อิมามสี่มัษฮับกับอะกีดะฮ์ด้านอัสมาอ์วัศศิฟาต (ตอนที่ ๑)

ฟก

อิมามสี่มัษฮับกับอะกีดะฮ์ด้านอัสมาอ์วัศศิฟาต
(ตอนที่ ๑ หลักศรัทธาของอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์
ในประเด็น พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ตะอาลา)
ผู้เขียน มุหัมมัด อับดุรเราะห์มาน อัล-คุมัยยิส
ผู้แปล อับดุลอาซีซ  สุนธารักษ์
ตรวจทานโดย อุษมาน อิดรีส

เส้นคั่น1

คำนำผู้แปล

الحمدلله والصلاة والسلام على من لا نبي بعده

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮ์สุบบะหานะฮูวะตะอาลา ขอคำสดุดีและความสันติจากพระองค์อัลลอฮ์จงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัมลัม ศาสนทูตท่านสุดท้าย ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศและเป็นเมตตาแก่โลกทั้งผอง และความสันติจงมีแด่วงศาคณาญาติของท่าน ตลอดจนสาวกของท่านและผู้ที่ปฏิบัติตามทั้งหลาย

          การศรัทธาใน อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาตเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และเป็นสิ่งที่บ่าวต้องศึกษาและศรัทธาอย่างถูกต้องเพื่อเป็นการทำความรู้จักพระเจ้าของเขา และให้เอกภาพต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์

          พระองค์อัลลอฮ์ดำรัสว่า:

 وَلِلَّهِ ٱلۡأَسۡمَآءُ ٱلۡحُسۡنَىٰ فَٱدۡعُوهُ بِهَاۖ وَذَرُواْ ٱلَّذِينَ يُلۡحِدُونَ فِيٓ أَسۡمَٰٓئِهِۦۚ سَيُجۡزَوۡنَ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ    الاعراف: ١٧٩

ความว่า: ((และอัลลอฮ์นั้นมีบรรดาพระนามอันวิจิตร ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกหาพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉในบรรดาพระนามของพระองค์เถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ)) (สูเราะฮ์ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮ์ที่ 179)

และดำรัสว่า

 وَلِلَّهِ ٱلۡمَثَلُ ٱلۡأَعۡلَىٰۚ وَهُوَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ   النحل: ٦٠

ความว่า:  ((และสำหรับอัลลอฮ์นั้นมีคุณลักษณะอันสูงส่ง และพระองค์คือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ)) (สูเราะฮ์ อัน-นะหฺลุ อายะฮ์ที่ 60)

เราจะพบว่าอายะฮ์แรกยืนยันการมีพระนามอันวิจิตรของพระองค์อัลลอฮ์ และส่วนอายะฮ์ที่สองยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สูงส่ง.

          ดังนั้น เราจะต้องเชื่อและศรัทธาต่อพระนามและคุณลักษณะของพระองค์โดยปราศจากการเปรียบเทียบกับมัคลูกทั้งหลาย

พระองค์ดำรัสว่า:

 لَيۡسَ كَمِثۡلِهِۦ شَيۡءٞۖ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡبَصِيرُ   الشورى: ١١

ความว่า:((ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงเห็น))(สูเราะฮ์ อัชชูรอ อายะฮ์ที่ 11)

การศรัทธาต่อพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ จะต้องอยู่บนกฎและพื้นฐานต่อไปนี้

  1. ต้องยืนยันพระนามและคุณลักษณะของพระองค์โดยปราศจากการ ตะหฺรีฟ (บิดเบือน) ตะอฺวีล (เบี่ยงเบนความหมายออกจากความหมายที่ถูกต้อง) การตะอฺฏีล (ปฏิเสธ) ตัชบีฮ์ (เปรียบเทียบกับมัคลูก) และตักยีฟ (ให้วิธีการ)

  2. จำเป็นจะต้องคงความหมายเดิมของ พระนาม หรือคุณลักษณะที่ปรากฏในตัวบทหลักฐานจากอัล-กุรอ่าน และอัส-สุนนะไว้ โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง

  3. พระนามของพระองค์ทั้งหมดนั้นวิจิตรและสวยงามเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุดโดยปราศจากข้อบกพร่องใดๆ และเช่นกันคุณลักษณะต่างๆของพระองค์นั้นสูงส่ง เป็นสิ่งที่สมบูรณ์และปราศจากข้อบกพร่องทั้งหลาย

