได้ และพวกเขายิ่งเกิดความประทับใจ หากนักพูดเหล่านั้นมีการเล่นมุกตลกขบขัน หรือชอบเล่า เรื่องราว สร้างความเคลิบเคลิ้ม

นุอฺมาน อาลี คาน ที่มีผู้ชื่นชอบมากมาย บางคนถึงกับกล่าวว่า … “เราไม่พบสิ่งใดที่ขัดกับกีตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์ ไม่ว่าคำพูดและการปฏิบัติของ นุอฺมาน อาลี คาน เขาตัฟซีรอัลกุรอานได้อย่างยอดเยี่ยม ล้ำลึกถึงขั้วหัวใจ”

ก่อนอื่นเราลองมาวิเคราะหฺคำถามเหล่านี้

        คำถามเเรก : การที่เขาอ้างว่า ตัวเองนั้น ยึดมั่นใน “อัลกุรอานและสุนนะฮ์” นั้นเพียงพอแล้วหรือ ที่เราจะยึดความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง ของนักพูดคนนั้น ?

        คำตอบ : ไม่ใช่อย่างแน่นอนครับ เพราะกลุ่มหลงผิด หรือนักดาอีย์(ผู้เรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลาม) ต่างก็อ้างว่ายึด “อัลกุรอานและสุนนะฮ์” แทบทั้งสิ้น เพียงแต่ ใช้ คำอธิบายด้วยแนวทางอื่น หรือตามความคิดเห็นของตัวเอง ซึ่งไม่ได้มีบรรทัดฐานมาจาก “ความเข้าใจของสะละฟุศซอเเละหฺ”

        คำถามที่สอง : เเล้วท่านคิดว่า การใช้แนวทางของชาวสะลัฟ ในการทำความเข้าใจ อัลกุรอานและหะดีษ มีความจำเป็นหรือไม่ ?

         คำตอบ : ใช่แล้วครับ แนวทางสะลัฟ คือ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด ในการทำความเข้าใจอัลกุรอานและหะดีษ บรรดาสะละฟุศศอเเละห์ พวกเขาเป็นต้นเเบบของชนมุสลิมยุคหลัง  อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยต่อพวกเขา รวมทั้งผู้ที่ยึดเเนวทางของพวกเขาด้วย  ดังที่อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า

    “และบรรดาผู้ที่รุดหน้าไปเป็นชุดแรก ทั้งจากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ้อรตลอดจนบรรดาผู้ที่ดำเนินตามพวกเขาเหล่านั้นด้วย(การดำเนินตาม)อย่างดีเลิศนั้น อัลลอฮ์ได้ทรงพอพระทัยพวกเขาแล้ว และพวกเขาก็พอใจต่อพระองค์ และพระองค์ยังได้ทรงตระเตรียมบรรดาสรวงสวรรค์ที่มีธารน้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องใต้ของมันไว้ให้พวกเขา พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นอย่างนิรันดร์ นั้นคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” (อัตเตาว์บะฮ์ ๙:๑๐๐)

وَالسَّابِقُونَ الأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُم بِإِحْسَانٍ رَّضِيَ اللّهُ عَنْهُمْ وَرَضُواْ عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

        “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ(ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮ์) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ(ชาวอันศ็อรจากมะดีนะฮ์) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (ซูเราะฮ์ เตาบะฮ อายะฮ์ที่ 100)

        คำถามที่สาม : มีคำแนะนำจากสะลัฟ ให้เราตรวจสอบ (อะกีดะฮ์และมันฮัจญ์) ก่อนที่เราจะรับความรู้จากพวกเขา ใช่หรือไม่ ?

