“อาลี อัลฮะละบี่” กับ คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนาฯ

“อาลี อัลฮะบะบี่” กับ คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนาฯ (ตอนที่ 1)

โดย อ.อิสหาก พงษ์มณี

#กล่าวนำ

1-เพื่อมิให้บทความยืดยาวจนเกินไป ผมขอใช้วิธีสรุปส่วนที่มิใช่คำฟัตวาตรงๆ ดังนี้ คือมีคำถามๆ ไปยังคณะกรรมการถาวรฯ เกี่ยวกับหนังสือสองเล่มของอาลี อัลฮะละบี่ ว่าผิดถูกอย่างไร

2-หนังสือทั้งสองเล่มนั้น เรียกร้องไปสู่ความเชื่อที่ผิดๆ หรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิดแบบ “อิรญาอ์” (ซึ่งจะได้อธิบายในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป)

3-ในหนังสือทั้งสองเล่มนั้น มีการอ้างอิงถึงชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์และฮาฟิซอิบนุกะษีรรวมถึงปราชญ์ท่านอื่นๆ ด้วย

4-หนังสือทั้งสองเล่มของอาลี อัลฮะบี่ที่กล่าวถึงนั้น คือ “อัตตะซี้ร มิน ฟิตนะติล ตักฟีร” และ “ซอยฮะห์นะซี้ร”

5-หลังจากที่ได้มีการศึกษาเนื้อหาของหนังสือทั้งสองเล่มของเขา (อาลี อัลฮะละบี่) แล้ว นักวิชาการของ “ลุจนะห์ฯ” จึงมีฟัตวาสรุปไว้ดังนี้

#คำแปล
1-ผู้เขียน เขียนหนังสือขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อแบบ “มุรญิอะห์” ที่เป็นบิดอะฮ์และเหลียวไหล บรรดาผู้ที่จำกัดคำว่า “กุฟร์-การปฏิเสธศรัทธา” ไว้แค่การดื้อดึงปฏิเสธ การไม่เชื่อ และใจที่ไม่ยอมรับ ตามที่ปรากฏในหน้า 6 ฟุตโน้ตที่ 2 และในหน้าที่ 22 ค้านกับสิ่งที่ชาวสุนนะฮ์วัลญะมาอะห์ยึดถือ คือคำว่า “กุฟร์” นั้นเกิดได้ทั้งทางความเชื่อมั่น (ทางใจ) คำพูด การกระทำ และการสงสัย

2-ผู้เขียน บิดเบือนการอ้างอิงถึงอิบนุกะษีร ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือ (อัลบิดายะห์ วัลนิฮายะห์ เล่ม 13 หน้า 118 โดยอ้าง) ว่า อิบนุกะษีรกล่าวว่า “ เจียงยิสข่านอ้างว่า “อัลยาสิก” (Yassa-กฏหมายที่ตราขึ้นในยุคเขา) นั้นมาจากอัลลอฮ์ และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นการเฟร” และเมื่อมีการย้อนกลับไปค้นตามที่เขา(อาลี อัลลฮะละบี่) กล่าวอ้าง ก็ไม่พบข้อความที่เขากล่าวอ้างถึงอิบนุกะษีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ แต่อย่างใด

3-ผู้เขียน กล่าวเท็จต่อชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ตะอาลา ไว้ในหน้า 17-18 โดยอ้างว่า “ฮุก่ม(ศาสนา) ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปจะไม่เป็น “กุฟร์” ยกเว้นจะต้องจะเกิดจากความรู้ (และเข้าใจ เกิดจาก) ความเชื่อ และ (ถือว่า) ฮะล้าล (เป็นที่อนุมัติ นั่นละถึงจะเป็น “กุฟร์”)” นี่คือการกล่าวเท็จดิบๆ ต่อชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮุ ตะอาลา เพราะท่านคือผู้เผยแพร่แนวทางสะลัฟและแนวทางของอะลิซสุนนะฮ์วัลญะมาอะห์ ดังที่ผ่านมาแล้ว แต่นี้มันคือแนวทางของพวกมุรญิอะห์เท่านั้นเอง (คือที่นายอาลี อัลฮะละบี่กล่าวอ้างถึงชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์”

#จบตอนที่หนึ่ง (โปรดติตามตอนต่อๆ ไปครับ) หมายเหตุเล็กน้อยๆ

1-หากน้องๆ หนูๆ จะตอบโต้ ผมรับแค่ติติงเรื่องคำแปลของผม เพราะนั่นคือสิ่งที่ผมต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเนื้อหาเชิญตอบโต้คณะกรรมถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาของประเทศซาอุดิอาราเบียนะครับ

2-คำตอบโต้ใดๆ อย่าเขียนเป็นภาษาไทยนะครับ เพราะคณะกรรมการฯ เขาอ่านภาษาไทยไม่ออก ให้เขียนเป็นภาษาอาหรับ โดยจะโพสต์เลยหรือจะส่งตรงไปยังเขาเลยก็ได้