  4. พระนามของพระองค์ไม่มีจำนวนจำกัด

  5. พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เป็นสิ่งเตากีฟียะฮ์ คือขึ้นอยู่กับตัวบทหลักฐานเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้สติปัญญาในการยืนยันสิ่งดังกล่าว

  6. การยืนยันในพระนามและคุณลักษณะใดๆก็เหมือนกับการยืนยันในพระนามและคุณลักษณะอื่นๆที่ถูกระบุมา เช่น การยืนยันว่าพระองค์ทรงได้ยิน โดยการได้ยินของพระองค์นั้นสมบูรณ์ที่สุดและแตกต่างจากของมัคลูก โดยทำการยืนยันพระนามและคุณลักษณะอื่นๆเหมือนกับ ศิฟะฮ์การได้ยินข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะ: พระหัตถ์ พระเนตร พระพักตร์ พระบาท การอิสติวาอฺ การนุซูล การเห็น การรอบรู้ การมีชีวิต เป็นต้น

  7. หลักวิธีการในการยืนยันคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์เหมือนกับการยืนยันในพระนามของพระองค์

  8. คุณลักษณะของพระองค์แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ 1) ษุบูตียะฮ์ หมายถึงคุณลักษณะที่พระองค์ยืนยันให้แก่พระองค์เอง เช่น: การมีชีวิต การรอบรู้ การมีพลานุภาพ ฯลฯ 2) สัลบียะฮ์ หมายถึงคุณลักษณะที่พระองค์ปฏิเสธออกจากตัวพระองค์ เช่น: การอธรรม ความตาย ความอ่อนแอ ฯลฯ พร้อมทั้งจำเป็นที่จะต้องยืนยันคุณลักษณะที่สมบูรณ์ตรงข้ามกับสิ่งดังกล่าวด้วย

  9. คุณลักษณะ ษุบูตียะฮ์ แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ : 1.ซาตียะฮ์ คือคุณลักษณะด้านตัวตนที่ยังคงดำรงอยู่กับพระองค์ตลอดเวลา เช่น การได้ยิน การเห็น ฯลฯ 2. ฟิอฺลียะฮ์ คือ คุณลักษณะด้านการกระทำที่ขึ้นกับพระประสงค์ของพระองค์ เช่น การสร้าง การเสด็จลงมา การอยู่เหนืออะรัช ฯลฯ

          หนังสือเล่มเล็กๆนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากหนังสือ อิอฺติกอด อะอิมมะฮ์ อัล-อัรบะอะฮ์ อะบีหะนีฟะฮ์ วะมาลิก วะอัช-ชาฟิอีย์ วะอะหฺมัด เรียบเรียงโดยเชค มุหัมมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัล-คุมัยยิส อาจารย์ภาควิชาอะกีดะฮ์ มหาวิทยาลัย อิหม่าม มุหัมมัด บินสุอูด อัล-อิสลามียะฮ์ กรุงริยาฎ ซาอุดิอาระเบีย เป็นหนังสือที่รวบรวมคำกล่าวบางส่วนที่รายงานจากอิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ ได้แก่:

  1. อิหม่าม อะบูหะนีฟะฮ์ นุอฺมาน บิน ษาบิต เกิดปีที่ 80 เสียชีวิตปีที่ 150 ฮิจญฺเราะฮ์ศักราช เจ้าของมัษฮับ หะนาฟีย์

  2. อิหม่าม มาลิก บิน อะนัส บิน อามิร อัลอัศบะฮีย์ อิหม่ามดารุลฮิจญ์เราะฮ์ เกิดปีที่ 93 เสียชีวิตปีที่ 179 ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช เจ้าของมัษฮับ มาลิกีย์

  3. อิหม่าม มุฮัมมัด บิน อิดรีส อัช-ชาฟิอีย์ อัลกุเราะชีย์ เกิดปีที่ 150 เสียชีวิตปีที่ 204 ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช เจ้าของมัษฮับ ชาฟิอีย์