        คำตอบ : ใช่แล้วครับ ชาวสะลัฟได้ตักเตือนเน้นย้ำว่าจะไม่รับความรู้จากผู้ใด เว้นแต่จะต้องมาจากชาวอะลุสสุนนะฮ์ วัลญ่ามาอะฮ์ เท่านั้น  ดังปรากฎในคำพูดของท่านมูฮัมมัด บิน ซีรีน (เสียชีวิตปี 110 ฮ.ศ.) -ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ได้กล่าวว่า

وعن ابن سيرين قال إن هذا العلم دين فانظروا عمن تأخذون دينكم . رواه مسلم

“แท้จริงวิชาความรู้นี้(วิชาด้านศาสนา) คือศาสนาที่ยึดถือ ดังนั้นพวกท่านจงพิจารณาให้ดีเถิดว่า ท่านจะยึดเอาศาสนาของท่านจากใคร”

         คำถามที่สี่ : และจริงหรือไม่ที่ นุอฺมาน อาลี คาน ไม่ได้ให้ความสำคัญเลย กับคำถามที่เกี่ยวข้องกับอะกีดะฮ์ และเรื่องหลักการศรัทธาในประเด็นคุณลักษณะของอัลลอฮ์ ตะอาลา ?

          คำตอบ: ใช่แล้วครับ ลองดูจากการบรรยายนี้ – [กดฟัง] – ซึ่งนุอฺมาน พยายามสร้างสิ่งที่เป็นเท็จ ด้วยการอ้างว่า การถามว่า“อัลลอฮ์อยู่ไหน”นั้นไม่ใช่คำถามที่สำคัญเลย และอัลลอฮ์ หรือบรรดาศอฮาบะฮ์จะไม่ถามคำถามเหล่านี้กัน และนุอฺมาน ยังกล่าวอีกว่าเรื่องนี้จะต้องทำลายมันทิ้งไปซะ

ชาวสุนนะฮ์เขากล่าวกันอย่างนี้หรือครับ ? ไม่ใช่คำถามนี้ดอกหรือที่ท่านเราะซูล ได้ถามต่อทาสหญิง ที่บันทึกในซอฮิฮ์มุสลิม ? ชาวสะลัฟไม่ได้ยืนหยัดต่อต้านพวกที่ปฏิเสธว่าอัลลอฮ์ไม่ได้อยู่บนอะรัชกระนั้นหรือครับ ?

         คำถามที่ห้า : ท่านรู้หรือหรือไม่ว่า นุอฺมาน อาลี คาน มองว่าการจัดงานเมาลิดนบีย ไม่ใช่บิดอะฮ์ (อุตริกรรมในศาสนาอิสลาม) ?

         คำตอบ : ลองฟังดูจากบรรยายของนุอฺมาน ได้ที่ – [กดฟัง] – ซึ่งเขากล่าวว่า จะไม่ขอออกความเห็นใดๆ ในเรื่องการจัดงานเมาลิดนบี เพราะมัน “ไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ”

เป็นไปได้อย่างไรที่ชาวสุนนะฮ์จะไม่ตำหนิและให้ออกห่างจากการกระทำที่ถูกตัดสินว่าเป็น “บิดอะฮ์” จากบรรดาอุละมาอฺอะลิซซุนนะฮ์ ? เมาลิดมีร่องรอยจากท่านนบีหรือศอฮาบะฮ์ได้กระทำสิ่งนี้หรือไม่ ? ซึ่งปราชญ์ก็ไม่ได้นิ่งเงียบในเรื่องบิดอะฮ์ และจะเเยกเเยะ เพื่อให้ผู้คนได้ระวังต่อความหลงผิด

        คำถามที่หก : ท่านรู้หรือไม่ว่านุอฺมาน อาลี คาน ได้นั่งร่วมบรรยายกับบรรดาซูฟีย์ ที่อันตรายที่สุด และบรรดาผู้ที่กำลังเรียกร้องผู้คนไปสู่การทำชิริกและบิดอะฮ์อยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น อะบีบ อะลีย์ อัล-ยิฟรี, ฮัมซะฮ์ ยุซุฟ ,อัมรฺ คอลิด เป็นต้น