3-อีกทางเหลือกหนึ่งคือ จะแปลคำตอบโต้ของนายอาลี อัลฮะละบี่ ที่มีต่อคำฟัตวาของคณะกรรมถาวรฯ แล้วนำเสนอผ่านทางการโพสต์ก็ได้นะครับ ผมไม่ขัดข้องแต่อย่างใด และผมเชื่อว่าท่านผู้ติดตามอ่าน เขาก็อยากจะศึกษาเช่นกัน

(ตอนที่สอง)

4-ผู้เขียน บิดเบือนวัตถุประสงค์ของสะมาฮะตุล อัลลามะห์ อัชเชค มุฮัมหมัด อิบนุ อิบรอฮีม อาลัลเชค ร่อฮิมะฮุลลอฮุตะอาลา ที่ปรากฏในหนังสือของของท่านที่ชื่อว่า “ตะห์กีมุลก็ว่านีนอัลวัฎอียะห์” โดยผู้เขียนหนังสือ(ที่กล่าวถึงไปในตอนแรกแล้ว) ว่า เชค(มุฮัมหมัดฯ)วางเงื่อนไขเรื่องว่าต้อง “อิสเตี๊ยะห์ล้าลอัลก๊อลบี่-คือในใจต้องคิดว่ามันเป็นที่อนุมัตด้วย”(ถึงจะตัดสินว่าเป็นกุฟร์ได้) ทั้งๆ คำพูดของเชคท่านชัดเจนดุจความสว่างของตะวันตามที่ปรากฏในหนังสือของท่านนั้น ไม่มีอะไรผิดเพื้ยนไปจากแนวทางของชาวสุนนะฮ์วัลญะมาอะห์

5-ผู้เขียน ใส่ฟุตโน้ตตอนอ้างอิงถึงคำพูดของนักวิชาการหลายท่าน และอธิบายความเกินเลยจากเนื้อหาคำพูดเหล่านั้น ดังปรากฏในหน้า 108 ฟุตโน้ตที่ 1 หน้า 109 ฟุตโน้ตที่ 21 และหน้า 110 ฟุโน้ตที่ 2

6-ในหนังสือดังกล่าวของผู้เขียนยังเบาความต่อการตัดสินด้วยสิ่งอื่นจากที่อัลลอฮ์ประทานมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้า 5/1 โดยอ้างว่าการให้ความสำคัญโดยเน้นเรื่องเตาฮีดกับประเด็นนี้ มันคล้ายกับแนวทางชีอะห์ รอฟิเฎาะห์ นี่นับเป็นความผิดพลาดที่น่ารังเกียจมาก (ของผู้เขียน)

7-ส่วนหนังสือเล่มที่สอง(ที่ชื่อว่า ซอยฮะห์นะซี๊ร) นั้น พบว่ามันก็เป็นเพียงการสนับสนุนสิ่งที่ปรากฏอยู่ในเล่าดังกล่าว(เล่มแรกที่ชื่อว่า อัตตะซี้ร มิน ฟิตนะติล ตักฟีร) ซึ่งก็มีสภาพไม่ต่างจากเล่มแรก

คณะกรรมถาวรฯ เห็นว่า หนังสือทั้งสองเล่มนั้น ไม่อนุญาตให้พิมพ์ เผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์ เหตุเพราะมันมีสิ่งไม่ถูกต้องและบิดเบือน และเราขอเตือนผู้เขียนให้เกรงกลัวอัลลอฮ์ในเรื่องของตัวเองและของบรรดามุสลิมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคนหนุ่มสาว และให้(ผู้เขียน) ขยันแสวงหาความรู้ทางศาสนจากบรรดาผู้รู้ที่ไว้วางใจได้เรื่องความรู้และมีอะกีดะห์ทีดีงาม ความรู้คือภาระรับผิดชอบ ไม่อนุญาตให้เผยแพร่หากไม่ตรงตามอัลกิตาบและอัซสุนนะฮ์

ต้องถอนจากทัศนะและแนวทางที่ไม่เหมาะสมที่ได้บิดเบือนคำพูดของนักวิชาการ ซึ่งก็ทราบกันดีว่าการกลับไปหาความจริง(ความถูกต้อง) คือเกียรติและศักดิ์ศรีของมุสลิม ขออัลลอฮ์ประคับประคอง(สู่ท่างที่ถูกต้องด้วยเทอญ)

وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه أجمعين .

คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนา

อับดุลเลาะห์ อิบนุ อับดุรเราะห์มาน อิบนุล ฆุดัยยาน กรรมการ

บักร์ อิบนุ อับดุลลอฮ์ อบูซัยด์ กรรมการ

ซอและห์ อิบนุ เฟาซาน อัลเฟาซาน กรรมการ

อัลดุลอะซี๊ซ อิบนุ อับดุลลอฮ์ อิบนุมุฮัมหมัด อาลุลเขค ประธาน

نص فتوى “اللجنة الدائمة للإفتاء” وإليك نصها كما في البيان التالي :
الحمد لله وحده والصلاة والسلام على من لا نبي بعده . . وبعد :
فإن اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء اطلعت على ما ورد إلى سماحة المفتي العام من بعض الناصحين من استفتاآت مقيدة بالأمانة العامة لهيئة كبار العلماء برقم : ( 2928 ) ، ( 2929 ) بتاريخ : 13 / 5 / 1421 هـ. ورقم ( 2929 ) وتاريخ 13 / 5 / 1421 هـ. بشأن كتابي ( التحذير من فتنة التكفير ) ، ( صيحة نذير ) لجامعهما / علي حسن الحلبي ، وأنهما يدعوان إلى مذهب الإرجاء ، من أن العمل ليس شرط صحة في الإيمان . وينسب ذلك إلى أهل السنّة والجماعة ، ويبني هذين الكتابين على نقول لشيخ الإسلام ابن تيمية والحافظ بن كثير وغيرهما رحم الله الجميع .
ورغبة الناصحين بيان ما في هذين الكتابين ليعرف القراء الحق من الباطل . . الخ . .
وبعد دراسة اللجنة للكتابين المذكورين ، والإطلاع عليهما تبين للجنة أن كتاب :
(التحذير من فتنة التكفير ) جمع / علي حسن الحلبي فيما أضافه إلى كلام العلماء في مقدمته وحواشيه يحتوي على ما يأتي:
1- بناه مؤلفه على مذهب المرجئة البدعي الباطل ، الذين يحصرون الكفر بكفر الجحود والتكذيب والاستحلال القلبي ، كما في ص / 6 حاشية /2 وص/22 ، وهذا خلاف ما عليه أهل السنة والجماعة: من أن الكفر يكون بالاعتقاد وبالقول وبالفعل وبالشك.
2- تحريفه في النقل عن ابن كثير – رحمه الله تعالى – في: ( البداية والنهاية: 13 / 118 ) حيث ذكر في حاشيته ص / 15 نقلاً عن ابن كثير: ( أن جنكيز خان ادعى في الياسق أنه من عند الله وأن هذا هو سبب كفرهم ) ،وعند الـرجوع إلى الـموضع المذكور لم يوجد فيه ما نسبه إلى ابـن كثير – رحمه الله تعالى – .
3- تقوله على شيخ الإسلام ابن تيمية – رحمه الله تعالى – في ص / 17 – 18 إذ نسب إليه جامع الكتاب المذكور: أن الحكم المبدل لا يكون عند شيخ الإسلام كفراً إلا إذا كان عن معرفة واعتقاد واستحلال. وهذا محض تقول على شيخ الإسلام ابن تيمية – رحمه الله تعالى – فهو ناشر مذهب السلف أهل السنّة والجماعة ومذهبهم ، كما تقدم وهذا إنما هو مذهب المرجئة

***
4- تحريفه لمراد سماحة العلامة الشيخ محمدبن إبراهيم آل شيخ – رحمه الله تعالى – في رسالته: تحكيم القوانين الوضعية. إذ زعم جامع الكتاب المذكور: أن الشيخ يشترط الاستحلال القلبي ، مع أن كلام الشيخ واضح وضوح الشمس في رسالته المذكورة على جادة أهل السنة والجماعة.
5- تعليقه على كلام من ذكر من أهل العلم بتحميل كلامهم مالا يحتمل ، كما في الصفحات 108 حاشية / 1، 109 حاشية / 21 ، 110 حاشية / 2.
6- كما أن في الكتاب التهوين من الحكم بغيرما أنزل الله ، وبخاصة في ص / 5 ح / 1 ، بدعوى أن العناية بتحقيق التوحيد في هذه المسألة فيه مشابهة للشيعة – الرافضة – وهذا غلط شنيع.
7- وبالإطلاع على الرسالة الثانية ( صيحة نذير ) وُجد أنها كمُساند لما في الكتاب المذكور – وحاله كما ذُكر -.
فإن اللجنة الدائمة ترى أن هذين الكتابين: لا يجوز طبعهما ولانشرهما ولا تداولهما لما فيهما من الباطل والتحريف. وننصح كاتبهما أن يتقي الله في نفسه وفي المسلمين ، وبخاصة شبابهم .
وأن يجتهد في تحصيل العلم الشرعي على أيدي العلماء الموثوق بعلمهم وحُسن معتقدهم. وأن العلم أمانة لا يجوز نشره إلا على وفق الكتاب والسنّة.
وأن يقلع عن مثل هذه الآراء والمسلك المزري في تحريف كلام أهل العلم ، ومعلوم أن الرجوع إلى الحق فضيلة وشرف للمسلم. والله الموفق.
وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه أجمعين .
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء .
عضو : عبد الله بن عبد الرحمن الغديان .
عضو: بكر بن عبد الله أبو زيد .
عضو: صالح بن فوزان الفوزان .
الرئيس : عبد العزيز بن عبد الله بن محمد آل الشيخ