กลุ่มต่างๆ ที่แตกไปจากแนวทางอิสลามอันถูกต้อง
ดร.ศอและฮ์ อิบนุ เฟาซาน อัลเฟาซาน
สมาชิกสภาอุละมาอฺาวุโสของประเทศซาอุดิอาราเบีย
เรียบเรียงโดย อาจารย์อิสฮาก พงษ์มณี (วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551)
กลุ่มแรก “อัลก้อดะรียะฮ์”
คือกลุ่มแรกที่เกิดขึ้นในปลายยุค “ศ่อฮาบะฮ์” พวกเขาปฏิเสธการบันทึกและกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า โดยเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินไปในโลกนี้ล้วนไม่เกี่ยวข้องกับการบันทึกหรือกำหนดล่วงหน้าใดๆ จากพระองค์ หากแต่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น พวกเขาปฏิเสธหลักศรัทธาพื้นฐานที่สำคัญในศาสนาอิสลาม คือ “อัลก้อดัร” ซึ่งเป็นหลักศรัทธาพื้นฐานประการที่หก
เหตุนี้พวกเขาจึงถูกขนานนามว่า “อัลก้อดะรียะฮ์” และยังถูกขนานนามว่าเป็นพวกเมไจ (อัลมะญู๊ซ) แห่งประชาชาตินี้ ที่ถูกขนานนามเช่นนั้นก็เพราะว่า พวกเขาเชื่อว่าแต่ละคนคือผู้สร้างการกระทำของตัวเองโดยปฏิเสธการสร้างและกำหนดของอัลลอฮ์ พวกเขายืนยันว่ามีผู้สร้างอื่นจากพระองค์ ซึ่งไม่แตกต่างจากพวกเมไจหรือเรียกตามภาษาอาหรับว่า “อัลมะญู๊ซ” ในอดีตพวกนี้เชื่อว่ามีพระผู้สร้างสององค์ องค์หนึ่งคือแสงสว่างซึ่งสร้างแต่สิ่งดีๆ และอีกองค์หนึ่งคือความมืดสร้างแต่สิ่งชั่วร้าย
พวก “อัลก้อดะรียะฮ์” เลวร้ายกว่า พวก “อัลมะญู๊ซ” เพราะพวก “อัลก้อดะรียะฮ์” เชื่อว่ามีผู้สร้างมากกว่าสอง โดยพวกเขากล่าวว่ามนุษย์คือผู้สร้างการกระทำของตัวเอง อย่างไรก็ดีพวกเขาก็ถูกขนานนามว่าเป็นพวก “อัลมะญู๊ซ” แห่งประชาชาตินี้ เพราะเชื่อว่าผู้สร้างมีมากกว่าหนึ่งต่อมาเกิดกลุ่มที่มีแนวความคิดตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับกลุ่มอัลก้อดะรียะฮ์ขึ้นโดยได้รับการขนานนามต่อมาว่ากลุ่ม “อัลญะบะรียะฮ์” พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ถูกบังคับโดยทุกกรณีกล่าวคือมนุษย์ไม่มีอิสระใดๆ ในการเลือกเฟ้น พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เป็นไปในลักษณะถูกบังคับให้กระทำทั้งสิ้น พวกเขาพยายามจะยืนยันเรื่องการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮ์แต่เป็นการยืนยันที่สุดโต่งและผิดพลาดซึ่งไม่แตกต่างจากพวก “อัลก้อดะรียะฮ์” ในแง่ของความสุดโต่ง พวกอัลก้อดะรียะฮ์สุดโต่งในแง่ของการยืนยันความมีอิสระของมนุษย์แต่พวกอัลญะบะรียะฮ์สุดโต่งในแง่การยืนยันการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮ์ต่อมากลุ่ม อัลก้อดะรียะฮ์ แตกออกเป็นอีกหลายกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มมีแนวความเชื่อในส่วนย่อยที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็มีหลักใหญ่ๆ ตรงกัน ดังนั้นจึงยังจัดอยู่ในหลุ่ม อัลก้อดะรียะฮ์อยู่