        คำตอบ: หลักฐานดูได้จากบรรยายนี้ – [กดดู] – ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลงผิดอย่างชัดเจน ซึ่งจะพบการสอนของเขามีความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนอย่างมากมาย

ท่านเราะซูล ﷺ  ได้กล่าวว่า ” ผู้ใดอุตริทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ “(อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

        อิหม่ามอิบรอฮีม อัล-นากาอีย์ (เสียชีวิต 96 ปีฮิจเราะฮ์ – ร่อฮีมะฮุลลอฮ์) ได้กล่าวว่า “อย่าได้นั่งกับพวกอะฮ์ลุลอะฮ์วาอ์(พวกตามอารมณ์) แท้จริงการนั่งร่วมกับพวกเขาเป็นเหตุให้รัศมีแห่งอิหม่าน หลุดไปจากหัวใจ และดึงความงดงามออกจากใบหน้า และเป็นเหตุให้ความเกลียดชังเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้ศรัทธา” (Ibn Battah’s Al-Ibaanah no. 375 )

        อิหม่าม อบู กิลาบะฮ์ (เสียชีวิตปี 140 ฮิจเราะฮ์– ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์) กล่าว่า “อย่าได้นั่งร่วมกับอะฮ์ลุลอะฮ์วาอ์ และอย่าได้โต้เถียงกับพวกเขา ฉันไม่รู้สึกปลอดภัยว่าพวกเขาจะทำให้คุณดื่มด่ำกับความหลงผิดของพวกเขา หรือสร้างความสับสนให้กับท่าน ในสิ่งที่ท่านรู้มาก่อนแล้ว” (Ibn Battah’s Al-Ibaanah no. 369)

ท่านอิบนุอับบาส กล่าวว่า “ท่านจงอย่านั่งร่วมกับพวกอารมณ์นิยม แท้จริง การนั่งร่วมกับพวกนั้นทำให้หัวใจท่านป่วย” (บันทึกโดย อัลอาญะรีย์ อิบนุบัฎเฎาะฮ์)

         อิหม่ามอะหมัด บิน ฮัมบัล กล่าวว่า “พวกบิดอะฮ์นั้นไม่สมควรอย่างยิ่งที่คนคนหนึ่งจะนั่งร่วมกับเขา เเละปะปนกับพวกเขา เเละปลื้มปิติยินดีกับพวกเขา” (شرح السنة ص 121)

         อิหม่ามอัลบัรบาฮารี้ กล่าวว่า “เมื่อท่านเห็นชายคนหนึ่งนั่งอยู่กับชายที่มาจากพวกบิดอะฮ์ ท่านจงตักเตือนให้เขาระวัง เเละจงทำให้เขารับรู้ เเต่หากเขายังนั่งร่วมกับชายดั่งกล่าวภายหลังที่รู้เเล้ว ท่านก็จงระวังตัวเองจากเขาเสีย เนื่องจากเขาคือ พวกตามอารมณ์” (الإبانة 4/260)

         อิหม่ามอิบนุบัฏเฏาะ อัลอักบารี้ หรือ อัลอักบูนี้ กล่าวว่า “เเละถือว่าเป็นสุนนะฮ์อย่างหนึ่ง การออกห่างจากทุกๆ คนที่มีความเชื่อดังที่เราได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น (ความเชื่อบิดอะฮ์) เเละการปลีกตัวออกจากเขาเช่นกัน เเละการโกรธเคืองต่อเขา เเละเช่นเดียวกันการปลีกตัวออกห่างจากคนที่มีสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับเขา ช่วยเหลือเขา ปกป้องเขา คบหากับเขา ถึงเเม้ว่าผู้ที่กระทำดังกล่าวจะเปิดเผยภายนอกที่เป็นสุนนะฮ์ก็ตามเเต่”

ท่านอิหม่ามอิบนุ กุดามะฮ์ ได้กล่าวว่า

“ومن السنة هجران البدع ومباينتهم وترك الجدال والخصومات في الدين، وترك النظر في كتب المبتدعة، والإصغاء إلى كلامهم، وكل محدثة في الدين بدعة”