  4. อิหม่าม อะบูอับดิลลาฮ์ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด บิน หัมบัล อัช-ชัยบานีย์ อิหม่ามอะฮ์ลิสสุนนะฮ์ฺ วัล-ญะมาอะฮ์ เกิดปีที่ 164 เสียชีวิตปีที่ 241 ฮิจญฺเราะฮ์ศักราช เจ้าของมัษฮับ หัมบะลีย์

         และหนังสือเล่มนี้จะเป็นการชี้แจงถึงหลักอะกีดะฮ์ของอิหม่ามทั้งสี่ท่านว่าเป็น อะกีดะฮ์ อัส-สะลัฟ อัศ-ศอลิหฺ ในประเด็นอัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต เป็นการยืนยันพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ โดยปราศจากการเปรียบเทียบกับมัคลูก การตีความ เบี่ยงเบียนความหมาย และปฏิเสธคุณลักษณะตามความเชื่อของกลุ่มหลงผิดต่างๆที่แอบอ้างว่าแนวทางของพวกเขาเป็นแนวทางของอิหม่ามทั้งสี่ทั้งในประเด็นอะกีดะฮ์และนิติศาสตร์อัล-อิสลาม เช่นพวกอะชาอิเราะฮ์ พวกมาตุรีกียะฮ์ พวกศูฟีย์ และพวกนักวิพากษ์วิทยาทั้งหลาย ที่ปรากฏพบเห็นในสังคมของเรา.

ขอพระองค์อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงทำให้พวกเราอยู่บนแนวทางที่ถูกต้องตามแนวทางของอิหม่ามทั้งสี่ และโปรดทำให้หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์แก่พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه
ومن تبعهم بإحسان  إلى يوم الدين

อับดุลอะซีซ สุนธารักษ์
15/04/1435
อัล-มะดีนะฮ์ อัล-มุเนาวะเราะฮ์

เส้นคั่น1

หลักศรัทธาของอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ ในประเด็น พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ตะอาลา

1.قال الإمام أبو حنيفة رحمه الله: لا يوصف الله تعالى بصفات المخلوقين وغضبه ورضاه صفتان من صفاته بلا كيف وهو قول أهل السنة والجماعة وهو يغضب ويرضى ولا يقال: غضبه عقوبته ورضاه ثوابه. ونصفه كما وصف نفسه أحد صمد لم يلد ولم يولد ولم يكن له كفواً أحد حي قادر سميع بصير عالم يد الله فوق أيديهم ليست كأيدي خلقه ووجهه ليس كوجوه خلقه. (الفقه الأبسط ص56).

๑. ท่านอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: พระองค์อัลลอฮ์จะไม่ถูกพรรณนาด้วยคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง การโกรธและการพอพระทัยของพระองค์ คือสองคุณลักษณะจากคุณลักษณะต่างๆของพระองค์โดยไม่มีการพรรณนาว่ามีลักษณะเช่นใด และนี่คือทัศนะของชาวอะฮ์ลิสสุนนะฮ์ฺ วัล-ญะมาอะฮ์ พระองค์อัลลอฮ์จะทรงโกรธและทรงพอพระทัย และจะไม่จำเป็นต้องตีความว่า การโกรธของพระองค์หมายถึง การลงโทษของพระองค์ และการพอพระทัยของพระองค์หมายถึง การตอบแทนของพระองค์ และเราจะพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์เหมือนดังที่พระองค์ได้ทรงพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์เอง พระองค์คือผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นที่พึ่ง ไม่ทรงให้กำเนิดและไม่ทรงถูกให้กำเนิด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ พระผู้ทรงมีชีวิต ทรงมีพลานุภาพ ทรงได้ยิน ทรงเห็น และทรงรอบรู้ พระหัตถ์ของพระองค์อยู่เหนือมือของพวกเขา และไม่เหมือนกับมือของสิ่งถูกสร้าง และพระพักตร์ของพระองค์ก็ไม่เหมือนกับใบหน้าของสิ่งถูกสร้างแต่อย่างใด (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 56 )

 2.قال : وله يد ووجه ونفس كما ذكره الله تعالى في القرآن فما ذكره الله تعالى في القرآن من ذكر الوجه واليد والنفس فهو له صفات بلا كيف ولا يقال: إن يده قدرته أو نعمته لأن فيه إبطالَ الصفة وهو قول أهل القدر والاعتزال…  (الفقه الأكبر ص 302 )

