การตั้งเจตนาของการแสวงหาความรู้
เชค ศอลิห์ บิน อับดุลอะซีซ อาลุช-เชค หะฟิศ่อฮุ้ลลอฮ์
ถาม : มีหนทางอย่างไรที่ทำให้ไปถึงความรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับสืบทอดความเกรงกลัวจากอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง?
ตอบ : ฉันเคยถูกถามถึงความยิ่งใหญ่ของความรู้ อันเป็นสิ่งที่ถูกสืบทอด(เป็นมรดก)มาจาก อัล-มุศฏอฟา (นบีย์มุฮัมมัด)-อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม-ที่ท่านได้ถ่ายทอดความเกรงกลัวนั้นไว้
ดังสิ่งที่อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่งทรงตรัสว่า
{ إِنَّمَا يَخْشَى اللَّهَ مِنْ عِبَادِهِ الْعُلَمَاءُ }[فاطر:28]
“แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความรู้(อุละมาอฺ)จากปวงบ่าวของพระองค์เท่านั้นที่เกรงกลัวอัลลอฮ์” (อัลฟาฏิร : 28)
ดังนั้นผู้ที่ยึดเอาความรู้ที่ถูกสืบทอด(เป็นมรดก)มาจากท่านนบีย์-อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม-คือความรู้ของอัลกุรอานและหะดีษของท่านนบีย์-อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม-และเขาได้พิจรณาอย่างรอบคอบ(ใคร่ครวญ)ในสิ่งดังกล่าว ดังนั้นแล้วความเกรงกลัวจึงได้ถูกสืบทอดเป็นมรดกให้เขา
ชาวสะลัฟบางท่านกล่าวว่า”เราแสวงหาความรู้เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลออฺ ดังนั้นมันได้ถูกปฏิเสธที่จะเป็นเว้นแต่เพื่ออัลลอฮ์เท่านั้น”
หมายความว่า : เราได้เคยแสวงหาความรู้ท่ามกลางความกลุ่มชนแออัดของคนหนุ่มสาวและการแข่งขันชิ่งดีชิ่งเด่นกัน แต่แล้วเมื่อพวกเขาได้แสวงหาความรู้และได้รู้ถึงสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมาให้แก่เราะซูลของพระองค์แล้ว และเขาได้รู้ถึงมรดกที่ถูกสืบทอดมาของ อัล-มุศฏอฟา-อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม-มันจึงเป็นความรู้ที่นำความเกรงกลัวมายังพวกเขาและนำความอิคลาศ(ความบริสุทธิ์ใจ) และความนอบน้อมถ่อมตนมายังพวกเขา และนี่คือความหมายของคำกล่าวอื่นๆ
เราเคยแสวงความความรู้แต่เราไม่มีการตั้งเจตนา(เหนียต)เพื่ออัลลอฮ์ในมันแต่แล้วการตั้งเจตนาก็มาหลังจากนั้น
และการตั้งเจตนาและความอิคลาศ คือ สิ่งที่ยกเอาความโง่เขลาออกจากตัวของเขา ยกเอาความโง่เขลาถึงสิทธิของอัลลอฮ์-ผู้ทรงสูงส่งและโง่เขลาเรื่องสุนนะฮ์ฺของท่านนบีย์ อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม หรือความโง่เขลาเรื่องวิธีการทำอิบาดะฮ์ของเขาต่อพระเจ้าของเขา-ผู้ทรงสูงส่ง
เมื่อเขาตั้งใจและมุ่งเป้าที่จะยกเอาความโง่เขลาออกจากตัวของเขาแล้ว ดังนั้นนี่แหละคือความหมายของความอิคลาศ (ความบริสุทธิ์ใจในการแสวงหาความรู้)
ความหมายของการตั้งเจตนา