กลุ่มที่สอง “อัลค่อวาริจญ์”
คือกลุ่มที่ไม่เชื่อฟังผู้ปกครองและมีความคิดลักษณะขบทซึ่งเกิดขึ้นในปลายยุคของท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน ค่อลีฟะฮ์ลำดับที่สาม เหตุการณ์วุ่นวายในปลายยุคของท่านเป็นเหตุพาไปสู่การสังหารท่านในที่สุดในยุคของท่านอาลี อิบนุ อะบีฎอลิบ แนวความคิดลักษณะ “อัลค่อวาริจญ์” ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น พวกเขาตัดสินเหล่าศ่อฮาบะฮ์ที่เห็นด้วยกับพวกเขาว่าสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม (มุรตัด) โดยพวกเขาเชื่อและเข้าใจว่าโทษของผู้กระทำผิดในบาปใหญ่ทั้งหลายคือการสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม นี้คือความหลงผิดใหญ่หลวงของพวกเขา อันเป็นเหตุให้พวกเขาตัดสินเหล่าศ่อฮาบะฮ์ที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาว่าถึงกับสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมแนวความคิดความเชื่อของพวกเขาคือไม่ดำเนินตามแนวทางของชาวสุนนะฮ์ (ผู้ยึดมั่นในแบบฉบับและคำสอนของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ) พวกเขาไม่เชื่อฟังผู้นำโดยมีแนวความคิดว่าการปฏิวัติคือศาสนาหากเห็นว่าผู้นำอธรรม การก่อขบทคือแนวทางสร้างสังคมให้เที่ยงตรงได้แม้จะจากชนหมู่น้อยก็ตาม โดยเป็นแนวความคิดที่ต่างจากคำสั่งเสียของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อย่างสิ้นเชิง“ฉันสั่งเสียพวกพวกท่านให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามแม้ผู้นำจะมาจากทาสก็ตาม ผู้ใดที่มีชีวิตยืนยาวเขาจะได้เห็นความชัดแย้งมากมาย”
การเชื่อฟังผู้นำมุสลิมถือเป็นศาสนา แต่พวก “อัลค่อวาริจญ์” กลับกล่าวว่า “เราคืออิสระชน” นี้คือรากเง้าของแนวความคิดปฏิวัติทั้งหลายในยุคนี้พฤติกรรมของพวก “ค่อวาริจญ์” สร้างความแตกแยก ร้าวฉาน และสับสนขึ้นในหมู่มุสลิม เป็นการฝืนคำสอนของอัลลอฮ์และร่อซู้ลของพระองค์ในเรื่องดังกล่าว พวกเขายังเห็นว่าผู้ประพฤติผิดในบาปใหญ่คือผู้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมอีกด้วยบาปใหญ่เช่น การซินา (พฤติผิดในกามวิสัย) การกินเหล้าเมายา การลักขโมย การกินดอกเบี้ย ฯลฯ หากผู้ใดล่วงละเมิดไปกระทำเข้า ผู้นั้นถือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมตามคติความเชื่อของพวก “อัลค่อวาริจญ์” ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง และต่างไปจากความเชื่อของชาวสุนนะฮ์วั้ลญ่ามาอะฮ์ (อัลญะมาอะฮ์แปลว่ากลุ่มชนที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นไม่แตกแยก-ซึ่งหมายถึงมุสลิมีนในยุคต้นๆ) ที่เข้าใจโดยถูกต้องว่าผู้กระทำบาปใหญ่หากมิได้ปฏิเสธหลักการนั้นๆ เขาก็ยังเป็นมุสลิม