๒. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: พระองค์อัลลอฮ์ ทรงมี พระหัตถ์ พระพักตร์ และตัวตน ดังเช่นที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ในอัล-กุรอ่าน ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ในอัล-กุรอ่าน ไม่ว่าพระพักตร์ พระหัตถ์ และตัวตน นั่นคือคุณลักษณะของพระองค์โดยไม่มีการพรรณนาว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นเช่นใด และจะไม่สามารถกล่าวได้ว่า พระหัตถ์ของพระองค์หมายถึงพลานุภาพ หรือ ความโปรดปราณของพระองค์ เพราะการให้ความหมายดังกล่าวเป็นการยกเลิกคุณลักษณะที่แท้จริงของพระองค์ ซึ่งเป็นทัศนะของพวกเกาะดะรียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

3.قال الإمام أبو حنيفة: لا ينبغي لأحد أن ينطق في ذات الله بشيء بل يصفه بما وصف به نفسه ولا يقول فيه برأيه شيئاً تبارك الله تعالى ربّ العالمين. (شرح العقيدة الطحاوية ج2 ص427 تحقيق د. التركي وجلاء العينين ص368)

๓. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: ไม่เป็นการสมควรแก่ผู้ใดที่จะใช้สิ่งใดพรรณนาถึงซาตของอัลลอฮ์ แต่ทว่าเขาต้องพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์ด้วยสิ่งที่พระองค์ใช้พรรณนาคุณลักษณะของตัวพระองค์ และไม่อนุญาตให้ใช้สติปัญญาพรรณนาคุณลักษณะใดๆของอัลลอฮ์ ผู้ทรงจำเริญ ผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งผอง(หนังสือ ชัรห์ อัล-อะกีดะฮ์ อัฏ-เฏาะหาวียะฮ์ เล่ม 2 หน้าที่ 427 ฉบับตรวจสอบโดย ดร.อัต-ตุรกีย์ และหนังสือ ญะลาอฺ อัล-อัยนัยน์ หน้าที่ 368)

4.سئل الإمام أبو حنيفة عن النزول الإلهي فقال: ينزل بلا كيف.  (عقيدة السلف أصحاب الحديث ص42 الأسماء والصفات للبيهقي ص456  شرح الطحاوية ص245 شرح الفقه الأكبر للقاري ص60)

๔. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ ถูกถามถึงประเด็นการนุซูล (เสด็จลงมา) ของพระองค์อัลลอฮ์ ท่านตอบว่า: “พระองค์ทรงเสด็จลงมาโดยไม่สามารถพรรณนาได้ว่าเป็นเช่นใด” (หนังสือ อะกีดะฮ์ อัส-สะลัฟ วะอัศหาบุลหะดีษ หน้าที่ 42 หนังสือ อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต ของอิหม่าม อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 456 หนังสือ ชัรห์ อัล-อะกีดะฮ์ อัฏ-เฏาะหาวียะฮ์ หน้าที่ 245 หนังสือ ชัรห์ อัล-ฟิกฮ์อัล-อักบัร ของ อัล-กอรีย์ หน้าที่ 60)

5.وقال  الإمام أبو حنيفة : والله تعالى يدعى من أعلى لا من أسفل  لأن الأسفل ليس من وصف الربوبية والألوهية في شيء. (الفقه الأبسط ص51 ).

๕. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “พระองค์อัลลอฮ์ ตะอาลา จะถูกร้องขอจากทิศเบื้องบน มิใช่จากเบื้องล่าง เพราะเบื้องล่างไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นผู้อภิบาลและเป็นพระเจ้าแต่อย่างใด”(หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 51 )

6. وقال : ولا يشبه شيئا من الاشياء من خلقه ولا يشبهه شيء من خلقه لم يزل ولا يزال بأسمائه وصفاته (الفقه الأكبر ص 301 )

๖. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “พระองค์ทรงไม่คล้ายสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างคล้ายพระองค์ พระองค์ยังคงดำรงซึ่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆสืบไป” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

7.وقال : وصفاته بخلاف صفات المخلوقين  يعلم لا كعلمنا  ويقدر لا كقدرتنا  ويرى لا كرؤيتنا  ويسمع لا كسمعنا  ويتكلم لا ككلامنا.  (الفقه الأكبر ص302)