“ส่วนหนึ่งจากสุนนะฮ์คือการหลีกห่างจากพวกบิดอะฮ์และไม่ได้โต้เถียงกับพวกนี้ในเรื่องของศาสนาและไม่ดู (ไม่อ่าน) หนังสือ ไม่ฟังคำพูดใดของพวกเขา และทุกๆเรื่องอุตรินั้นล้วนเป็นบิดอะฮ์” (ลัมอะตุลเอี้ยติกอด 33)

ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า :

كان السلف ينهون عن مجالسة أهل البدع، والنظر في كتبهم والإستماع لكلامهم.

‘บรรดาชาวสะลัฟห้ามนั่งร่วมกับบิดอะฮ์ ห้ามอ่าน ห้ามฟังคำพูดของพวกเขาอีกด้วย’ (อัลอาด้าบอ้ชชัรอียะห์ 1/232)

         ท่านเชคซอและห์อัลเฟาซาน – หะฟิซ่อฮุลลอฮ์- ถูกถามว่าอะไรคือคำชี้ขาดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอ่านหนังสือของพวกอุตริแหวกแนว และฟังเทปบันทึกของพวกเขา?
ท่านตอบว่า

“لا يجوز قراءة كتب المبتدعة ولا سماع أشرطتهم إلا لمن يريد أن يرد عليهم ويبين ضلالهم”

      “ไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือของพวกอุตริแหวกแนว และไม่อนุญาตให้ฟังเทปบันทึกของพวกเขา ยกเว้นผู้ที่อ่านหรือฟัง เพื่อตอบโต้และชี้แจงความหลงผิดของพวกเขาเท่านั้น” (อัลฮัจวิบะตุ้ลมุฟีดะห์ หน้า 70)

เเนวทางสะลัฟเตือนให้ระวัง การนั่งร่วมกับพวกบิดอะฮ์

สุดท้ายนี้ ขอสรุปด้วยการกล่าวว่า พี่น้องที่ยืนหยัดบนเเนวทางสะลัฟไม่ควรรับความรู้ที่มาจากนุอฺมาน อาลี คาน เพราะที่จริงแล้วการเรียกร้องไปสู่แนวทางสะลัฟ ไม่ใช่แค่พูดเรื่องกว้าง ๆ ทั่วไป แต่พวกเขาจะเจาะลึกไปยังประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอะกีดะฮ์และมันฮัจฺ ด้วยความรู้ที่กระจ่างชัด จะต้องการสั่งใช้ความดี (สอนเตาฮีด สอนอะกีดะฮ์) และห้ามปรามความชั่ว (ชิริก บิดอะฮ์ และความชั่วร้ายต่างๆ) และไม่เอาความจริงกับเท็จมาปะปนกัน

อินชาอัลลอฮ์ นี่คือข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่บริสุทธิ์ใจในการแสวงหาสัจธรรม เพื่อให้แยกแยะว่าอะไรที่เขาเรียกร้องผู้คน และอะไรคือสัจธรรม ขอให้อัลลอฮ์ทรงนำทางเขา และพวกเรา ในสิ่งที่ประองค์ทรงโปรดปราน, อามีน

**ส่วนกรณี การอ้างว่า การเสพยาเสพติดนั้นเป็นบาปใหญ่ และเป็นการทำลายตัวเองและส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม แต่การมีอะกีดะฮ์ที่ผิดเพี้ยน มีชิริก และบิดอะฮ์นั้นชั่วร้ายยิ่งกว่า ดังที่เชคซอเเละห์ อัล เฟาซาน หะฟิศ่อฮุ้ลลอฮ์ ได้กล่าวว่า “ผู้ที่ทำบิดอะฮ์จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง บิดอะฮ์ชั่วร้ายกว่าบาป บิดอะฮ์เป็นที่รักของชัยตอนมากกว่าบาป เพราะผู้ทำบาปสามารถกลับใจได้ – ท่านอีหม่าม ซุฟยาน อัลเษรีย์ (รอฮีมาฮุลลอฮ์) นักหะดีษยุคสะลัฟ
ได้กล่าวว่า: “บิดอะฮ์เป็นที่รักใคร่ของอิบลีสมากกว่าการทำบาป เพราะการทำบาปจะถูกอภัยโทษให้ หมายความว่าโดยพื้นฐานแล้วคนทำบิดอะฮ์มักคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคือเรื่องดี และถูกต้อง แตกต่างจากคนทำบาปที่รู้ตัวว่าตนทำผิดเพราะอารมณ์ใฝ่ต่ำ โอกาสที่เขาจะสำนึกผิดจึงเกิดขึ้นใด้ ในขณะที่คนทำบิดอะฮ์มักไม่คอยสำนึกผิดหรือกลับตัว เพราะเขาไม่คิดว่าบิดอะฮ์ที่เขาทำคือความผิดบาป ชาวสะลัฟจึงสั่งตักเตื่อนมิให้ทำการยุ่งเกียวกับพวกทำบิดอะฮ์ เพราะจะทำให้ผู้ศรัทธาเกิดความสับสนเนื่องจากการล้างสมองของพวกเขา” อัลอัจวิบะ อัลมุฟิดะฮุอัซอิละติลมะนาฮิจอัลญะดีดะฮุ หน้า 26 – 27

สำหรับผู้ที่ทำบิดอะฮ์เเล้ว พวกเขาจะไม่เกิดความสำนึกผิด เพราะคิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้อง ตรงข้ามกับบาปทั่วไปที่ผู้กระทำรู้ตัวว่าตัวเองกำลังผ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์อยู่ เป็นเหตุให้บิดอะฮ์มีความเลวร้ายกว่าบาปทั่วไป และสิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวสะลัฟได้ตักเตือนให้ระวังจากการนั่งร่วมกับอะฮ์ลุลบิดอะฮ์ วัลลอฮุอะลัม

คำเตือนจากผู้รู้สะละฟีย์ มูซา รีชาร์ดสัน

https://www.youtube.com/watch?v=LAY5UaMI8rI&feature=youtu.be

การตัฟซีรอัลกุรอานด้วยวิธีการผิดเพี้ยน ของนุอฺมาน

อะกีดะฮ์ ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ตามความเข้าใจของนุอมาน อาลีคาน และยังบอกอีกว่า เรื่องอะกีดะฮ์นั้นไม้มีอยู่ในอัลกุรอาน สำหรับมุสลิมเเล้วการการรู้จักอัลลอฮ์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด สร้างอิหม่านเเละความยำเกรงเเด่ผู้ศรัทธา

ท่านอัลฮาฟิส อิบนุราญับ อัลฮัมบาลี รอฮีมาฮุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า ::

فمن كان بالله وبأسمائه وصفاته وأفعاله وأحكامه أعلم كان له أخشى وأتقى، إنما تنقص الخشية والتقوى بحسب نقص المعرفة بالله

”ผู้ใดที่มากด้วยความรู้เกี่ยวกับอัลลอฮ์ และพระนามของพระองค์ , คุณลักษณะของพระองค์ การงานของพระองค์ , กฎเกณฑ์ของพระองค์ แน่นอนเขาจะมีความกลัวและความยำเกรงมากขึ้น แต่การขาดความกลัวและยำเกรงต่อพระองค์นั้น ก็อันเนื่องจากการขาดความรู้เกี่ยวกับพระองค์ ”

[ฟัตฮุ้ลบารีย์ อิบนุราญับ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์, 1/82]

อันที่จริงไม่มีความจำเป็นต้องไปฟังคนเหล่านี้เลย เรามีสะละฟีย์ บรรดาลูกศิทย์ปราชญ์อาวุโสที่สามารถรับความรู้ได้อยู่เเล้ว เช่น