เพียงแต่เขาเป็นผู้ฝ่าฝืนเท่านั้น และการกระทำบาปแม้จะเป็นบาปใหญ่ก็มิได้ทำให้ผู้นั้นสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมแต่อย่างใด แต่พวกอัลค่อวาริจญ์กลับเชื่อว่าผู้กระทำบาปใหญ่สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม และเชื่อว่าจะไม่ได้รับการอภัยและต้องตกนรกตลอดกาล ซึ่งตรงกันข้ามกับคำสอนของศาสนาสาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเขาคิดและเชื่อเช่นนั้นคือ ความไม่เข้าใจในตัวบทของศาสนาและไม่ยินยอมรับฟังคำอธิบายใดๆ จากปราชญ์ในยุคนั้นๆ (ในยุคเริ่มต้นคือเหล่าสาวกของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ) พวกเขามักมีความเข้มงวดในการปฏิบัติศาสนกิจ จริงจังกับการเคารพภัคดีต่ออัลลอฮ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปฏิบัติบละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน และ ฯลฯ พวกเขามีความเคร่งครัดมาก แต่ส่วนใหญ่กระทำไปบนพื้นฐานของความไม่เข้าใจมากกว่า ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวถึงพวกเขาว่า “พวกเขาหลุดออกจากศาสนาดุจลูกธนูที่พุ่งออกจากคันศร” กล่าวคือหลุดออกไปจากศาสนาทั้งๆ ที่พวกเขาปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน และ ฯลฯพวกอัลค่อวาริจญ์สังหารมุสลิมด้วยกันมาตั้งแต่อดีต เช่น ท่านอุษมาน อิบนุอัฟฟาน ท่านอาลี อิบนุ อะบีตอลิบ และท่านซุเบร อิบนุ้ล เอาวาม เป็นต้น พวกเขาเข่นฆ่าสาวกหลายท่านและพวกเขายังไม่วางมือจากการเข่นฆ่ามุสลิมตราบเท่าทุกวันนี้ความรักความหวงแหนศาสนาเพียงลำพังมิอาจนำพาคนให้รอดพ้นจากความหลงผิดได้ หากแต่จะเป็นหนทางสู่ความหายนะเสียด้วยซ้ำไป ดังนั้นความรักความหวงแหนศาสนาต้องตั้งอยู่บนความรู้และความเข้าใจอันถูกต้องด้วย จึงจะเป็นพลังสร้างสรรค์ยิ่งใหญ่หาไม่แล้วจะกลายเป็นพลังร้ายแรงทำลายทุกสิ่งโดยพลิบตาในยุคต่อๆ มากลุ่มแนวความคิดนี้ได้แตกออกกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอีกจนนับไม่ถ้วน และถูกส่งผ่านมาถึงยุคเราด้วยเช่นกัน
กลุ่มที่สาม “อัชชีอะห์”
คือกลุ่มที่สนับสนุนสายตระกูลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเรียกว่า “อะฮ์ลุ้ลบัยตฺ” เพราะความเหมายเดิมของชีอะห์คือการปฏิบัติตามและให้การช่วยเหลือต่อมากลายเป็นชื่อของคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าเจริญรอยตามแนวทางของสายตระกูลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งก็คือท่านอาลี อิบนุ อบีตอลิบและลูกหลาน พวกเขาอ้างว่าท่านอาลี ร่อฎิยัลลอฮุอัลฮุ (ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่าน) คือผู้ได้รับพินัยกรรมให้สืบทอดตำแหน่งผู้นำหลังจากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นท่านอบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม (ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่านเหล่านั้น) จึ่งเป็นผู้อธรรมเพราะแย่งตำแหน่งผู้นำไปจากท่านอาลี นี้คือความเชื่อของพวกเขา ตามจริงแล้วเรื่องราวมิได้เป็นที่พวกเขาเชื่อแต่ประการใดเพราะเหล่าศ่อฮาบะฮ์(สาวก) ส่วนใหญ่ต่างเหลือกและสนับนุนท่านเหล่านั้นให้เป็นผู้นำสืบต่อกันมาจวบจนเลือกท่านอาลีเป็นผู้นำลำดับที่สี่ ทั้งสามท่านมิได้แย่งชิงตำแหน่งมาแต่อย่างใดพวกเขาหลงไหลคลั่งไคล้ในคำว่า “อะฮ์ลุ้ลบัยตฺ” จนเป็นเหตุให้ตัดสินศ่อฮาบะฮ์ (สาวก) ส่วนใหญ่ว่าสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เพราะสนับสนุนให้ผู้อื่นขึ้นมาเป็นผู้นำสืบต่อจากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บางกลุ่มถึงกับเชื่อว่าผู้นำจากสายสกุลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีสิทธิ์ออกข้อบัญญัติทางศาสนาได้รวมถึงเป็นผู้ปราศจากความผิดบาปใดๆ และอีกหลายๆ กลุ่มเชื่อว่าอัลกุรอานถูกตัดทอน ต่อเติม และบิดเบือนไปจากฉบับจริงโดยน้ำมือของศ่อฮาบะฮ์ (สาวก) ทั้งสามกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ในกาลต่อมาก็แตกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยจนนับไม่ถ้วน
กลุ่มที่สี่ : “อัลญะฮ์มียะฮ์”
เป็นกลุ่มอ้างถึงบุคคลๆ หนึ่งชื่อว่า อัลญะฮ์ม์ อิบนุ ศ็อฟวาน ผู้เป็นลูกศิษย์ของ อัลญะอฺ อิบนุ ดิรฮัม ผู้เป็นศิษย์ของ ฎอลู๊ต ผู้เป็นศิษย์ของ ละบี๊ด อิบนุ้ล อะอฺศ็อม ซึ่งเป็นคนยิวแนวความคิดความเชื่อของกลุ่ม “อัลญะฮ์มียะฮ์” คืออะไร แนวความคิดความเชื่อของพวกเขาคือปฏิเสธพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ พวกเขายืนยันแต่เพียงอาตมันของพระองค์เท่านั้น กล่าวคือยืนยันเพียงว่าพระองค์ทรงมีอยู่แต่จะมีอยู่แต่ปฏิเสธที่เรียกพระนามของพระองค์และปฏิเสธที่จะยืนยันคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์ และเป็นการทำให้พระองค์ซึ่งมีอยู่องค์เดียวกล่ายเป็นหลายองค์ไม่ทราบเหมือนกันว่าเหตุใดพวกเขาถึงคิดและเชื่อเช่นนั้น เพราะหากจะกล่าวถึงคนๆ หนึ่งที่มีคุณลักษณะหลากหลายก็มิได้สื่อใดๆ ว่าผู้นั้นมีหลายคนแต่ประการใด แล้วเหตุใดจึงต้องเชื่อว่าการยืนยันพระนามและคุณลักษณะต่างๆ แก่อัลลอฮ์จะทำให้เกิดภาคีแก่พระองค์เล่าการที่เราทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามและคุณลักษณะมากมายจากตัวบทอัลกุรอาน เป็นทำให้เรารู้ลึกซึ้งว่าพระองค์คือใคร และเป็นการบอกถึงความสมบูรณ์ยิ่งของพระองค์อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงฟังไม่ขึ้นว่าการยืนยันพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์จะเป็นการเพิ่มภาคีแก่พระองค์สรุปง่ายๆ ว่าพวกกลุ่ม “อัลญะฮ์มียะฮ์” มีความผิดเพี้ยนในด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ ในเวลาเดียวกันกลุ่มนี้ก็มีความเชื่อในด้านการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮ์ตรงกับกลุ่ม “อัลญะบะรียะฮ์” ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ตรงข้ามกลุ่ม “อัลก้อดะรียะฮ์” ที่กล่าวแล้วข้างต้น พวกเขาปฏิเสธเรื่องสิทธิ์การเลือกกระทำของมนุษย์ กล่าวโดยย่อคือมนุษย์ถูกบังคับให้กระทำไปตามที่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า อุปมาเหมือนขนนกที่ตกอยู่จะเคลื่อนไหวได้ก็ด้วยแรงลมที่พัดมาเท่านั้นต่อมามีกลุ่มเกิดขึ้นใหม่อีกหลายกลุ่มที่มีส่วนเชื่อมโยงกับความเชื่อของกลุ่ม “อัลญะฮ์มียะฮ์” ซึ่งก็คือกลุ่ม“อัลมั๊วอฺตะซิละฮ์” กลุ่ม “อัลอัชอะรียะฮ์” และกลุ่ม “อัลมาตุรีดียะฮ์”กลุ่ม “อัลมั๊วอฺตะซิละฮ์” ยืนยันเรื่องพระนามของอัลลอฮ์แต่ปฏิเสธคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ กล่าวคือยืนยันและยอมรับพระนามต่างๆ แต่ปฏิเสธที่จะให้ความหมายใดๆ ในพระนามเหล่านั้นซึ่งก็คือคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั่นเองกลุ่มนี้มีความเป็นมาดังนี้ ผู้เป็นผู้นำกลุ่มคือ “วาศิล อิบนุ อะฎออฺ” ผู้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ฮะซัน อัลบะศ่อรี่ ผู้เป็นปราชญ์ในยุคของตาบิอีน (ลูกศิษย์ของศ่อฮาบะฮ์) ตามประวัติกล่าวได้มีผู้ถามท่านฮะซันถึงโทษของผู้กระทำบาปใหญ่ ท่านตอบไปตามแนวทางความเชื่อชาวสุนนะฮ์ว่า “เขายังนับว่าเป็นผู้ศรัทธาอยู่ (กล่าวคือยังไม่สิ้นสภาพการเป็นมุสลิมแม้จะประพฤติผิดในบาปใหญ่) แต่การศรัทธาของเขาบกพร่องไม่สมบูรณ์ เขาศรัทธาตามศรัทธาที่เขามีอยู่และเขาเป็นคนไม่ดีตามความผิดใหญ่หลวงที่เขากระทำ” เมื่อวิศิล อิบนุ อะฎออฺ ได้ยินดังนี้ก็รู้สึกไม่พอใจและแยกจากมาพลางกล่าวว่า “ฉันเห็นว่าเขาไม่เป็นทั้งผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) และไมเป็นทั้งผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) แต่เขาอยู่ในกึ่งกลางระหว่างทั้งสอง (การศรัทธาและการปฏิเสธ)” เมื่อเขาแยกจากมาก็มีผู้คนที่เขลาบางกลุ่มแยกตัวตามเขามาโดยเชื่อว่าคำพูดของวาศิลถูกต้องกว่าคำพูดของท่านฮะซัน ตั้งแต่นั้นมาผู้คนกลุ่มนั้นถูกขนานนามว่า “อัลมั๊วอฺตะซะละฮ์” หากแปลตามภาษาหมายถึงการแยกตัวหรือปลีกตัวออกมานั่นเอง ต่อมากลุ่มนี้มีความเชื่อที่ผิดๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายประการต่อมาเกิดกลุ่ม “อัลอัชอะรียะฮ์” ขึ้น หากจะกล่าวแล้วก็คือเป็นการแตกแขนงของกลุ่มอัลมั๊วอฺตะละฮ์นั่นเอง ชื่อกลุ่มนี้ได้จากชื่อสกุลของผู้ก่อตั้งกลุ่มคือฮะซัน อัลอัชอะรีย์ เดิมทีเขามีความเชื่อแบบอัลมั๊วอฺตะซิละฮ์ ต่อมาศึกษาจนทราบถึงความผิดพลาดใหญ่ของกลุ่มดังกล่าวจึงได้ประกาศตัวเพื่อปฏิเสธความเชื่อดังกล่าว แต่ก็ยังสลัดไม่พ้นความผิดในด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ กล่าวคือหลังจากปฏิเสธที่จะเชื่อแบบอัลมั๊วอฺตะซิละฮ์ก็หันไปยึดแนวทางของบุคคลผู้หนึ่งชื่อว่า “มุฮัมมัด อิบนุ สอี๊ด อัลกัลล้าบ” ซึ่งเขายืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮ์เพียงเจ็ดคุณลักษณะเท่านั้นคือ๑. ความรู้
๒. ความสามารถ
๓. พระประสงค์
๔. ชีวิต
๕. ได้ยิน
๖. มองเห็น
๗. และตรัสโดยให้เหตุผลว่าปัญญาสามารถยอมรับได้เพียงเจ็ดคุณลักษณะเท่านั้น และสิ่งใดที่ปัญญามิอาจรับได้จะยืนยันว่าเป็นคุณลักษณะของอัลลอฮ์มิได้ต่อมาอัลลอฮ์ทรงประทานทางนำอันถูกต้องแก่ฮะซัน อัลอัชอะรีย์ เขาได้สลัดความเชื่อเดิมๆ และหันมายึดถือความเชื่อที่ถูกต้องตามตัวบทจากอัลกุรอานและอัซสุนนะฮ์ ซึ่งผู้นำทางความรู้ที่ถูกต้องในยุคนั้นคือท่านอิหม่ามอะฮ์หมัด อิบนุ ฮัมบัล ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เขาฮะซัน อัลอัชอะรีย์กล่าวในห่วงสุดท้ายของชีวิตคือหลังจากที่กลับตัวกลับใจว่า “ฉันเชื่อตามแนวทางของผู้นำชาวสุนนะฮ์วัลญะมาอะอฺ อะฮ์หมัด อิบนุ ฮัมบัล”ดังนั้นบรรดาผู้ที่อ้างว่ายึดถือความเชื่อของเขาในยุคปัจจุบัน แท้ที่จริงแล้วเป็นการถือเอาความเชื่อของ “มุฮัมมัด อิบนุ สอี๊ด อัลกัลล้าบ” ต่างหาก เพราะอะบุลฮะซัน อัลอัชอะรีย์ประกาศกลับตัวกลับใจแล้ว ดังปรากฏในตำราที่เขาเขียนขึ้น เช่น หนังสือ “อัลอิบานะฮ์ ฟี อุศู้ลลิดดิยานะฮ์” และ “อัลมะกอลาตอัลอิสลามียะฮ์” เป็นต้น ดังนั้นกลุ่มอัชอะรียะฮ์ในยุคปัจจุบันจึงมิใช่ความเชื่อใดๆ ของอะบุ้ลฮะซัน อัลอัชอะรีย์แต่อย่างใด แม้จะเรียกกันอยู่ว่ากลุ่มอัลอัชอะรียะฮ์
ย่อความมาจากข้อเขียนของ
ดร.ศอและฮ์ อิบนุ เฟาซาน อัลเฟาซาน
สมาชิกสภาอุละมาอฺาวุโสของประเทศซาอุดิอาราเบีย
http://www.alfawzan.ws
สรุปแล้วรากเง้าของกลุ่มหลงผิดต่างๆ ในปัจจุบันล้วนมีที่มาจากสี่กลุ่มหลักในอดีตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มศูฟีเฎาะรีเกาะฮ์ กลุ่มตับลีฆ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดะอฺวะฮ์) กลุ่มอิควานมุสลิมูน กลุ่มญิฮาด กลุ่มตักฟีร กลุ่มปัญญานิยมยุคใหม่ กลุ่มก็อดยานี และฯลฯ หากจะตั้งคำถามว่าแล้วกลุ่มใดคือกลุ่มที่ถูกต้องที่สุด คำตอบง่ายๆ คือกลุ่มที่ดำเนินตามคัมภีร์อัลกุรอานและอัซสุนนะฮ์ของท่านศาสดามุอัมหมัด ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนพื้นฐานการเข้าใจของบรรพชนที่ดี (สะละฟุศศอและฮ์) ในยุคต้นๆ อิสลาม โดยไม่บิดเบือน เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือตีความให้เปลี่ยนไปจากที่ปรากฏในตัวบททางศาสนา