๗. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “คุณลักษณะต่างๆของพระองค์จะแตกต่างจากคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย พระองค์ทรงรอบรู้ แต่ไม่เหมือนกับการรอบรู้ของเรา ทรงพลานุภาพ แต่ไม่เหมือนกับความสามารถของเรา ทรงเห็น แต่ไม่เหมือนกับการเห็นของเรา ทรงได้ยินแต่ไม่เหมือนกับการได้ยินของเรา และทรงดำรัสแต่ไม่เหมือนกับการพูดของเรา” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อัลอักบัร หน้า 302)

8.وقال : لا يوصف الله تعالى بصفات المخلوقين. (الفقه الأبسط ص56)

๘. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “ไม่อนุญาตให้พรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮ์คุณลักษณะต่างๆของสิ่งถูกสร้าง”(หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อับศ็อฏ หน้า 56)

 9.وقال : من وصف الله بمعنى من معاني البشر  فقد كفر . ( العقيدة الطحاوية  بتعليق الألباني ص25)

๙. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “ผู้ใดพรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮ์ด้วยคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของมนุษย์ แท้จริงเขาได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว” (อัล-อะกีดะฮ์ อัฏ-เฏาะหาวียะฮ์ ฉบับอธิบายโดย อัล-อัลบานีย์ หน้าที่ 25)

 10.وقال : وصفاته الذاتية والفعلية  أما الذاتية فالحياة والقدرة والعلم والكلام والسمع والبصر والإرادة  وأما الفعلية فالتخليق والترزيق والإنشاء والإبداع والصنع وغير ذلك من صفات الفعل  لم يزل ولا يزال بأسمائه وصفاته. ( الفقه الأكبر ص310)

๑๐. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “คุณลักษณะของอัลลอฮ์ประกอบด้วยคุณลักษณะด้านตัวตน (ศิฟาตซาตียะฮ์) และด้านการกระทำ (ศิฟาตฟิอฺลียะฮ์), คุณลักษณะด้านตัวตนได้แก่ การมีชีวิต ความสามารถ การรอบรู้ การพูด การได้ยิน การเห็น และการต้องการ ส่วนคุณลักษณะด้านการกระทำ เช่น การสร้าง การประทานริซกีย์ การประดิษฐ์ การสร้างสรรค์ การผลิต และคุณลักษณะด้านการกระทำอื่นๆพระองค์ยังคงดำรงซึ่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆสืบไป” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 310)

11. وقال : ولم يزل فاعلا بفعله والفعل صفة في الأزل والفاعل هو الله تعالى والفعل صفة في الأزل والمفعول مخلوق  وفعل الله تعالى غير مخلوق. ( الفقه الأكبر ص301)

๑๑. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “พระองค์ยังคงเป็นผู้กระทำด้วยการกระทำของพระองค์ และการกระทำนั้นคือคุณลักษณะดั้งเดิม ส่วนผู้กระทำคืออัลลอฮ์ และการกระทำคือคุณลักษณะดั้งเดิม และสิ่งที่ถูกกระทำคือมัคลูค และการกระทำของอัลลอฮ์ตะอาลามิใช่มัคลูก” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

12. وقال : من قال لا أعرف ربي في السماء أم في الأرض فقد كفر وكذا من قال إنه على العرش ولا أدري العرش أفي السماء أم في الأرض. (الفقه الأبسط ص46مجموع الفتاوي ص5/48 واجتماع الجيوش الإسلامية ص 139 والعلوللذهبي ص101-102 وابن قدامة في العلو ص116 وفي شرح الطحاوية لابن أبي العز ص301 )

๑๒. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “ผู้ใดกล่าวว่า ฉันไม่รู้ว่าพระเจ้าของฉันอยู่เหนือฟากฟ้าหรือบนดิน แท้จริงเขาได้ปฏิเสธแล้ว เช่นกัน ผู้ใดกล่าวว่า พระองค์อยู่เหนืออะรัชแต่ฉันไม่รู้ว่าอะรัชนั้นอยู่บนฟ้า หรือบนดิน (เขาได้ปฏิเสธแล้วเช่นกัน)” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 46 , มัจมูอุลฟะตาวา เล่ม 5 หน้าที่ 48 , อิจมาอุลญุช อัล-อิสลามมียะฮ์ หน้า 139 ,อัลอุลูว์ ของอัซซะฮะบีย์ หน้า 101-102 ,อัลอุลูว์ของอิบนิกุดามะฮ์ หน้า 116 , ชัรห์ อัล-อะกีดะฮ์ อัฏเฏาะหาวียะฮ์ ของ อิบนุอบิลอิซ หน้าที่ 301)