«إنما الأعمال بالنيات»
“แท้จริงแล้วการงานต่างๆขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา”
การตั้งเจตนาที่ดีในความรู้ คือ การที่ท่านตั้งเจตนาว่าจะยกความโง่เขลาออกจากตัวของท่าน อย่าได้ต้องการเพิ่มพูนความรู้เพื่อยกตัวเองให้เหนือกว่าใคร หรือตั้งเจตนาเพื่อต้องการใบปริญญา หรือเพื่อตำแหน่งหน้าที่การงาน ทุกสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นการตั้งเจนตนาเพื่อ(ผลประโยชน์ของ)ดุนยา การตั้งเจตนาที่ดีนั้นคือการที่ท่านตั้งเจตนาเพื่อยกเอาความโง่เขลาออกจากตัวของท่าน ดังนั้นหากตัวท่านเองได้ตระหนักรู้ถึงข้อชี้แนะแล้ว ท่านก็จะบรรลุถึงได้ -อินชาอัลลอฮ์- หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์-ให้ท่านตั้งเจตนาพร้อมกับสิ่งดังกล่าว คือ การยกเอาความโง่เขลาออกจากผู้อื่นด้วย และเผยแพร่มรดกที่ถูกท่ายถอดไว้ของท่านนบีย์-อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม-และเผยแพร่ความรู้ เพราะว่าจำเป็นที่เขาจะต้องรู้ความหมายของการอิสติฆฟารเมื่อเขาขออภัยโทษ และรู้ความหมายของการฏออะฮ์(การเชื่อฟังเคารพภักดี)เมื่อเขาภักดี และทำความดีในสิ่งนั้นสิ่งนี้
และสำหรับสิ่งที่กล่าวมานั้น ผู้คนจำนวนมากมีความยำเกรงบรรดาผู้รู้(อุละมาอฺ) ขออัลลอฮ์ทรงทำให้ฉันและพวกท่านเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขาและขอให้ทรงป้องกันตัวของเราให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายและความชั่วจากการงานทั้งหลายของเรา
ท่านนบีย์-อลัยฮิวัศศอลาตุวัสลาม-กล่าวไว้ว่า
بلغوا عني ولو آية، فرُبَّ مبلغ أوعى له من سامع
จงเผยแพร่ต่อจากฉันแม้เพียงโองการเดียวและบางทีผู้ที่ได้รับการบอกต่อนั้น
อาจจะจดจำได้ดีกว่าผู้ที่ได้ยินมา
และท่านนบีย์ อลัยฮิวัศศอลาตุวัสลามได้กล่าวไว้ในบันทึกของอะบู ดาวูดและท่านอื่นๆอีกว่า
«نضر الله أمرؤا سمع مقالتي فوعاها فأداها كما سمعها فرب مبلغ أوعى له من سامع» وهو حديث صحيح،
ขออัลลอฮ์ได้ทรงประทานความสุขเบิกบานใจแก่คนๆหนึ่งที่ได้ยินคำพูดของฉันแล้วเขารายงานมันและปฏิบัติมันเหมือนกับที่ได้ยินมันและบางทีผู้ที่ได้รับ(การบอกต่อ)มานั้นอาจจะจดจำได้ดีกว่าผู้ที่ได้ยินมา(หะดีษ-ศอหิ้ห์)
ฉะนั้นแล้วการตั้งเจตนาที่ดีเพื่อแสวงหาความรู้คือการตั้งเจตนาของคนๆ หนึ่งที่จะยกเอาความโง่เขลาออกจากผู้อื่นด้วย คือ บรรดาผู้ที่อยู่ในบ้านของเขา ที่อยู่รวมกับเขา และสำหรับสิ่งดังกล่าว ผู้มีความรู้จะถูกขออภัยโทษให้แก่เขา กระทั่งปลาวาฬในน้ำ เพราะอะไรน่ะรึ ? เพราะว่าเขาจะไม่ปฏิบัติงานใดเว้นแต่ด้วยกับความรู้ หากว่าเขาทำถูกต้องมาก็ด้วยกับความรู้ และหากเขาขัดแย้งเขาก็จะขัดแย้งด้วยกับความรู้
-وبالله التوفيق والهداية