กองทุนตะกาฟุ้ลอันนี้ถูกต้องตามหลักการไหมครับ
คำถามที่สิบเจ็ด (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558)
โดย อ.อิสหาก พงศ์มณี
คำถาม :
อัสสลามมุอาลัยกุ้ม ครับ อาจารย์ครับ กองทุนตะกาฟุ้ลอันนี้ถูกต้องตามหลักการไหมครับ คนสามจังหวัดเป็นสมาชิกกันเยอะมากเลยครับ
คำตอบ :ประการที่หนึ่ง “ตะกาฟุล” เป็นคำย่อ มีชื่อเต็มว่า “อัตตะมีน อัตตะกาฟุลี่” แปลง่ายๆ ว่า “การประกันภัยสงเคราะห์” บางทีก็เรียกว่า “อัตตะมีน อัตตะอาวุนี่” แปลง่ายๆ ว่า “การประกันภัยลัษณะช่วยเหลือกัน” เป็นธุรกรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อมาแทนที่ “การประกันภัยเชิงธุรกิจ” เรียกเป็นภาษาอาหรับว่า “อัตตะมีน อัตติญารี่”
ประการที่สอง นักวิชาการสมัยใหม่พยายามกำหนดรูปแบบของการประกันภัยท่ี่ไม่ผิดหลักการ จนได้รูปแบบการประกันภัยลักษณะตะกาฟุลี่หรือตะอาวุนี่ ซึ่งต่างจากการประกันภัยเชิงธุรกิจ ที่เรียกว่า “อัตตตะมีน อัตติญารี่”
ประการที่สาม รูปแบบของประกันภัยแบบตะอาวุนี่ โดยย่อมีดังนี้คือ
หนึ่ง เป็นไปในลักษณะไม่หวังกำไร
สอง เบี้ยประกันคือการบริจาคเข้ากองกลาง
สาม เงื่อนไขต่างๆ ให้สมาชิกกำหนดหรือตัวแทนที่แต่งตั้งมากำหนดให้เหมาะสม
สี่ ผู้บริหารอาจมาจากสมาชิกที่อาสามาบริหารหรือจ้างมืออาชีพมาบริหาร โดยกำหนดค้าจ้างแน่นอนจากเงินกองกลางดังกล่าว
ห้า เงินหลือจากการชดเชยความเดือดร้อนของสมาชิก มีทางเลือกปฏิบัติสามประการ คือ
1) คืนสมาชิก
2) ตัดเป็นยอดสมทบในครั้งต่อไป
3) กันออกไปไว้ต่างหาก เพื่อการลงทุนหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็แล้วแต่ที่ไม่ผิดหลักการ
นี้คือหลักการย่อๆ พอสรุปให้เข้าใจได้เท่านี้ หากต้องการรายละเอียด ก็ต้องเป็นตำราเล่มใหญ่
ส่วน การประกันภัยเชิงธุรกิจ ปวงปราชญ์ในยุคปัจจุบันเกือบทั้งหมดเห็นตรงกันว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ด้วยเหตุผลสี่ประการดังนี้
หนึ่ง เป็นดอกเบี้ยทั้งเชิงปริมาณและเวลา
สอง เป็นการพนัน
สาม เป็นความไม่ชัดเจน
สี เป็นความอธรรมและบริโภคทรัพย์ผู้อื่นในทางที่ไม่ชอบ
ส่วนองค์กรณ์หรือบริษัทตะกาฟุลที่พบในประเทศไทย มีข้อสังเกตุดังนี้
หนึ่ง อ้างว่าเป็นลูกจ้างบริหารเงินกองกลางของสมาชิก แต่ไม่ระบุว่ารับค่าจ้างเท่าใด
สอง เงินคงเหลือจากการชดเชยสมาชิกผู้เดือดร้อน ไม่มีการระบุชัดเจนว่าจะจัดการเช่นใด เท่าที่ติดตามดูจากหลายๆ แห่ง ก็ไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้
สาม การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ สมาชิกเกือบจะไม่มีส่วนร่วมใดๆ ลูกจ้างผู้บริหารเงินกองกลางกลับเป็นผู้ตั้งกฏเองทั้งหมด
ดังนั้น ผมเห็นว่าแม้จะเรียกว่า “อัตตะมีน อัตตะกาฟุลี่” สำหรับผมแล้วเห็นว่ายังไม่ชัดเจนและโปรงใสพอที่จะเป็นสมาชิกได้
อ้างอิง
1-الكتاب: مجموع فتاوى العلامة عبد العزيز بن باز رحمه الله
المؤلف: عبد العزيز بن عبد الله بن باز (المتوفى: 1420هـ)
أشرف على جمعه وطبعه: محمد بن سعد الشويعر
عدد الأجزاء: 30 جزء
2-الكتاب: فتاوى اللجنة الدائمة – المجموعة الأولى
المؤلف: اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء
جمع وترتيب: أحمد بن عبد الرزاق الدويش
عدد الأجزاء: 26 جزءا
3- “أبحاث هيئة كبار العلماء” (4/33- 315
4-http://www.binbaz.org.sa/mat/19219