13.وقال للمرأة التي سألته: أين إلهك الذي تعبده  قال : إن الله سبحانه وتعالى في السماء دون الأرض فقال له رجل : أرأيت قول الله تعالى : ﴿وَهُوَ مَعَكُمۡ أَيۡنَ مَا كُنتُمۡۚ  ﴾ [الحديد: ٤]   قال : هو كما تكتب للرجل إني معك وأنت غائب عنه. (الأسماء والصفات ص429  )

๑๓. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวแก่สัตรีนางหนึ่งที่ถามท่านว่า: “พระเจ้าของท่านผู้ที่ท่านบูชาอยู่ไหน?” ท่านตอบว่า: “แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ทรงอยู่เหนือชั้นฟ้ามิใช่บนแผ่นดิน” ก็มีชายคนหนึ่งพูดขึ้น : “ท่านไม่เห็นดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า: ((และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจอยู่ที่ไหนก็ตาม)) กระนั้นหรือ?” ท่านจึงตอบว่า: “มันก็เหมือนกับที่ท่านเขียนถึงคนๆหนึ่งว่า แท้จริงฉันอยู่กับเจ้า ในขณะที่ท่านไม่ได้อยู่ต่อหน้าผู้นั้น”(หนังสือ อัล-อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต หน้าที่ 429)

14.وقال : يد الله فوق أيديهم  ليست كأيدي خلقه.  (الفقه الأبسط ص56  )

๑๔. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “พระหัตถ์ของอัลลอฮ์ อยู่เหนือมือของพวกเขา และพระหัตถ์ของพระองค์ไม่เหมือนกับบรรดามือของสิ่งถูกสร้างของพระองค์” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อับศ็อฏ หน้าที่ 56)

15.وقال: ومتكلما بكلامه والكلام صفة في الأزل. ( الفقه الأكبر ص301  )

๑๕. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “และพระองค์เป็นผู้ดำรัสด้วยดำรัสของพระองค์ และการดำรัสนั้น เป็นคุณลักษณะแต่ดั้งเดิม” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

16. وقال : ويتكلم لا ككلامنا . ( الفقه الأكبر ص302 )

๑๖. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “และพระองค์ทรงดำรัสที่ไม่เหมือนกับการพูดของพวกเรา” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

 17.وقال: وسمع موسى عليه السلام كلام الله تعالى كما قال الله تعالى : ﴿وَكَلَّمَ ٱللَّهُ مُوسَىٰ تَكۡلِيمٗا ١٦٤ ﴾ [النساء : ١٦٤]   (الفقه الأكبر ص302 )

๑๗. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “และมูซา อะลัยฮิสลาม ได้ยินคำดำรัสของอัลลอฮ์ ดังที่พระองค์ได้ดำรัสว่า: ((และอัลลอฮ์ได้ทรงดำรัสกับมุซาจริงๆ))”(สูเราะฮ์ อัน-นิสาอ์ อายะฮ์ที่ 164) (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 302)

18.وقال : والقرآن كلام الله في المصاحف مكتوب  وفي القلوب محفوظ  وعلى الألسن مقروء  وعلى النبي صلى الله عليه وسلم أنزل. (الفقه الأكبر ص301 )

๑๘. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า: “และอัลกุรอานคือดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ทั้งที่ถูกบันทึกไว้ในคำภีร์ ถูกจดจำไว้ในจิตใจ ถูกอ่านบนปลายลิ้น และถูกประทานแก่ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301)

19. وقال : والقرآن غير مخلوق. (الفقه الأكبر ص301 )

๑๙. อิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ เราะหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า:“และอัลกุรอานไม่ใช่มัคลูก” (หนังสือ อัล-ฟิกฮ์ อัล-อักบัร หน้าที่ 301) อ่านต่อ..